16:49, 19 เม.ย. 2564

ประโยชน์ของน้ำมันเครื่อง สาระที่ผู้ใช้รถควรรู้!

บันทึกรายการ

ประโยชน์ของน้ำมันเครื่องคืออะไร? มีกี่ประเภท และควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเมื่อไหร่ รวบรวมสาระความรู้เกี่ยวกับน้ำมันเครื่องมาไว้ที่นี่แล้ว


น้ำมันเครื่องยนต์ มีประโยชน์ต่อเครื่องยนต์เป็นอย่างมาก

น้ำมันเครื่องมีความสำคัญต่อเครื่องยนต์เป็นอย่างมาก ประโยชน์ของน้ำมันเครื่องนั้น นอกจากจะทำหน้าที่ในการหล่อลื่นช่วยให้การทำงานของเครื่องยนต์ไหลลื่น และเคลือบชิ้นส่วนต่าง ๆ ในเครื่องยนต์ ป้องกันการสึกหรอแล้ว ยังทำหน้าที่ในการระบายความร้อน รวมถึงป้องกันการรั่วของกำลังอัดอีกด้วย ช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องยนต์ให้นานขึ้น

น้ำมันเครื่อง มีกี่ประเภท?

ประเภทของน้ำมันเครื่องนั้นแบ่งได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นแบ่งตามชนิดของน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน, แบ่งตามชนิดความหนืด และแบ่งตามชั้นคุณภาพด้านการใช้งาน ดังนี้

น้ำมันเครื่องยนต์ ที่ประเภทแบ่งตามชนิดของน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน ได้แก่

  • น้ำมันเครื่องธรรมดา (Synthetic) ผลิตจากน้ำมันแร่ หรือหล่อลื่นที่กลั่นจากน้ำมันปิโตรเลียม มีอายุการใช้งานสั้น เพราะทนต่ออุณหภูมิได้ต่ำ และมีราคาต่ำกว่าน้ำมันชนิดอื่น ๆ
  • น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ (Semi Synthetic) ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นและน้ำมันสังเคราะห์ ใช้งานได้นานและมีราคาสูงกว่าน้ำมันเครื่องธรรมดา
  • น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ (Fully Synthetic) ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นสังเคราะห์ มีอายุการใช้งานนานที่สุด และมีราคาแพงที่สุดในบรรดาน้ำมัน 3 ชนิด


น้ำมันเครื่องเกรดเดี่ยว

น้ำมันเครื่องยนต์ ที่แบ่งประเภทตามชนิดความหนืด ได้แก่

น้ำมันเครื่องจะมีบอกค่าความหนืดอยู่หน้าขวด แบ่งประเภทตามชุดตัวเลข ดังนี้

  • น้ำมันเครื่องเกรดเดี่ยว (Monograde) หรือน้ำมันเครื่องที่บอกตัวเลขชุดเดียว เช่น SAE 30 หมายถึง น้ำมันเครื่องมีความหนืดตามมาตรฐาน SAE เบอร์ 30
  • น้ำมันเครื่องเกรดรวม (Multigrade) หรือน้ำมันเครื่องที่บอกตัวเลข 2 ชุด เช่น SAE 10W-30 หมายถึง น้ำมันเครื่องมีความหนืดตามมาตรฐาน SAE เบอร์ 10W และ 30

น้ำมันเครื่องเกรดเดี่ยว ถูกผลิตให้ใช้งานได้ในสภาพอากาศใดสภาพอากาศหนึ่งเท่านั้น หากเป็นเขตหนาว จะมีอักษร W (Winter) กำกับอยู่หลังตัวเลข เช่น 40W ส่วนเขตร้อนจะบอกแค่ตัวเลขธรรมดาเท่านั้น สำหรับน้ำมันเครื่องเกรดรวม จะใช้งานได้ทั้งสภาพอากาศร้อนและเย็น สามารถทนทานต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงได้ดี

ความหนืดของน้ำมันเครื่อง มีผลต่อการทำงานของเครื่องยนต์อย่างมาก หากน้ำมันเครื่องมีความหนืดต่ำก็จะทำหน้าที่เคลือบผิวโลหะได้ไม่ดี แต่หากความหนืดสูงเกินไปจะส่งผลให้ตัวปั๊มไม่สามารถดูดน้ำมันออกมาหล่อเลี้ยงชิ้นส่วนต่าง ๆ ได้ และจะทำให้การทำงานภายในเครื่องยนต์เกิดการติดขัด จึงควรเลือกใช้น้ำมันเครื่องที่เหมาะสมกับสภาพรถยนต์


น้ำมันเครื่องเกรดรวม

น้ำมันเครื่องยนต์ ที่แบ่งประเภทแบ่งตามชั้นคุณภาพด้านการใช้งาน ได้แก่

ค่า API (American Petroleum Institute Standard) คือค่าที่กำหนดโดยสถาบันปิโตรเลียมแห่งสหรัฐอเมริกา เพื่อให้ใช้แบบเดียวกันทั่วโลก

  • น้ำมันเครื่องยนต์เบนซิน จะใช้ตัวอักษร S (Station Service) นำหน้ามาตรฐาน เช่น API SA, API SG, API SF ซึ่งจะเรียงลำดับตั้งแต่ A-N โดยค่าสูงสุดของน้ำมันเครื่องเบนซินอยู่ที่ SN
  • น้ำมันเครื่องยนต์ดีเซล จะใช้อักษร C (Commercial Service) นำหน้ามาตรฐาน API  ได้แก่ API CJ-4 หรือ API CI-4 โดยค่าสูงสุดของน้ำมันเครื่องดีเซลอยู่ที่ CJ-4

การใช้และเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง

การเลือกน้ำมันเครื่องให้เหมาะสมกับสภาพการใช้งานของรถ จะทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเมื่อครบระยะ เพื่อยืดอายุการใช้งานออกไปให้นานขึ้น โดยอาจจะเปลี่ยนทุก ๆ 10,000 กม. หรือทุก ๆ 6 เดือน หรือไม่ก็เช็กระดับน้ำมันด้วยก้านวัด (หาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์ทั่วไป) หากรอยน้ำมันต่ำกว่าขีดบนหรือน้อยกว่าขีดล่าง ควรเติมน้ำมันเครื่องเข้าไปให้มีปริมาณเท่าขีดบน หรือให้สังเกตอาการรถของคุณ หากเกิดเสียงดังผิดปกติ หรือมีอาการสั่น นั่นอาจเป็นเพราะน้ำมันเครื่องเก่า จนส่งผลต่อการทำงานของเครื่องยนต์นั่นเอง

น้ำมันเครื่องยนต์ที่ดี คือน้ำมันเครื่องที่เหมาะกับสภาพการใช้งานของเครื่องยนต์ จะเลือกยี่ห้อไหนก็ขึ้นอยู่กับงบประมาณและความไว้วางใจที่คุณมีให้แบรนด์นั้น ๆ หากไม่แน่ใจ ควรเช็กจากรีวิวหรือสอบถามผู้รู้ก่อนซื้อ


ควรเปลี่ยนน้ำมันเครื่องเมื่อครบระยะ

อ่านเพิ่มเติม

ในหมวดเดียวกัน