หนีไป...โปรดเลื่อนผ่านบทความนี้สำหรับใครที่ไม่มีความสนใจเรื่องชิ้นส่วนกลไกในเครื่องยนต์ หรือใครที่มีความรู้ด้านเครื่องยนต์กลไกลมากพออยู่แล้ว บทความนี้อาจไม่เหมาะหรือให้ประโยชน์อะไรแก่ท่านได้ เพราะเรากำลังจะพาไปทำความรู้จัก เพลา ลูกเบี้ยว หน้าที่ มันคืออะไรกันนะ
แท่ง เพลา ลูกเบี้ยว หรือ Camshaft
เพลาลูกเบี้ยว คือแท่งเพลาหมุนโดยตามแกนเพลาจะมีเดือยโลหะทรงหยดน้ำยื่นออกมาสำหรับกดวาล์วให้เปิด-ปิดในแต่ละกระบอกสูบ ซึ่งปลายเดือยแต่ละชุดบนแกนแท่งเพลาจะหันทิศทางไปต่างกันจึงเรียกว่า "ลูกเบี้ยว" เมื่อเวลาแกนเพลาหมุน ลูกเบี้ยวก็จะหมุนไปตามจังหวะการทำงานของระบอกสูบ
เพลา ลูกเบี้ยว หน้าที่ คือ
หน้าที่ ของ เพลา ลูกเบี้ยว คือ คอยควบคุมจังหวะการเปิด-ปิดวาล์วทั้งฝั่งไอดีและไอเสียสลับกันไป โดยในจะหวังลูกเบี้ยวกดวาล์วไอดีให้อากาศไหลเข้ามาสู่ห้องเผาไหม้เพื่อจุดระเบิด เมื่อจุดระเบิดและเผ้าไหม้แล้วก็จะปิดวาล์วฝั่งไอดีแล้วเปิดวาล์วไอเสียให้ไอเสียไหลออกไป พูดง่าย ๆ คือ เมื่อเพลาลูกเบี้ยวหมุนจะทำหน้าที่ทั้งเปิดและปิดของวาล์ว
แล้วตำแหน่ง เพลา ลูกเบี้ยว อยู่ตรงไหน
เพลา ลูกเบี้ยว หน้าที่ แบบ
OHV
ขึ้นอยู่กับว่าผู้ผลิตเครื่องยนต์ออกแบบเครื่องยนต์มาในลักษณะใด ถ้าในเครื่องยนต์รุ่นเก่าจะมีแกนเพลาลูกเบี้ยวบริเวณด้านล่างภายในเสื้อสูบ โดยอาศัยแรงหมุนมาจากเพลาข้อเหวี่ยง เครื่องยนต์ที่ติดตั้งเพลาลูกเบี้ยวในเสื้อสูบ เวลาเพลาลูกเบี้ยวหมุน ลูกเบี้ยวจะไปดันก้านกระทุ้ง (Push rod) เพื่อดันกระเดื่องวาล์วให้กดวาล์วเพื่อรับไอดี โดยวาล์วก็จะติดตั้งอยู่ด้สนบน จึงเรียกวาล์วลักษณะนี้ว่า Over Head Valve หรือ OHV ซึ่งเป็นระบบค่อนข้างโบราณ ทนถึก มีใช้ใน Jeep Cherokee รุ่นแรกที่นำเข้ามาจำหน่ายในไทย
เพลา ลูกเบี้ยว หน้าที่ แบบ OHC
ส่วนเครื่องยนต์ Over Head Camshaft หรือ OHC จะติดตั้งเพลาลูกเบี้ยวอยู่ด้านบนของฝาสูบ ก็ไม่จำเป็นต้องมีก้านกระทุ้งที่อาศัยการหมุนจากเพลาข้อเหวี่ยง เพราะเพลาลูกเบี้ยวอยู่ด้านบนฝาสูบ คอยควบคุมการเปิด-ปิดวาล์วโดยตรง
เพลา ลูกเบี้ยว หน้าที่ แบบ SOHC และ DOHC
