ปัจจุบัน จะเห็นระบบเบรกไฟฟ้า (Electronic Parking Brake) อยู่ในรถยนต์รุ่นใหม่ ๆ หลายรุ่น ทั้งในรถยุโรปและรถญี่ปุ่น โดยปุ่มเบรกดังกล่าวจะอยู่บริเวณคอนโซลกลาง ส่วนตัวสวิตช์จะมีสัญลักษณ์ตัว P ระบุไว้ เบรกมือไฟฟ้า จัดเป็นฟังก์ชันที่ดีในการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ ช่วยประหยัดแรง เพียงแค่กดหรือดึงที่ปุ่มสวิตช์ระบบก็จะเริ่มทำงาน และเมื่อทำงานแล้ว ก็จะขึ้นแจ้งเตือนเป็นสัญลักษณ์ P บนแผงหน้าปัดเช่นเดียวกัน
ระบบเบรกไฟฟ้า หรือ Electronic Parking Brake
ระบบเบรกไฟฟ้าให้กำลังเบรกสูงมาก เพียงแค่กดหรือดึงสวิตช์เพียงครั้งเดียว รถก็จะนิ่งสนิท ไม่ขยับเขยื้อน คล้ายดึงเบรกมือปกติแบบสุดแรง จุดเด่นข้อนี้ยังช่วยให้เฟืองและล็อกเพลาด้านหลังไม่เสื่อมสภาพ และยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้นไปอีก
ด้วยระบบการทำงานอัตโนมัติของเบรกมือไฟฟ้า เพียงแค่เข้าเกียร์ D หรือ R ไว้ ระบบเบรกไฟฟ้าก็จะปลดล็อกให้เองอัตโนมัติ ตอบโจทย์คนขี้ลืมได้อย่างดี ต่างจากเบรกมือปกติที่ต้องดันก้านเบรกลงก่อนขับขี่ ซึ่งหลาย ๆ ครั้งผู้ใช้รถเองก็มักจะลืมจุดนั้นไป
Auto Brake Hold คือระบบช่วยเหยียบเบรกค้างไว้ ทำให้ผู้ขับขี่สามารถปล่อยเท้าออกจากแป้นเบรกได้ทันที แม้ว่าเกียร์จะอยู่ในตำแหน่ง D ก็ตาม ช่วยอำนวยความสะดวกเวลาที่ต้องอยู่ในสภาพการจราจรติดขัด เคลื่อนตัวช้าสลับหยุด หรือเวลาติดไฟแดง วิธีการใช้งานก็สามารถทำได้ง่าย ๆ เพียงแค่กดปุ่มสวิตช์ที่มีสัญลักษณ์ Auto Brake Hold ที่อยู่ใกล้ ๆ สวิตช์เบรกมือไฟฟ้า ระบบก็จะทำงานขึ้นมาทันที
ระบบช่วยเหยียบเบรก Auto Brake Hold
เบรกมือไฟฟ้า จะมีกลไกการทำงานที่ซับซ้อนกว่าเบรกมือทั่วไป และมีระบบไฟฟ้าเข้ามาเกี่ยวข้อง เมื่อเกิดปัญหาจึงต้องจ่ายค่าซ่อมบำรุงเยอะกว่าปกติ นอกจากนี้ ระยะเวลาในการซ่อมแซมก็นานกว่าด้วยเช่นกัน
จัดเป็นปัญหาเล็ก ๆ น้อย ๆ กรณีที่มีรถหลายคันแล้วต้องสลับการใช้งานระหว่างเบรกมือปกติกับเบรกมือไฟฟ้า ผู้ขับขี่อาจเกิดความสับสนหรือลืมตัว จนเผลอปล่อยเบรกตอนติดไฟแดงเพราะคิดว่ามีระบบช่วยเบรก หรือออกรถทันทีโดยไม่ระวัง ทำให้เกิดอุบัติเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ ตามมา วิธีแก้ไขคือ ตั้งสติก่อนขับขี่ และเช็กให้ดีว่ารถที่ขับมีระบบเบรกเป็นแบบไหน
ระบบเบรกไฟฟ้าคือเทคโนโลยีที่ตอบโจทย์ผู้ใช้รถได้ดีเป็นอย่างมาก แม้จะมีค่าซ่อมบำรุงสูง แต่หากรู้วิธีการทำงานและประโยชน์ของการใช้งานก็จะช่วยอำนวยความสะดวกสบาย ประหยัดแรง และสร้างความปลอดภัยได้แทบทุกเวลา
มีค่าซ่อมบำรุจุกจิกเยอะ
อ่านเพิ่มเติม >>