Isuzu จับมือ Honda ร่วมพัฒนารถบรรทุกไฟฟ้าพลังไฮโดรเจน

RodPenRai 22 ม.ค. 2563 | 11 View | News

Isuzu รวมพลังรักโลกกับ Honda พัฒนาเทคโนโลยีรังเชื้อเพลิงสำหรับรถบรรทุก แต่จะไม่ถูกนำไปใช้กับกระบะขนาด 1 ตันอย่าง Isuzu D-Max อย่างน้อยก็ในอนาคตอันใกล้

วันที่ 15 มกราคม 2563 อีซูซุ (Isuzu) ร่วมลงนามข้อตกลงกับ ฮอนด้า (Honda) พัฒนารถบรรทุกไฟฟ้าพลังไฮโดรเจน หรือเทคโนโลยีรังเชื้อเพลิง (Fuel Cell) ซึ่งถือว่าเป็นก้าวสำคัญของทาง Isuzu ที่เริ่มหันหน้ามาเลือกใช้พลังงานสะอาดสำหรับภาคขนส่ง

รถไฮโดรเจน

โดย Isuzu ได้ทำการวิจัยพลังงานทางเลือกต่าง ๆ รองรับสำหรับอนาคต ทั้งก๊าซธรรมชาติ คลีนดีเซล ไฟฟ้า และล่าสุดไฮโดรเจน เพื่อสิ่งแวดล้อม

เนื้อหาสำคัญในการจับมือร่วมกันระหว่าง Isuzu และ Honda ได้ระบุว่า มีเป้าหมายที่จะพัฒนาเทคโนโลยีการขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฮโดรเจนสำหรับรถบรรทุกหนัก ( heavy-duty trucks) โดยเฉพาะ

ดูเพิ่มเติม:  ราคารถกระบะ Isuzu

แต่สิ่งที่หลายคนสนใจคือในอนาคต Isuzu D-max จะมีการปรับเปลี่ยนเป็นพลังงานทางเลือกอย่างไฮโดรเจนหรือไม่ เพราะค่ายรถยนต์ทั่วโลกเริ่มขยับตัวไปหาพลังงานยุคใหม่แล้วหลายราย ซึ่ง Isuzu ก็ยังไม่ได้มีการกล่าวถึงแผนที่จะปรับเปลี่ยนจากเครื่องยนต์สันดาปภายใน ไปเป็นพลังงานฟฟ้าหรือไฮโดรเจนแต่อย่างใด  

Isuzu D-Max

ถ้าพูดถึงรถไฮโดรเจนก็ต้องใช้ Fuel Cell หรือรังเชื้อเพลิง ซึ่งจะมีกระบวนการสร้างพลังงานจากการเกิดปฏิกิริยาทางเคมีระหว่างไฮโดรเจนกับออกซิเจน ทำให้โมเลกุลของทั้งสองเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยไม่มีการเผาไหม้ใด ๆ ซึ่งถือว่าเป็นพลังงานสะอาด ไม่ก่อให้เกิดมลพิษในอากาศ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างมาก จึงถือว่าเป็นตัวเลือกพลังงานทดแทนที่ดีกว่าในปัจจุบัน

