ผมขอถามว่า ยางรถยนต์มีกี่ประเภท แล้วแบบใช้ยางในกับแบบไม่ใช้ยางใน มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันอย่างไรครับ ขอบคุณครับ
ธนชัย หงส์พิมลมาศ (thanachaichan@hotmail.com)
เจษฎา โชคอำนวย
ยางรถยนต์มีกี่ประเภท ?
ตอบ คุณ ธนชัย: ถ้าแบ่งประเภทยางรถยนต์ตามวัสดุที่ใช้ผลิต จะแบ่งได้ 2 ประเภทด้วยกัน คือ ยางแบบผ้าใบ(Bias ใช้ตัวย่อ PR) และแบบเรเดียลเส้นลวด(Radial ใช้ตัวย่อ R) โดยยางทั้งสองชนิดมีคุณสมบัติแตกต่างกันดังนี้
เปรียบเทียบลักษณะยางแบบผ้าใบ (PR) และยางแบบเรเดียลเส้นลวด (R)
ยางแบบผ้าใบ(PR) หรือยางแบบธรรมดาสมัยก่อน
โครงสร้างทำจากผ้าใบธรรมดา เรียงตัวไขว้ไปมาทับกันเป็นชั้น ทำมุมเฉียง 35 องศากับเส้นรอบวงของยาง โดยจำนวนชั้นผ้าใบที่ใช้ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงที่ต้องการ ซึ่งยางแบบนี้จะให้การขับขี่นิ่มสบาย บังคับเลี้ยวง่ายขณะวิ่งด้วยอัตราเร็วต่ำ โดยเฉพาะเลี้ยวเข้าจอด อีกทั้งยังมีราคาถูก
ยางแบบเรเดียลเส้นลวด(R)
ยางแบบนี้เป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน โดยโครงสร้างประกอบด้วยชั้นผ้าใบพีนรอบยางทับกันทำมุม 90 องศากับเส้นรอบวงของยาง จึงเรียกว่าแนว “เรเดียล” ใต้ดอกยางจะมีชั้นผ้าใบหรือแถบเหล็กกล้าเสริมหน้ายาง ทำให้ยางเรเดียลมีความยืดหยุ่นสูงกว่ายางแบบธรรมดา สามารถยึดเกาะถนนได้ดีกว่าแม้ขณะถนนเปียกก็ไม่เป็นปัญหา เพราะดอกยางมีความสามารถในการรีดน้ำได้ดี โดยเฉพาะเวลาเข้าโค้งจะช่วยให้ไม่ลื่นไถล แต่จะแข็งมากกว่า จึงรู้สึกขับขี่ไม่ค่อยสบายนักหากต้องขับในเส้นทางขรุขระและต้องใช้แรงหมุนพวงมาลัยมากขึ้นเมื่อเลี้ยวเข้าจอด ยางเรเดียลมีอายุการใช้งานยาวนานกว่ายางธรรมดาแต่ราคาก็สูงกว่าตามไปด้วย
แบบใช้ยางในกับแบบไม่ใช้ยางใน มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันอย่างไรครับ
ยางแบบใช้ยางใน คือยางทั่วไปในอดีตที่มียางในซ้อนอีกที ข้อดีของยางแบบนี้คือ ราคาถูก มีความยืดหยุ่นสูง ใช้ในถิ่นทุรกันดารได้ดี หากรั่ว สามารถปะยางได้ง่ายและค่าปริการราคาถูก สามารถอัดลมเพิ่มเพื่อรองรับการบรรทุกหนักได้ดีกว่า แต่ข้อเสียก็มีไม่น้อย คือ ถ้ายางโดนตะปูหรือของแหลมแทงทะลุเข้าไปถึงยางชั้นใน ลมจะรั่วออกอย่างรวดเร็ว ทำให้รถเสียการทรงตัว อีกทั้งยังต้องหมี่นเช็คลมยางอยู่เสมอ เพราะถ้าลมยางอ่อนเกินไปจะทำให้ยางนอกเสียดสีกับยางใน เกิดการรั่วได้ ที่ร้ายแรงกว่าคือเมื่อเสียดสีเป็นเวลานานโดยเฉพาะขณะวิ่งด้วยความเร็วสูงยางจะระเบิดได้
Tubeless Tire
ยางแบบไม่ใช้ยางใน (Tubeless Tire) คือยางที่มีเพียงยางนอกอย่างเดียว ดดยจะมีเนื้อยยางที่หนากว่าและโครงสร้างของยางแข็งแรงขึ้น ตัวขอบยางจะหนากว่ายางที่ใช้ยางในเพราะออกแบบสำหรับอัดให้แน่นกับกระทะล้อเพื่อเก็บลม ข้อดีคือ เมื่อถูกวัตถุทิ่มตำแล้วรูรั่วมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก เนื้อยางจะพยายามบีบรูนั้นไว้ ทำให้ลมค่อยรั่วซึมทีละนิด จึงสามารถวิ่งต่อไปได้อีกระยะหนึ่ง รถจะไม่เสียการทรงตัวขณะยางรั่ว และยังมีความร้อนสะสมในยางน้อยกว่ายางธรรมดา ทำให้มีดอกาสเกิดยางระเบิดน้อยมาก อีกทั้งยังลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษายางในและช่วยในน้ำหนักยางเบาขึ้นกว่าเดิม ส่วนข้อเสียคือ ยางแบบนี้จะมีราคาแพง หากต้องเปลี่ยนยางทั้ง 4 เส้นพร้อมกันก็สาหัสเอาการ และเมื่อมีการรั่ว ไม่สามารถปะตามร้านเล็กๆได้ ต้องเป็นร้านที่มีอุปกรณ์สำหรับถอดยางโดยเฉพาะเท่านั้น หากเปลี่ยนยางไม่ถูกวิธีอาจทำให้ตัวกระทะคดงอหรือรั่วซึมที่บริเวณขอบยางได้