2. หากลงทะเบียนแล้ว ให้กรอก “เลขประจำตัว 13 หลัก/เลขนิติบุคคล” และ “รหัสผ่าน” เข้าสู่เว็บไซต์เพื่อดำเนินการต่อภาษีรถยนต์ได้เลย แต่ถ้ายังไม่ลงทะเบียน ให้คลิกไปที่ “ลงทะเบียน”
3. ให้กรอกข้อมูลส่วนตัวที่จำเป็นลงไป อาทิ เลขประจำตัวประชาชน, ชื่อ-สกุล, วันเดือนปีเกิด, รหัสผ่าน, ที่อยู่, เบอร์โทรศัพท์ ฯลฯ ตามรูป
4. เมื่อลงทะเบียนเรียบร้อยแล้ว ให้กลับไปที่หน้าหลัก และกรอก “เลขประจำตัว 13 หลัก/เลขนิติบุคคล” และ “รหัสผ่าน” เพื่อเข้าสู่ระบบ
5. หลังจากเข้าสู่ระบบเรียบร้อยแล้ว คลิกไปที่ “ชำระภาษีรถประจำปี” เลือก “ชำระภาษีรถประจำปีผ่านอินเตอร์เน็ต”
6. กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับรถ และหลักฐานการเอาประกัน ตาม พ.ร.บ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 (กรณี พ.ร.บ. ที่มีความคุ้มครองมากกว่า 3 เดือน)
7. เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ให้คลิกยืนยัน และเลือกวิธีชำระเงิน ได้แก่
8. ชำระค่าธรรมเนียม ในการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ แบ่งเป็น
ทั้งนี้ กรมการขนส่งทางบกจะส่งใบเสร็จรับเงิน, เครื่องหมายแสดงการเสียภาษี และกรมธรรม์ พ.ร.บ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถให้ทางไปรษณีย์ ซึ่งเจ้าของรถสามารถนำใบคู่มือจดทะเบียนรถไปบันทึกได้ ที่กรมการขนส่งทางบกทั่วประเทศ
เป็นอย่างไงกันบ้าง ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ทำได้ไม่ยากเลยใช่ไหม อย่างไรก็ตาม อย่าลืมว่า หากขาดการต่อภาษีรถยนต์เกิน 3 ปี ทะเบียนจะถูกระงับทันที หากไม่อยากเสียเงิน และเสียเวลาไปขอทะเบียนใหม่ ไม่ควรลืมหรือละเลยการต่อภาษีเด็ดขาด
อ่านเพิ่มเติม: