สรุปขั้นตอนและค่าใช้จ่ายในการซื้อรถยนต์มือสอง
การเลือกซื้อรถยนต์มือสองสักคัน อาจจะดูเป็นเรื่องยุ่งยาก และมีขั้นตอนมากมาย ไม่ว่าจะซื้อรถมือสองผ่านดีลเลอร์อย่าง “เต็นท์รถ” หรือซื้อกับเจ้าของรถโดยตรงแบบ “รถบ้าน” สำหรับวันนี้ทาง khaorot.com เราได้สรุปขั้นตอนในการเลือกซื้อรถยนต์มือสอง และรายการค่าใช้จ่ายต่างๆที่จะเกิดขึ้น เพื่อให้ท่านที่สนใจได้เตรียมตัวก่อนตัดสินใจซื้อรถยนต์มือสองกันครับ
สิ่งที่ต้องประเมินเป็นอันดับแรกเลยก็คือ “งบประมาณ” ที่ต้องตั้งคร่าวๆไว้ในใจก่อนเสาะหารถยนต์รุ่นที่ต้องการ เพราะหากเลือกซื้อรถยนต์คันที่ราคาสูงเกินงบที่จ่ายไหว อาจต้องทำเรื่องขอสินเชื่อ นอกจากนี้ยังต้องสำรองเงินสำหรับวางเงินดาวน์, ค่าต่อทะเบียนรถยนต์, ซ่อมแซมเพิ่มเติม (กรณีรถยนต์สภาพช้ำ หรือต้องแก้ไขบางส่วน), ค่าน้ำมัน รวมถึงภาระที่ต้องจ่ายรายเดือนสำหรับกรณีเช่าซื้อ ซึ่งผู้ซื้อต้องวางแผนการเงินให้รอบคอบ จนกระทั่งแน่ใจว่า “จ่ายไหว” จึงตัดสินใจเลือกรุ่นที่ต้องการ จะได้ไม่เกิดปัญหาตามมาทีหลัง
สำรวจรายรับ-รายจ่าย และตั้งงบประมาณที่ "จ่ายไหว"
การเลือกรุ่นรถที่จะซื้อ อาจทำให้คุณเวียนศีรษะได้หากไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน เพราะรถยนต์ในตลาดมือสองมีให้เลือกมากมายหลายแบบ หลายยี่ห้อ โดยสามารถจำกัดกรอบเป้าหมายได้ดังนี้
1) ลักษณะการใช้งานหลัก ผู้ซื้อต้องการรถสำหรับบรรทุกสินค้า, ขับทำงานในเมือง หรือออกทริปต่างจังหวัดเป็นส่วนใหญ่
2) จำนวนผู้โดยสาร ดูว่ามีผู้โดยสารประจำกี่ท่าน หากนั่ง 2-3 คน ก็ตัด mini MPV หรือ SUV 7 ที่นั่งออก
3) ความชอบส่วนบุคคล ต้องการสไตล์ไหน ระบบการขับขี่แบบใด
4) ระบบเครื่องยนต์ที่ต้องการ อาจเป็นเครื่องยนต์เบนซิน ดีเซล ไฮบริด หรือปลั๊ก-อิน ไฮบริด
5) งบประมาณที่ตั้งไว้ การหาประเภทรถยนต์ที่อยู่ในกรอบงบประมาณ จะช่วยให้พบรถที่เหมาะสมง่ายขึ้น
ผู้ซื้อสามารถค้นหารถยนต์รุ่นที่ต้องการจากแหล่งจำหน่ายรถยนต์มือสองต่างๆ อาทิ เต็นท์รถ เว็บไซส์รถยนต์มือสอง จุดรับซื้อและจำหน่ายรถมือสองของแต่ละยี่ห้อ อาทิ โตโยต้า ชัวร์, ฮอนด้าเซอร์ติฟายยูสคาร์ (Honda Certified Used Car) เป็นต้น โดยควรเปรียบเทียบราคา และจุดเด่นจุดด้อยของรถยนต์แต่ละแห่งก่อนตัดสินใจ
นัดผู้ขายเพื่อตรวจสอบสภาพรถ และทดลองขับ
