ภายในเครื่องยนต์เบนซินมีส่วนประกอบมากมาย
1. จังหวะดูด (Suction Stroke)
เริ่มจากการที่ลูกสูบซึ่งอยู่ตำแหน่งบนสุดของกระบอกสูบ (ศูนย์ตายบน) ขยับลงมาจุดล่างสุดของกระบอกสูบ (ศูนย์ตายล่าง) ลิ้นไอดีจะเปิดแล้วดูด "ไอดี" (ส่วนผสมระหว่างน้ำมันเบนซินและอากาศในคาร์บูเรเตอร์) เข้ามาในกระบอกสูบ โดยมีวาล์วไอเสียปิดไว้ไม่ให้ไอดีออกจากกระบอกสูบ
2. จังหวะอัด (Compression Stroke)
ต่อเนื่องจากจังหวะดูด เมื่อกระบอกสูบลงมาถึงศูนย์ตายล่าง และในกระบอกสูบมีส่วนผสมไอดีมากที่สุดแล้ว วาล์วไอดีก็จะปิด จากนั้นลูกสูบก็จะเคลื่อนตัวสู่ศูนย์ตายบนอีกครั้ง เพื่ออัดให้ส่วนผสมไอดีควบแน่น
หลักการทำงานของเครื่องยนต์เบนซิน 4 จังหวะ
3. จังหวะระเบิด (Power stroke)
ก่อนลูกสูบจะเลื่อนถึงศูนย์ตายบน หัวเทียนจะทำการจุดประกายไฟให้ไอดีเกิดการลุกไหม้ จนเกิดการระเบิด แล้วแรงดันจากการระเบิดในกระบอกสูบจะเพิ่มขึ้น และผลักดันให้ลูกสูบกลับไปอยู่ศูนย์ตายล่าง
4. จังหวะคาย (Exhaust stroke)
หลังจากกระบอกสูบกลับไปอยู่ศูนย์ตายล่าง จังหวะที่ยกตัวขึ้นไปสู่ศูนย์ตายบนอีกครั้ง ลิ้นไอเสียจะทำการเปิดขึ้นมา แล้วดันไอเสียออกไปทางท่อไอเสีย และเมื่อลูกสูบถึงศูนย์ตายบน ก็จะเริ่มต้นจังหวะดูดใหม่อีกครั้งหนึ่ง
นอกจากนี้แล้ว เครื่องยนต์เบนซินรองรับได้ทั้งน้ำมันเบนซิน, น้ำมันแก๊สโซฮอล, แก๊ส และเอทานอล โดยจะทำการเผาไหม้เชื้อเพลิงเหล่านี้ให้เกิดพลังงาน เป็นตัวช่วยหนึ่งในการขับเคลื่อนเครื่องยนต์นั่นเอง
อ่านเพิ่มเติม