เมื่อเบรกแล้วเกิดเสียงหอนจากบริเวณล้อใดล้อหนึ่งขณะเบรก หรือชะลอความเร็ว สันนิษฐานได้ว่า อาจเกิดจากผ้าเบรกหมดจนโลหะเสียดสีกับจานเบรก หรือมีฝุ่นหรือหินหลุดเข้าไปเสียดระหว่างผ้าเบรกและจานเบรก
หากเหยียบเบรก แล้วแป้นเบรกสั่นสะท้าน ยิ่งปล่อยไว้นาน จะยิ่งทวีความรุนแรงจนสั่นมาถึงพวงมาลัยรถ เป็นไปได้ว่า อาจมีสาเหตุมาจากการที่จานเบรกโค้ง งอ ผิดรูปจนทำให้ผ้าเบรกจับตัวไม่สม่ำเสมอ หรือคาลิปเปอร์เบรกชำรุด ภายในขึ้นสนิมจนขยับไม่ได้
เมื่อเหยียบเบรกแล้วไม่ค่อยอยู่ และต้องใช้แรงเบรกมากกว่าปกติ อาจมีสาเหตุมาจากหม้อลมเบรกรั่วจากชุดผ้าใบภายใน หรือวาล์ว PVC หรือ Combovale เสีย จนทำให้แรงสุญญากาศของหม้อลมหายไปนั่นเอง
กรณีที่เหยียบเบรกแล้ว เบรกจมมากกว่าปกติ จนต้องออกแรงเบรกมากกกว่าเดิม หรือย้ำเบรก สันนิษฐานได้ว่า แรงดันเบรกลดลง เนื่องจากลูกยางแม่ปั๊มบวม หรือสึกหรอนั่นเอง
หากเหยียบเบรกแล้วรถเบี้ยวไปด้านใดด้านหนึ่ง อาจเกิดจากสารหล่อลื่นของชุดช่วงล่างกระเด็นมาติดจานเบรก จนทำให้ผิวลื่นมัน หรือไม่ก็ชุดคาลิปเปอร์แต่ละฝั่งสึกหรอไม่เท่ากัน ทำให้เกิดความฝืดที่ไม่สมดุลกัน จนทำให้เบรกปัด
หากเบรกรถทำงานตลอดเวลา แม้ไม่ได้เหยียบเบรก หรือปล่อยเท้าออกแล้ว เบรกยังทำงานอยู่ หรือเบรกมีกลิ่นไหม้ อาจเกิดจากการที่ยางกันฝุ่นชำรุด จนทำให้ฝุ่นและสิ่งสกปรกเข้าไปในลูกสูบ หรือไม่ก็เป็นเพราะลูกสูบเกิดสนิมจนเกิดอาการติดขัด และไม่สามารถเคลื่อนตัวได้นั่นเอง
เมื่อเหยียบเบรกแล้วเบรกไม่ทำงาน รถไม่ลดความเร็ว หรือหยุดวิ่งอย่างที่ควรจะเป็น เกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น น้ำมันเบรกรั่ว เนื่องจากน้ำมันเบรกและกระบอกปั๊มล้อเสื่อมสภาพ, ท่อทางเดินน้ำมันเบรกแตก, น้ำมันเบรกหมด, น้ำมันเบรกชื้น, สายเบรกขาด หรือผ้าเบรกไหม้ หากเกิดอาการเช่นนี้ ควรควบคุมสติ และค่อย ๆ ลดเกียร์ไปเรื่อย ๆ พร้อมกับการดึงเบรกมือ เพื่อลดความเร็ว
เรื่องเบรก เป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย เพราะอาจเกิดผลเสียตามมาในภายหลัง ที่สำคัญ ผู้เป็นเจ้าของรถควรตรวจสอบและเช็กสภาพ และควรเปลี่ยนน้ำมันเบรกอย่างน้อยทุก ๆ 6 เดือน หรือ 4 ปี หรือทุก ๆ 2 หมื่นกิโลเมตร แล้วแต่ความสมบุกสมบันในการใช้งาน เพื่อป้องกันไม่ให้แรงดันเบรกลดลง
อ่านเพิ่มเติม >>