เมื่อได้รถยนต์ที่ถูกใจแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือทำการนัดกับเจ้าของรถ เพื่อดูสินค้าจริง พร้อมทั้งตรวจสอบและทดลองขับ ผู้ซื้อควรนัดเวลาสาย หรือช่วงกลางวัน จะได้สังเกตุตำหนิในส่วนต่างๆของรถได้ง่ายขึ้น ที่สำคัญควรพาผู้เชื่ยวชาญไปร่วมทดสอบรถด้วย (ส่วนใหญ่จะให้ช่างที่ไว้ใจไปร่วมตรวจสอบ และให้ค่าตอบแทนตามที่ตกลงกันไว้) โดยควรเดินตรวจสอบรอบคันรถเป็นอันดับแรก หลังจากนั้นค่อยเปิดดูภายในห้องโดยสารทั้งตอนหน้าและตอนหลัง รวมถึงที่เก็บสัมภาระท้ายรถ ต่อจากนั้นให้เข้าไปนั่งในรถ สตาร์ทเครื่องยนต์และเปิดทุกอุปกรณ์เพื่อทดสอบ สุดท้ายค่อยทดลองขับออกด้านนอก หากมีจุดบกพร่องให้แจ้งกกับผู้ขายทันที อาจต่อรองซ่อมแซม หรือลดราคา (ควรเขียนเป็นลายลักษณ์อักษร หากเป็นที่ภายนอกควรถ่ายรูปเก็บไว้)
เป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญ หากซื้อรถกับดีลเลอร์อย่าง “เต็นท์รถ” ส่วนใหญ่จะได้เป็นของแถม แต่ถ้าซื้อกับเจ้าของรถโดยตรงจะสามารถต่อรองลดราคาได้อีก (เพราะไม่มีของแถม) ซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถในการต่อรองของผู้ซื้อและความพอใจของทั้งสองฝ่าย
ติดต่อขอสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์มือสอง
กรณีซื้อเงินสด
สำหรับการซื้อรถด้วยเงินสด ขั้นตอนสุดท้ายคือทำสัญญาซื้อขาย โอนทะเบียน ซึ่งควรตรวจสอบเล่มทะเบียนว่าตรงกับสภาพรถหรือไม่ และที่สำคัญผู้ขายจะต้องเป็น “เจ้าของกรรมสิทธิ์” รถคันที่จะตกลงซื้อขาย หลังจากนั้นให้นัดโอนกรรมสิทธิ์ที่กรมขนส่งทางบก (ทั้งสองฝ่ายควรไปโอนพร้อมกัน)
กรณีต้องการผ่อนชำระ
ผู้ซื้อติดต่อขอสินเชื่อเช่าซื้อ หากซื้อรถจากดีลเลอร์ ส่วนใหญ่จะมีบริการจัดหาไฟแนนซ์ให้ผู้ซื้อ ซึ่งจะสะดวกกว่ามาก เพียงจัดเตรียมเอกสารตามที่ธนาคารกำหนดและรออนุมัติ (โดยทั่วไปทราบผลไม่เกิน 3-7 วัน) หากซื้อรถบ้านผู้ซื้อต้องติดต่อขอไฟแนนซ์เอง โดยทางไฟแนนซ์จะนัดผู้ขายเพื่อประเมินสภาพรถและประเมินราคา หลังจากนั้นจะนัดผู้ซื้อผู้ขายมาทำสัญญาซื้อขายกัน และโอนรถที่กรมขนส่งทางบก
ผู้ซื้อรับรถ ผู้ขายรับเงิน
7. ผู้ซื้อรับรถ ผู้ขายรับเงิน
ขั้นตอนสุดท้ายผู้ซื้อชำระเงินดาวน์ตามที่ตกลง และรับรถกลับบ้าน ส่วนผู้ขายรับเงินดาวน์จากผู้ซื้อ และรับเงินที่เหลือจากทางไฟแนนซ์
ค่าใช้จ่ายที่ผู้ซื้อต้องเตรียมล่วงหน้า
นอกจากขั้นตอนข้างต้นที่ได้กล่าวไปแล้ว การซื้อรถยนต์มือสองยังมีค่าใช้จ่ายที่ผู้ซื้อต้องเตรียมไว้ล่วงหน้า ดังนี้
