เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563 สิริ เวนเจอร์ส ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และกรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.อว.) นำเสนอ เดโม่ ยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ (Autonomous Vehicle) หรือรถยนต์ไร้คนขับ โดยแบ่งการติดตั้งเทคโนโลยีควบคุมการขับเคลื่อนกับรถกอล์ฟไฟฟ้าแบบ 6 ที่นั่ง ผสานกับแอพพลิเคชั่นเรียกใช้บริการยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติที่พัฒนาขึ้นโดยสิริ เวนเจอร์ส
กางโรดแมปเข้มข้น 8 เดือน มุ่งพัฒนา-ทดลอง-ประมวลการใช้งานยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติในสภาวะควบคุมบนพื้น ตั้งเป้าส่งต่อนวัตกรรมยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติต้นแบบ สู่การขยายผลในภาคเอกชนในช่วงเดือนมิถุนายน
การทดสอบยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติบนพื้นที่ SIRI VENTURES Private Prop Tech Sandbox ที่ T77 Community จะใช้เวลาในการพัฒนา-ทดลอง-ประมวลผลทั้งหมด 8 เดือน เริ่มต้นตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ปี 2019 จนถึงสิ้นสุดไตรมาสที่ 2 ปี 2020 โดย สวทช. และวศ.อว. มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาแพลตฟอร์มเทคโนโลยีเพื่อควบคุมการขับเคลื่อนแบบอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี Drive-by-Wire, การบูรณาการเซ็นเซอร์สำหรับยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ, ระบบบ่งชี้ตำแหน่งและการนำทาง, สมองกลควบคุม-สั่งการการขับเคลื่อน และแผนที่ 3D ความละเอียดสูง
ขณะที่สิริ เวนเจอร์สได้ร่วมพัฒนาแอพพลิเคชั่นสำหรับผู้บริโภคเพื่อทดลองเรียกใช้บริการยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ และประมวลผลการทดสอบและพฤติกรรมการใช้งานภายใต้สภาวะควบคุม ควบคู่กับมาตรการดูแลความปลอดภัยสูงสุดของลูกบ้านและชุมชน
การทดสอบวิ่งจริงของยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติในสภาวะควบคุมบนพื้นที่จริงจะเน้นการขับขี่ทั้งทางตรง ทางเลี้ยว ขึ้นเนิน รวมทั้งระบบความปลอดภัย อาทิ การทดสอบระบบหยุดเมื่อเจอสิ่งกีดขวางต่าง ๆ พร้อมกับการพัฒนาระบบสมองกลของยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติควบคู่กันไป โดยจะกำหนดเป็นเส้นทางบังคับ (Fixed Route) และเริ่มให้ลูกบ้านร่วมทดสอบใช้งานจริงผ่านแอพพลิเคชั่นที่พัฒนาขึ้นโดยสิริ เวนเจอร์ส
เพื่อนำ User Feedback ที่ได้มาร่วมประมวลผล และพัฒนาในลำดับต่อไป ซึ่งจะเป็นไมล์สโตนในการส่งต่อนวัตกรรมเทคโนโลยียานยนต์ขับขี่อัตโนมัติต้นแบบ สู่การขยายผลต่อในภาคเอกชน เริ่มต้นกับ AIROVR สตาร์ทอัพสัญชาติไทยผู้พัฒนาระบบให้บริการสำหรับยานยนต์ขับขี่อัตโนมัติ ภายในไตรมาสที่ 2 นี้
ระบบรถยนต์ไร้คนขับถูดทดสอบและติดตั้งบนรถกอล์ฟไฟฟ้าแบบ 6 ที่นั่ง
ซึ่งระบบนี้อยู่ในระดับของ Autonomous Vehicle Level 3 ยังต้องมีคนควบคุม แต่สามารถละสายตาจากการขับขี่ สามารถใช้โทรศัพท์หรือดูภาพยนตร์ภายในรถได้ปลอดภัย ไม่สามารถใช้ความเร็วได้เกิน 60 กม./ชม. บางครั้งเอาต้องเข้าควบคุมรถในบางจังหวะเนื่องจาก AI ยังไม่ควบคุมได้อย่างปลอดภัยในทุกสถานการณ์
ระบบขับเคลื่อนนี้จะใช้เลเซอร์นำทางใช้ฮาร์แวร์อย่าง Sensors, LiDARs, Camera Modules, Milliwave Radars โดยมีซอร์ฟแวร์ Sensing Technologies, Dynamic Maps/Mapping Technologies, AI ที่ทั้งหมดเป็นฟรีไลเซนจากมหาวิทยาลัยนาโกย่า ที่เราได้หยิบมาพัฒนาเพิ่ม
เนื่องด้วยความปลอดภัย รถกอล์ฟไฟฟ้าไร้คนขับถูกทำกัดไม่ให้ใช้ความเร็วเกิน 18 กม./ชม. และข้อจำกัดทางด้านกฎหมายที่ยังไม่ลงตัว เรื่องความรับผิดชอบเรื่องอุบัติเหตุ ใบอนุญาติขับขี่ ประกันภัย ทำให้ทุกอย่างยังคงต้องทดสอบในสถานที่ของเอกชน ซึ่งเรื่องเหล่านี้ถือเป็นอุปสรรคสำคัญแม้แต่ในต่างประเทศเองก็ยังไม่มีข้อตกลงที่ชัดเจน
หากระบบนี้สำเร็จ ก็สามารถนำไปติดตั้งกับรถยนต์ปรกติและใช้งานได้ทันที ถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญสำหรับเทคโนโลยีรถยนต์ไร้คนขับในไทย
อ่านเรื่องอื่นเพิ่มเติม
- Honda City Hatchback 2020 อาจมาทำตลาดแทน Honda Jazz ในไทย
- Peugeot Landtrek 2020 โฉมใหม่ รถกระบะสิงห์ยกขาสายพันธุ์มังกร
ืningkung