โดยหลักการทำงานของ Fuel Cell ประกอบไปด้วยขั้นตอน ดังนี้

  1. ขั้วแอโนด (Anode) เป็นขั้วลบ มีหน้าที่ส่งอิเล็กตรอนออกจากขั้ว โดยอิเล็กตรอนได้จากปฏิกิริยาออกซิเดชัน คือ โดยที่ขั้วจะมีช่องที่ติดกับตัวเร่งปฏิกิริยาซึ่งฉาบอยู่บนผิวหน้าของเยื่อแลกเปลี่ยนโปรตอน ปฏิกิริยาจะเกิดขึ้นเมื่อผ่านก๊าซไฮโดรเจนเข้าไป
  2. ขั้วแคโทด (Cathode) เป็นขั้วบวก โดยมีช่องติดกับเยื่อแลกเปลี่ยนโปรตอน ทำหน้าที่รับโปรตอนและก๊าซออกซิเจนซึ่งถูกปล่อยออกมาที่ผิวหน้าของเยื่อซึ่งฉาบตัวเร่งปฏิกิริยาเอาไว้ และทำหน้าที่รับอิเล็กตรอนกลับมาจากวงจรภายนอก เพื่อรวมกันเป็นน้ำ
  3. สารพาประจุ (Electrolyte) เป็นสารที่ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของไอออนชนิดต่างๆ และเป็นส่วนที่เซลล์เชื้อเพลิงแต่ละประเภทแตกต่างกัน โดยประเภทที่เรากล่าวถึงอยู่นี้ สารพาประจุ จะเป็นเพียงเยื่อแลกเปลี่ยนโปรตอน (Proton exchange membrane) เท่านั้น ซึ่งมีลักษณะเหมือนแผ่นพลาสติกโดยจะให้โปรตอนผ่านได้ แต่จะไม่ยอมให้อิเล็กตรอนผ่าน
  4. ตัวเร่งปฏิกิริยา (Catalyst) เป็นตัวช่วยให้ปฏิกิริยาในขั้นตอนต่าง ๆ เกิดได้ดียิ่งขึ้น ส่วนใหญ่จะเป็นผงแพลทินัมเคลือบอยู่บนเยื่อแลกเปลี่ยนโปรตอน ซึ่งจะมีลักษณะขรุขระเพื่อเพิ่มพื้นที่ผิวในการสัมผัสกับก๊าซไฮโดรเจน และออกซิเจน

ซึ่งน่าเสียดายที่ทาง Isuzu ไม่มีแผนจะทำ Isuzu D-Max ในเวอร์ชันเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งสวนทางกับทาง Honda และ Toyota ที่ปล่อยรถไฮโดรเจน Honda Clarity และ Toyota Mirai ที่ใช้ระบบขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฮโดรเจนออกไปแล้ว แต่ไม่เป็นที่นิยมได้ ถึงแม้จะสามารถทำระยะทางวิ่งและระยะเวลาเติมเชื้อเพลิงได้เหนือกว่ารถไฟฟ้าล้วน (BEV) ก็ตาม เพราะเนื่องจากสถานีเติมไฮโดรเจนมีน้อยมากปัจจุบัน บวกกับต้นทุนของเทคโนโลยีที่สูงกว่า

Isuzu D-Max

ดูเพิ่มเติม

โปรโมชั่น ดูทั้งหมด

โปรโมชั่น Ford กันยายน 2565 ดีลเด็ดโดนใจ

โปรโมชั่น Ford กันยายน 2565 สิทธิพิเศษจากฟอร์ดสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อรถแต่ยังไม่มีงบ พร้อมทั้งโปรโมชั่น Ford อื่น ๆ เช็กได้กันเลย

โปรโมชั่น Isuzu กันยายน 2565 ดีลเด็ดโดนใจ

โปรโมชั่น Isuzu กันยายน 2565 สิทธิพิเศษมากมายสำหรับลูกค้าอีซูซุที่ยกมาให้เลือกพิจารณากันทั้งค่าย เช็กโปรโมชั่น Isuzu ได้ที่นี่

โปรโมชัน Nissan กันยายน 2565 ดีลเด็ดโดนใจ

โปรโมชัน Nissan กันยายน 2565 สิทธิดี ๆ ส่วนลดสุดปัง สำหรับรถยนต์ผู้ที่สนใจรถยนต์นิสสัน เช็กรายละเอียดโปรโมชั่น Nissan ได้ที่นี่

โปรโมชัน Suzuki กันยายน 2565 ดีลเด็ดโดนใจ

โปรโมชัน Suzuki กันยายน 2565 และสิทธิประโยชน์อื่น ๆ อีกมากมายให้ที่ Suzuki นำมามอบให้แบบจัดเต็ม!

International

Cars in Thailand Chobrod.com (Cars in Thailand)