พารู้จักโซ่รถจักรยานยนต์ พร้อมวิธีดูแลรักษา
รู้จักโซ่รถจักรยานยนต์ว่ามีทั้งหมดกี่แบบ อะไรบ้าง พร้อมทั้งวิธีการดูแลโซ่รถจักรยานยนต์ให้มีความใช้อยู่เสมอ
พารู้จักโซ่รถจักรยานยนต์ พร้อมวิธีดูแลรักษา
โซ่รถจักรยานยนต์ (Motorcycle chain) หนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญของรถจักรยานยนต์ โดยหน้าที่ของโซ่รถจักรยานยนต์คือมีหน้าที่ส่งกำลังจากเครื่องยนต์ไปสู่วงล้อ
หากไม่ดูแลโซ่รถจักรยานยนต์ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอนั้น ระหว่างขับขี่อาจจะเกิดเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ไม่คาดฝันได้ ซึ่งมันอาจส่งผลร้ายแรงต่อรถของคุณเอง จนอาจถึงเสียของคุณเองก็ว่าได้
ดูเพิ่มเติม: น้ํามันเครื่องมอเตอร์ไซค์
โซ่รถจักรยานยนต์ มีกี่เบอร์ ?
- โซ่เบอร์ 428 ใช้สำหรับ "รถมอเตอร์ไซค์ทั่วไป/รถสปอร์ต 125 - 150 ซี.ซี."
- โซ่เบอร์ 520 ใช้สำหรับ "รถมอเตอร์ไซค์สปอร์ต 250-500 ซี.ซี."
- โซ่เบอร์ 525 ใช้สำหรับ "รถมอเตอร์ไซค์สปอร์ต/บิ๊กไบค์ 650-1000 ซี.ซี."
- โซ่เบอร์ 530 ใช้สำหรับ "รถมอเตอร์ไซค์คลาสสิคขนาดใหญ่/บิ๊กไบค์/ครุยเซอร์ไบค์ 900-1300 ซี.ซี."
(*แต่ละแบรนด์โซ่และแบรนด์รถจะมีค่าสเปกที่แตกต่างกัน)
หลักหมายเลข xxx หมายถึงอะไร ?
- เลขหลักเบอร์แรก 4XX หมายถึงจำนวนสลักที่ห่างกัน 4 หุน (4/8 นิ้ว) และอย่างเบอร์ 5XX ก็แทนระยะห่างสลักที่ 5 หุน (5/8 นิ้ว)
- ส่วนตัวเลขหลังของรหัสโซ่ "X20 X25 X30" คือเลขที่บ่งบอกระยะห่างของข้อประกบโซ่ด้านใน มีหน่วยเป็น หุน ยกตัวอย่างเช่น X20 คือมีระยะห่างของข้อประกบโซ่ด้านในอยู่ที่ 2.0 หุน (2.0/8 นิ้ว) และ X25 คือมีระยะห่างของข้อประกบโซ่ด้านในอยู่ที่ 2.5 หุน (2.5/8 นิ้ว)
เมื่อนำโซ่รถจักรยานยนต์แต่ละเบอร์มาเทียบกัน จะพบว่าโซ่เบอร์ 428 จะมีระยะห่างสลักน้อยกว่า และขนาดความหนาของข้อประกบโซ่น้อยกว่าโซ่เบอร์อื่น ๆ โดยโซ่เบอร์ 520, 525 และ 530 จะมีระยะห่างสลักเท่ากัน แต่ระยะห่างระหว่างแผ่นประกบด้านในจะเพิ่มขึ้นตามลำดับ ซึ่งหมายเลขเบอร์โซ่จะมีลักษณะการใช้งานแตกต่างกันออกไป ตามแต่ละประเภท และกำลังเครื่องยนต์ของรถ
เมื่อโซ่คือหัวใจสำคัญอย่างหนึ่งของรถจักรยานยนต์ ก็จำเป็นต้องบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพที่ดี ซึ่งจำเป็นต้องดูแลรักษาและทําความสะอาดโซ่ โดยมีขั้นตอนวิธีการดังต่อไปนี้