แต่หากเป็น Single Over Head Camshaft หรือ SOHC คือเครื่องยนต์ที่ใช้เพลาลูกเบี้ยวแท่งเดียว ติดตั้งอยู่เหนือฝาสูบเพื่อควบคุมการเปิด-ปิดการทำงานของวาล์วทั้งฝั่งไอดี-ไอเสีย แต่ต่อมามีการออกแบบให้มีแกนเพลาลูกเบี้ยว 2 แท่ง แยกควบคุมการเปิด-ปิดไอดีกับไอเสียออกจากกัน จึงเรียกเครื่องยนต์นั้นว่าเป็น Double Over Head Camshaft หรือ DOHC หรือแคมคู่ เป็นที่นิยมในปัจจุบัน และมีหนักไปกว่านั้นก็คือ Quadcam ในรถเครื่องสูบวี หมายถึงมีเพลาลูกเบี้ยว 4 แท่ง แยกเป็น Bank ละ 2 เพลา
เพลา ลูกเบี้ยว หน้าที่ ควบคุมวาล์ว ขับโดยสายพานไทมิ่ง
ซึ่งเพลาลูกเบี้ยวในเครื่องยนต์ OHC, SOHC และ DOHC หมุนได้โดยอาศัยแรงหมุนจากเพลาข้อเหวี่ยง (Crank shaft) ผ่านตัวกลางอย่างใดอย่างหนึ่งใน 3 รูปแบบ ได้แก่
1. เฟืองราวลิ้น (Timing gear)
2. โซ่ราวลิ้น (Timing chain)
3. สายพานราวลิ้น (Timing belt)
ส่วนจะเป็นแบบไหนก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบเครื่องยนต์ของผู้ผลิต
แน่นอนว่านอกจากเรื่องกลไกแล้วรถยนต์ยุคใหม่จะมีส่วนประมวลผลอิเล็กทรอนิกส์เข้ามาช่วยควบคุมเพื่อความแม่นยำ จึงต้องมีเซ็นเซอร์เพลาลูกเบี้ยวทำงานร่วมกับเซ็นเซอร์เพลาข้อเหวี่ยง โดยเซ็นเซอร์เพาลูกเบี้ยวจะทำหน้าที่ส่งสัญญาณการทำงานไปยังกล่องสมองกล (ECU)
เซ็นเซอร์เพลาลูกเบี้ยวหรือ Camshaft Positioning Sensor (CMP) จะคอยทำหน้าที่ตรวจจับการหมุนของเพลาลูกเบี้ยว โดยส่วนที่เป็นแม่เหล็กของเซ็นเซอร์จะสร้างสนามแม่เหล็กเมื่อเครื่องยนต์ทำงานผ่านการหมุนของเพลาลูกเบี้ยว และส่งค่าสัญญาณตำแหน่งการหมุนของเพลาราวลิ้นไปที่กล่อง ECU เพื่อกำหนดการจ่ายน้ำมันในแต่ละสูบ รวมถึงควบคุมการจุดระเบิดในเวลาที่ถูกต้อง ทั้งนี้ ตำแหน่งของเซ็นเซอร์มักจะอยู่ด้านหน้าหรือด้านบนเครื่องยนต์บริเวณปลายฝาสูบตรง
เมื่อเซ็นเซอร์เพลาลูกเบี้ยวเสียจะเกิดอาการอย่างไร
เมื่อเซ็นเซอร์เพลาลูกเบี้ยวเกิดความเสียหาย เซ็นเซอร์ก็จะไม่สามารถรับรู้ได้ว่าวาล์วตัวไหนเปิดหรือปิดอยู่ จึงไม่สามารถสั่งการหัวฉีดในการจ่ายน้ำมันในจังหวะเวลาที่แม่นยำได้ และมักจะมีอาการฟ้องถึงความผิดปกติ เช่น
เมื่อเกิดอาการเหล่านี้อาจต้องนำรถยนต์เข้าไปตรวจสอบด้วยการเสียบเครื่อง OBD II (Diagnostic Trouble Code) เพื่อให้ช่างอ่านค่าความผิดพลาดจากรหัสที่พบ ว่าเซ็นเซอร์เพลาข้อเหวี่ยงมีอาการผิดปกติหรือไม่เพื่อที่จะได้แก้ไขต่อไปให้ตรงจุด
อ่านเพิ่มเติม