PepsiCo, Inc. บริษัทยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกันเจ้าของสินค้าอย่างเครื่องดื่มโคล่าแบรนด์ Pepsi, Gatorade, Mountain Dew และมั...
PepsiCo, Inc. บริษัทยักษ์ใหญ่สัญชาติอเมริกันเจ้าของสินค้าอย่างเครื่องดื่มโคล่าแบรนด์ Pepsi, Gatorade, Mountain Dew และมันฝรั่งทอด Lay’s เตรียมรับการขนส่งสินค้ายุคใหม่ด้วยการสั่งซื้อ
รถบรรทุกพลังงานไฟฟ้า Tesla Semi ของเทสล่า มอเตอร์ ล็อตใหญ่ 100 คัน
PepsiCo เตรียมใช้รถบรรทุกไฟฟ้า Tesla Semi ในการขนส่งสินค้า
Reuters รายงานว่า นอกจากค่ายเป๊ปซี่แล้ว ก็ยังมีบริษัทชั้นนำอื่นๆอีกหลายแห่งสั่งซื้อ
Tesla Semi ของค่าย Tesla เช่น Walmart, J.B. Hunt Transport Services, บริษัทกระจายสินค้ายักษ์ใหญ่อย่าง Sysco Corporation หรือบริษัทผู้ผลิตเบียร์อันดับ 3 ของโลกอย่าง Anheuser-Busch นั่นทำให้ทาง
Tesla รวบรวมยอดสั่งซื้อได้แล้วไม่ต่ำกว่า 1,200 คัน โดยทางเป๊ปซี่คาดว่าจะใช้ Semi กระจายขนส่งสินค้าในโซนอเมริกาเหนือ โดยจะแบ่งกลุ่มรถออกเป็นรถขนส่งของระหว่างโรงงานผลิต และรถสำหรับแยกขนส่งสินค้าให้กับศูนย์กระจายสินค้าสำหรับผู้ค้าปลีกภายในระยะ 800 กม. ซึ่งเป๊ปซี่มีเป้าหมายก็คือการลดการปล่อยมลพิษในระบบการขนส่งอย่างน้อย 20% ภายในปี 2030
Tesla Semi Walmart
PepsiCo, Inc. ทำการสั่งซื้อรถบรรทุกพลังงานไฟฟ้า Tesla Semi ของเทสล่า มอเตอร์ ล็อตใหญ่รวดเดียว 100 คัน
ผู้ผลิตเบียร์อย่างฮาวเซอร์-บุช เจ้าของแบรนด์ดัง Bud Weiser เองก็ได้สั่งซื้อ
Tesla Semi ล็อตแรก 40 คัน โดยตั้งเป้าหมายจะลดคาร์บอนไดออกไซด์ลงให้ได้ประมาณ 30% ภายในช่วงปี 2025 ซึ่งก่อนหน้านี้ฮาวเซอร์-บุช เป็นแบรนด์แรกที่ริเริ่มทำทดสอบระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติร่วมกับ OTTO เพื่อขนส่งเบียร์ด้วยรถบรรทุกที่ติดตั้งระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติเป็นระยะทางกว่า 193 กม. จากเมืองโคโรลาโด สปริงส์ ไปยังเมืองหลวงเดนเวอร์ รัฐโคโรลาโด พร้อมกับเบียร์ 51,000 กระป๋อง เป็นผลสำเร็จช่วงปลายปีที่แล้ว
Bud Weiser ทดสอบระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติร่วมกับ OTTO
การสั่งซื้อ
Tesla Semi ในครั้งนี้ของทางเป๊ปซี่ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าเป็นการสั่งซื้อรถ
Tesla Semi รุ่นใดระหว่างรุ่นที่แบตเตอรี่ทำระยะทาง 480 กม. หรือ 800 กม. หรือสั่งซื้อคละกัน ในกรณีที่ซื้อรุ่น 480 กม. อย่างเดียว เป๊ปซี่จะต้องจ่ายประมาณ 15 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 487 ล้านบาท แต่หากซืัอรุ่น 800 กม. อย่างเดียวเลย วงเงินจะสูงถึง 18 ล้านดอลลาร์ หรือราวๆ 585 ล้านบาท คาดว่าน่าจะเป็นการสั่งซื้อทั้งสองรุ่นคละกันเพื่อความคุ้มค่าสำหรับการบริหารงานโลจิสติกส์และเป็นการใช้งบประมาณให้มีประสิทธิภาพสูงสุด แต่ยังคงผลลัพธ์ที่ดีในทางตัวเลขต้นทุนในการลงทุนระบบการขนส่งใหม่และเป้าหมายลดการปล่อยมลพิษในระบบการขนส่ง อย่างน้อย 20% ก่อนปี 2030 ให้ได้
ดูเพิ่มเติม