เชื่อว่าผู้ที่มีรถยนต์เป็นของตัวเองก็ต่างที่จะต้องมีประกันภัยรถยนต์ติดเอาไว้ทุกคันอย่างแน่นอน ซึ่งตัวเลขเหล่านี้คือตัวเลขรหัสรถยนต์ในตารางกรมธรรมน์ ยกตัวอย่างเช่น ตัวเลข 110, 120 หรือ 230 คือ อะไร และตัวเลขอื่น ๆ อีกมากมาย โดยตัวเลขเหล่านี้ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อแบ่งแยกประเภทรถเอาไว้ มาดูกันว่าแต่ละตัวเลขหมายถึงรถประเภทใดบ้าง
สำหรับเลขรหัสรถยนต์ที่อยู่บนกรมธรรมน์ เป็นตัวเลขที่เหล่าบริษัทประกันใช้ระบุถึงรถยนต์คันที่ทำประกันภาคสมัครใจว่ารถแต่ละคันถูกจัดอยู่ในประเภทอะไร โดยจะมีตัวเลขด้วยกัน 3 หลัก ดังนี้
• ตัวเลขที่หนึ่ง คือ ประเภทรถยนต์
• ตัวเลขที่สอง คือ ลักษณะการใช้รถยนต์
• ตัวเลขที่สาม คือ ลักษณะการใช้รถยนต์
• 1 รถยนต์นั่ง (ไม่เกิน 7 ที่นั่ง)
• 2 รถยนต์โดยสาร (รถตู้ รถบัส)
• 3 รถยนต์บรรทุก (รถกระบะ รถบรรทุก)
• 4 รถยนต์ลากจูง
• 5 รถพ่วง
• 6 รถจักรยานยนต์
• 7 รถยนต์นั่งรับจ้างสาธารณะ
• 8 รถยนต์เบ็ดเตล็ด
• 10 ชนิดรถยนต์ส่วนบุคคล
• 20 ชนิดรถยนต์ใช้เพื่อการพาณิชย์
• 30 ชนิดรถยนต์ใช้เพื่อรับจ้างสาธารณะ
• 40 ชนิดรถยนต์ใช้เพื่อการพาณิชย์พิเศษ เช่น รถบรรทุกน้ำมัน แก๊ส เป็นต้น
• 01 รถยนต์ป้ายแดง
• 02 รถพยาบาล
• 03 รถดับเพลิง
• 04 รถใช้ในการเกษตร
• 05 รถใช้ในการก่อสร้าง
• 06 รถอื่น ๆ
• รถเก๋ง หรือรถกระบะสี่ประตู ใช้รหัส 110 รถเก๋ง ซึ่งชื่อในทะเบียนจัดเป็นนิติบุคคลที่ใช้รหัส 120 หากแนบบัตรประชาชนเป็นรถประจำตำแหน่งที่แต่ละที่ใช้รหัส 110
• รถกระบะตอนเดียวหรือกระบะติดหลังคาที่มีโครงเหล็กป้ายทะเบียนพื้นสีขาวตัวอักษรสีเขียว ใช้รหัส 320 ซึ่งเป็นรถที่เน้นการใช้งานบรรทุก
• รถตู้เชิงพาณิชย์ เช่น วิ่งทัวร์ รับส่งพนักงาน หรือรับส่งนักท่องเที่ยว จะใช้รหัส 220
• รถยนต์นั่งส่วนบุคคลรหัส 110 เช่น รถเก๋ง โดยบริษัทประกันจะเขียนระบุข้อความเอาไว้ว่าสามารถใช้งานส่วนบุคคล ไม่ใช่รับจ้างหรือให้เช่า
• รถกระบะแบบมี Cab ไม่ต่อเติมโครงเหล็กหรือหลังคาที่มีป้ายทะเบียนพื้นสีขาวตัวอักษรสีเขียว ในบางแห่งใช้รหัส 210 และบางแห่งใช้รหัส 320
• รถตู้ป้ายทะเบียนสีเหลือง เช่น รถตู้ร่วม รถสองแถว รถรับจ้างสาธารณะ ใช้รหัส 230
• รถแท็กซี่ บุคคลหรือนิติบุคคลรับจ้างสาธารณะใช้รหัส 730
• รถพยาบาล 802 ที่ต้องใช้ในการรับส่งผู้ป่วย หากเป็นรถโรงพยาบาลแต่ใช้สำหรับการขนอาหารหรือยาก็จะใช้รหัสตามปกติ
• รถบรรทุก ที่มีกระบะบรรทุกของตัวเอง หากมีปากลำโพงที่ถูกต่อไปเพื่อลากคันลูก โดยทั่วไปนิยมใช้รหัส 320 แต่ถ้าหากมองตามการใช้งานของลักษณะรถจะใช้รหัส 420 ส่วนคันลูกจะใช้รหัส 520 หรือ 540
รถยนต์นั่ง รหัส 110, 120 ลักษณะการใช้งานส่วนบุคคลและเพื่อการพาณิชย์
รถยนต์โดยสาร รหัส 210, 220, 230 ลักษณะการใช้งานส่วนบุคคล เพื่อการพาณิชย์ และรับจ้างสาธารณะ
รถยนต์บรรทุก รหัส 320, 340 ลักษณะการใช้งานเพื่อการพาณิชย์ และการใช้เพื่อการพาณิชย์พิเศษ
รถยนต์ลากจูง รหัส 420 ลักษณะการใช้งานเพื่อการพาณิชย์
รถพ่วง รหัส 520, 540 ลักษณะการใช้งานเพื่อการพาณิชย์ และการใช้เพื่อการพาณิชย์พิเศษ
รถจักรยานยนต์ รหัส 610, 620, 630 ลักษณะการใช้งานส่วนบุคคล การใช้เพื่อการพาณิชย์ และการใช้รับจ้างสาธารณะ
รถยนต์นั่งรับจ้างสาธารณะ (แท็กซี่) รหัส 730 ลักษณะการใช้งานรับจ้างสาธารณะ
รถยนต์เบ็ดเตล็ด 801, 802, 803, 804, 805, 806 ลักษณะการใช้งานเป็นรถยนต์ป้ายแดง รถพยาบาล รถดับเพลิง รถใช้ในการเกษตร หรือรถใช้ในการก่อสร้างอื่น ๆ
อย่างไรก็ตาม การมีรถยนต์สักหนึ่งคันนั้นจำเป็นที่จะต้องซื้อประกันภัยควบคู่เอาไว้ด้วย และควรให้ความสำคัญในการเลือกซื้อประกันภัยที่จะต้องมีการตรวจสอบข้อมูลส่วนตัวอย่างละเอียด รวมไปถึงหมายเลขทะเบียนรถ หมายเลขตัวรถ หมายเลขเครื่องยนต์ และรหัสรถยนต์ ซึ่งต่อไปเมื่อพบเห็นตัวเลขรหัสในกรมธรรมน์ประกันภัยเหล่านี้ก็จะช่วยทำให้คุณหายสงสัยและสามารถรับรู้ได้แล้วว่าตัวเลขแต่ละแบบหมายความว่าอย่างไร
ติดตามข่าวล่าสุดได้ที่: https://khaorot.com/
ดูเพิ่มเติม: