เครื่องยนต์เบนซิน ทำงานอย่างไร? ที่นี่มีคำตอบ!
ไขข้อข้องใจ เครื่องยนต์เบนซินมีระบบการทำงานอย่างไร? แล้วชิ้นส่วนหลัก ๆ ที่ช่วยในการทำงานของเครื่องยนต์เบนซินมีอะไรบ้าง มาดูกัน!
เครื่องยนต์เบนซินหรือที่เรียกกันว่าเครื่องยนต์แก๊สโซลีน
ปัจจุบันเราจะเห็น “เครื่องยนต์เบนซิน” หรือที่เรียกกันว่า “เครื่องยนต์แก๊สโซลีน” อยู่ในรถยนต์เกือบทุกประเภท จุดเด่นหลัก ๆ ของเครื่องยนต์ชนิดนี้ คือให้อัตราเร่งดี แม้จะถูกลดความจุหัวสูบทว่าก็ยังให้พละกำลังสูง แถมยังปล่อยมลพิษน้อย ซึ่งภายในเครื่องยนต์เบนซินนั้น ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนมากมาย โดยจะแบ่งชิ้นส่วนหลัก ๆ ออกเป็น 2 แบบคือ แบบที่เคลื่อนไหวได้ และแบบที่อยู่กับที่ ดังนี้
แบบที่เคลื่อนไหวได้
- ลูกสูบ (Piston)
- ก้านสูบ (Connecting rod)
- เพลาข้อเหวี่ยง (Crank shaft)
- แหวนลูกสูบ (Piston rings)
- สลักลูกสูบ (Piston pins)
- ล้อช่วยแรง (Fly wheel)
- เพลาลูกเบี้ยว (Cam shaft)
- ลิ้น (Valve)
- ลูกกระทุ้งลิ้น (Valve tappet)
- สปริงลิ้น (Valve springs)
ดูเลย: บีเอ็มดับเบิลยู
แบบที่อยู่กับที่
- เสื้อสูบ (Cylinder block)
- ฝาสูบ (Cylinder head)
- กระบอกสูบ (Cylinder)
- ปะเก็นฝาสูบ (Cylinder head gasket)
- อ่างน้ำมันเครื่อง (Crank case)
- คาร์บูเรเตอร์ (Carburetor)
- หม้อกรองอากาศ (Air cleaner)
- ถังน้ำมันเชื้อเพลิง (Fuel tank)
- หัวเทียน (Spark plug)
ภายในเครื่องยนต์เบนซินมีส่วนประกอบมากมาย
หลักการทำงานของเครื่องยนต์เบนซิน 4 จังหวะ (4 Cycle Gasoline Engine)
1. จังหวะดูด (Suction Stroke)
เริ่มจากการที่ลูกสูบซึ่งอยู่ตำแหน่งบนสุดของกระบอกสูบ (ศูนย์ตายบน) ขยับลงมาจุดล่างสุดของกระบอกสูบ (ศูนย์ตายล่าง) ลิ้นไอดีจะเปิดแล้วดูด "ไอดี" (ส่วนผสมระหว่างน้ำมันเบนซินและอากาศในคาร์บูเรเตอร์) เข้ามาในกระบอกสูบ โดยมีวาล์วไอเสียปิดไว้ไม่ให้ไอดีออกจากกระบอกสูบ
2. จังหวะอัด (Compression Stroke)
ต่อเนื่องจากจังหวะดูด เมื่อกระบอกสูบลงมาถึงศูนย์ตายล่าง และในกระบอกสูบมีส่วนผสมไอดีมากที่สุดแล้ว วาล์วไอดีก็จะปิด จากนั้นลูกสูบก็จะเคลื่อนตัวสู่ศูนย์ตายบนอีกครั้ง เพื่ออัดให้ส่วนผสมไอดีควบแน่น
หลักการทำงานของเครื่องยนต์เบนซิน 4 จังหวะ
3. จังหวะระเบิด (Power stroke)
ก่อนลูกสูบจะเลื่อนถึงศูนย์ตายบน หัวเทียนจะทำการจุดประกายไฟให้ไอดีเกิดการลุกไหม้ จนเกิดการระเบิด แล้วแรงดันจากการระเบิดในกระบอกสูบจะเพิ่มขึ้น และผลักดันให้ลูกสูบกลับไปอยู่ศูนย์ตายล่าง
4. จังหวะคาย (Exhaust stroke)
หลังจากกระบอกสูบกลับไปอยู่ศูนย์ตายล่าง จังหวะที่ยกตัวขึ้นไปสู่ศูนย์ตายบนอีกครั้ง ลิ้นไอเสียจะทำการเปิดขึ้นมา แล้วดันไอเสียออกไปทางท่อไอเสีย และเมื่อลูกสูบถึงศูนย์ตายบน ก็จะเริ่มต้นจังหวะดูดใหม่อีกครั้งหนึ่ง
นอกจากนี้แล้ว เครื่องยนต์เบนซินรองรับได้ทั้งน้ำมันเบนซิน, น้ำมันแก๊สโซฮอล, แก๊ส และเอทานอล โดยจะทำการเผาไหม้เชื้อเพลิงเหล่านี้ให้เกิดพลังงาน เป็นตัวช่วยหนึ่งในการขับเคลื่อนเครื่องยนต์นั่นเอง
อ่านเพิ่มเติม
โปรโมชั่น ดูทั้งหมด
โปรโมชั่น Ford กันยายน 2565 ดีลเด็ดโดนใจ
โปรโมชั่น Ford กันยายน 2565 สิทธิพิเศษจากฟอร์ดสำหรับผู้ที่ต้องการซื้อรถแต่ยังไม่มีงบ พร้อมทั้งโปรโมชั่น Ford อื่น ๆ เช็กได้กันเลย
โปรโมชั่น Isuzu กันยายน 2565 ดีลเด็ดโดนใจ
โปรโมชั่น Isuzu กันยายน 2565 สิทธิพิเศษมากมายสำหรับลูกค้าอีซูซุที่ยกมาให้เลือกพิจารณากันทั้งค่าย เช็กโปรโมชั่น Isuzu ได้ที่นี่
โปรโมชัน Nissan กันยายน 2565 ดีลเด็ดโดนใจ
โปรโมชัน Nissan กันยายน 2565 สิทธิดี ๆ ส่วนลดสุดปัง สำหรับรถยนต์ผู้ที่สนใจรถยนต์นิสสัน เช็กรายละเอียดโปรโมชั่น Nissan ได้ที่นี่
โปรโมชัน Suzuki กันยายน 2565 ดีลเด็ดโดนใจ
โปรโมชัน Suzuki กันยายน 2565 และสิทธิประโยชน์อื่น ๆ อีกมากมายให้ที่ Suzuki นำมามอบให้แบบจัดเต็ม!