1. ค่าจอง
เป็นการวางเงินมัดจำรถที่คุณต้องการ เพื่อรักษาสิทธ์ไว้ในช่วงระหว่างขอสินเชื่อจากทางไฟแนนซ์ โดยส่วนมากจะวางค่าจองที่ประมาณ 5,000-10,000 บาท หากคุณเปลี่ยนใจไม่ซื้อแล้ว ทางผู้ขายมีสิทธิ์ยึดค่าจองของคุณ (ถือเป็นค่าเสียโอกาสของผู้ขาย) แต่เมื่อตกลงซื้อและไฟแนนซ์ผ่านการอนุมัติ ค่าจองนี้จะไปรวมกับเงินดาวน์หรือเงินค่าจัดไฟแนนซ์
2. เงินดาวน์
ผู้ซื้อจะต้องเตรียมเงินดาวน์ตามจำนวนที่ตกลงกับทางสินเชื่อ เช่น ขอสินเชื่อได้ 80% ของราคารถ ผู้ซื้อต้องจ่ายเงินเอง 20% เป็นต้น แต่ถ้าหากขอสินเชื่อได้ 100% หรือซื้อด้วยเงินสดก็ไม่จำเป็นต้องเตรียมเงินดาวน์
3. ค่าจัดไฟแนนซ์ ค่าโอน
ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ทางไฟแนนซ์จะเรียกเก็บกับผู้ขอสินเชื่อ เป็นค่าดำเนินการจัดไฟแนนซ์ ค่าโอนกรรมสิทธิ์ หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกี่ยวเนื่องกับการดำเนินการ ต้องสอบถามรายละเอียดและราคาให้แน่ชัด เพราะไฟแนนซ์บางแห่งไม่แจ้งผู้ขอสินเชื่อล่วงหน้า มาทราบอีกทีตอนมีบิลเรียกเก็บไปแล้ว ซึ่งเรียกร้องหรือโวยวายอะไรก็ยาก
4. ค่าประกันภัยรถยนต์
หากขอสินเชื่อ ทางไฟแนนซ์จะบังคับให้ทำประกันภัยรถยนต์ ส่วนใหญ่หากรถที่คุณซื้อมีประกันเหลือน้อยกว่า 6 เดือน ทางไฟแนนซ์จะให้คุณทำประกันภัยรถยนต์ใหม่ตั้งแต่วันที่รับรถ โดยบางเต็นท์อาจมีโปรโมชั่นแถมประกันภัยให้ในปีแรก ซึ่งต้องสอบถามและต่อรองกับทางผู้ขายให้แน่ชัด
5. ดอกเบี้ยจากสินเชื่อเช่าซื้อ
เป็นจำนวนเงินที่ต้องจ่ายให้กับทางแหล่งสินเชื่อหลังจากที่ได้รับอนุมัติ เป็นจำนวนเงินตามที่ตกลงไว้ ยิ่งผ่อนนาน ดาวน์น้อย ดอกเบี้ยยิ่งมาก ไม่ว่าจะจัดไฟแนนซ์กับที่ไหนก็ตาม หากเป็นไปได้เลือกซื้อรถมือสองด้วยเงินสด หรือดาวน์สูงจะดีกว่ามาก และที่สำคัญผู้ซื้อควรมีเงินสำรองในการผ่อนชำระอย่างน้อย 2 งวด เผื่อกรณีหมุนเวียนเงินไม่ทันจะได้ไม่ต้องเสียค่าปรับและดอกเบี้ยเพิ่ม
เพียงทำตาม "7 ขั้นตอน" และเตรียม "5 ค่าใช้จ่าย" คุณก็จะได้รถยนต์คู่ใจกลับบ้านแบบไม่ยาก
สำหรับผู้ที่ต้องการซื้อรถยนต์มือสอง ไม่ว่าจะเป็น “รถเต็นท์” หรือ “รถบ้าน” ก็ล้วนมีการดำเนินการไม่ต่างกัน ซึ่งมีทั้งหมด 7 ขั้นตอน 5 ค่าใช้จ่าย ที่ผู้ซื้อควรเตรียมพร้อมก่อนเลือกซื้อรถ ซึ่งจะทำให้การเลือกซื้อรถมือสองของคุณ ไม่ยากอย่างที่คิด
ดูเพิ่มเติม: