15:12, 30 ก.ย. 2564

ขับรถลุยน้ำท่วม ไม่ให้รถดับ ทำไง?

บันทึกรายการ

เมื่อหลีกเลี่ยงเส้นทางน้ำท่วมหรือมีความจำเป็นที่จะต้องขับรถลุยน้ำ ต้องทำยังไงจึงจะขับรถลุยน้ำท่วม โดยที่รถไม่ดับได้ ?

ด้วยอิทธิพลจากพายุเตี้ยนหมู่ ส่งผลให้ฝนตกหนักทั่วประเทศจนเกิดน้ำท่วมในหลาย ๆ พื้นที่ ผู้ใช้รถจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ หากน้ำท่วมสูงไม่เกินข้อเท้า ก็ยังสามารถขับรถผ่านไปได้ แต่ถ้าท่วมสูงเกิน 30 เมตร (เลยฟุตบาทขึ้นไป) ถ้าจำเป็นต้องขับรถลุยน้ำหรือหลีกเลี่ยงเส้นทางนั้นไม่ได้ ผู้ขับขี่ต้องเตรียมความพร้อมให้ดี โดยสามารถทำตามเทคนิคได้ ดังนี้

วิธีการขับรถลุยน้ำ ไม่ให้รถดับ

ปิดแอร์รถยนต์


ปิดแอร์รถยนต์

เมื่อต้องขับรถลุยน้ำ ไม่ควรเปิดแอร์รถยนต์ เนื่องจากพัดลมแอร์จะพัดน้ำเข้าห้องเครื่องจนอาจทำให้เกิดการช็อตในห้องไฟฟ้า ส่งผลให้รถดับได้ 

ขับรถด้วยความเร็วต่ำ


ขับรถด้วยความเร็วต่ำ

ควรขับรถด้วยความเร็วต่ำ เพื่อประคองให้รถยนต์ไม่ดับ โดยใช้ความเร็วคงที่ รักษารอบเครื่องยนต์ไว้ประมาณ 1,500 - 2,000 รอบต่อนาที สำหรับเกียร์ธรรมดา ควรใช้เกียร์ 1 หรือ 2 หากเป็นเกียร์ออโต้ ควรใช้เกียร์ L 

เลี้ยงคลัตซ์ไว้ (สำหรับรถเกียร์ธรรมดา)


เลี้ยงคลัตซ์ไว้

สำหรับรถเกียร์ธรรมดา ควรเลี้ยงคลัตช์ไว้และเร่งเครื่องยนต์ให้เดินสูงกว่าปกติ เพื่อไม่ให้รถดับ และป้องกันไม่ให้น้ำไหลเข้าห้องเครื่อง

ลดความเร็ว เมื่อขับรถสวนทาง


ลดความเร็ว เมื่อขับรถสวนทาง

หากไม่ลดความเร็ว คลื่นจากรถทั้งสองคันที่ขับสวนกันจะเกิดการปะทะกัน ทำให้ระดับน้ำสูงกว่าเดิม จนอาจเข้าห้องเครื่องได้

รักษาระยะห่างจากรถคันหน้า


รักษาระยะห่างจากรถคันหน้า

เมื่อแช่น้ำนาน ๆ ระบบเบรกจะมีประสิทธิภาพต่ำลง ส่งผลให้เบรกไม่ค่อยอยู่ จึงควรรักษาระยะห่างไว้เพื่อไม่ให้เกิดการชนท้าย โดยหลังจากขับรถผ่านน้ำมาแล้ว ควรขับให้ช้าลงและเหยียบเบรกเป็นระยะ ๆ เพื่อไล่น้ำออกจากผ้าเบรก 

อย่าเพิ่งดับเครื่อง เมื่อขับรถถึงที่หมายแล้ว


อย่าเพิ่งดับเครื่อง เมื่อขับรถถึงที่หมายแล้ว

เมื่อขับรถพ้นน้ำหรือถึงที่หมายแล้ว อย่าดับเครื่องยนต์ในทันที ควรติดเครื่องไว้ก่อน เพื่อไล่ความชื้นที่อยู่ในห้องเครื่องออก ถ้าดับเครื่องยนต์เลย น้ำที่ยังค้างอยู่อาจไหลเข้าท่อได้ 

กรณีที่รถดับขณะขับรถลุยน้ำ ให้พยายามเข็นรถขึ้นที่สูง เพื่อไม่ให้น้ำเกินครึ่งล้อ หรือโทรเรียกช่างมาลากไป และห้ามสตาร์ตเครื่องยนต์ใหม่เด็ดขาด เพราะจะทำให้น้ำเข้าห้องเครื่องได้ จนเกิดความเสียหายภายในมากกว่าเดิม 

อ่านเพิ่มเติม >>

ในหมวดเดียวกัน