1. น้ำยาทำความสะอาด ก่อนที่จะบำรุงรักษาโซ่รถจักรยานยนต์นั้น จำเป็นต้องทำความสะอาดโซ่เสียก่อน โดยมีเหตุผลที่เพื่อซักล้างสิ่งสกปรกที่ติดอยู่ที่โซ่ออกให้หมด ซึ่งจำเป็นต้องใช้น้ำยาทำความสะอาดใช้การล้าง
น้ำยาอเนกประสงค์
จากรูปคือน้ำยาทำความสะอาดแบบอเนกประสงค์ ซึ่งถูกบรรจุอยู่ในขวดสเปรย์พร้อมใช้งานได้อย่างง่ายได้ ทั้งนี้น้ำยาอเนกประสงค์จะมีราคาอยู่ราว ๆ 100 - 200 บาท นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทั้งน้ำมันก๊าดและน้ำมันดีเซลในการทำความสะอาดโซ่รถจักรยานยนต์ได้เหมือนกัน และยังมีราคาที่ย่อมเยากว่า แต่จะยุ่งยากกว่าในตอนใช้งาน เนื่องจากต้องหาอุปกรณ์มาใส่เพื่อฉีดพ่นไปที่โซ่รถ
น้ำมันก๊าด / น้ำมันดีเซล
2. แปรงขัดโซ่ ในเมื่อเรามีน้ำยาทำความสะอาดโซ่รถจักรยานยนต์แล้ว สิ่งต่อมาที่จำเป็นในการทำความสะอาดก็คือแปรงขัดโซ่ ซึ่งสามารถเลือกใช้ได้ตั้งแต่เป็นแปรงสีฟัน แปรงทาสี จนกระทั่งแปรงที่ถูกออกแบบมาเพื่อขัดล้างโซ่รถโดยเฉพาะ
3. น้ำยาหล่อลื่นโซ่ เมื่อเราทำการขัดล้างโซ่รถจักรยานยนต์เพื่อชำระสิ่งสกปรกที่โซ่เสร็จแล้ว ก็จำเป็นต้องบำรุงโซ่ด้วยการใช้น้ำยาหล่อลื่นโซ่ ซึ่งส่วนใหญ่นิยมใช้จาระบีหล่อลื่นในการบำรุงรักษาโซ่
จาระบีหล่อลื่น
4. น้ำยาเคลือบโซ่ ขั้นตอนสุดท้ายของการบำรุงรักษาโซ่รถจักรยานยนต์ก็ว่าได้ โดยน้ำยาเคลือบโซ่ใช้เพื่อสร้างแรงยึดน้ำยาหล่อลื่นให้ติดอยู่กับโซ่ ไม่กระเด็นหลุดไปตามแรงเหวี่ยงของโซ่ตามการใช้งาน ทั้งนี้น้ำยาเคลือบโซ่ที่นิยมจะเป็นจาระบีขาว ซึ่งมีราคาที่ย่อมเยา พร้อมระยะการใช้งานประมาณ 500 กิโลเมตร
จาระบีขาว
เมื่อเรามีอุปกรณ์ในการดูแลรักษาโซ่รถจักรยานยนต์พร้อมแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนและวิธีการทำความสะอาด โดยเริ่มจากขึ้นตอนแรกไปจนขั้นตอนสุดท้าย ได้แก่
- ยกล้อหลังรถให้ลอย โดยใช้ขาตั้งคู่ / สแตนยกรถ การยกล้อรถให้ลอยช่วยให้การหมุนล้อเพื่อให้โซ่เคลื่อนที่ได้ง่ายขึ้น เพื่อสะดวกต่อการทำความสะอาด
- ฉีดน้ำยาทำความสะอาดให้ทั่วโซ่รถจักรยานยนต์ โดยเน้นยำตรงจุดที่สกปรกมาก ๆ หลังจากนั้นก็ใช้แปรงขัดโซ่ทำการขัดให้สะอาด และก็ล้างด้วยน้ำเปล่า
- เช็ดโซ่ให้แห้งด้วยผ้า
- ใช้น้ำยาหล่อลื่นโซ่ฉีดไปให้ทั่วโซ่รถจักรยานยนต์
- ขั้นตอนสุดท้ายใช้น้ำยาเคลือบโซ่รถจักรยานยนต์เพื่อสร้างแรงยึดให้กับน้ำยาหล่อลื่นโซ่
เพียงแค่ 5 ขั้นตอนง่าย ๆ ของการดูแลโซ่รถจักรยานยนต์ ก็จะทำให้โซ่รถจักรยานยนต์พร้อมใช้งานอยู่เสมอ นอกจากนี้ยังให้ผู้ขับขี่มั่นใจในประสิทธิภาพของโซ่รถจักรยานยนต์ในช่วงเวลาการขับขี่อีกด้วย
ดูเพิ่มเติม