ก่อนที่จะนำรถเข้า “รีไฟแนนซ์” อยากจะให้คิดก่อนเสมอว่าการดำเนินการรีไฟแนนซ์นั้นไม่ใช่ว่าจะมีผลดีเพียงอย่างเดียว ดังนั้น เป็นหน้าที่ของผู้ที่คิดจะนำรถไปรีไฟแนนซ์ ที่จะต้องศึกษาและวางแผนให้ดีเสียก่อน โดยเฉพาะการเปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย ตลอดจนความคุ้มค่าที่จะดำเนินการ ซึ่งแอดมินก็มีทริคง่ายๆ ก่อนที่จะพาไปทำความรู้จักกับขั้นตอนเสียก่อน ว่าต้องทำอย่างไรบ้าง
ทริคที่ว่านี้ก็คือ “การสำรวจตัวเอง” ก่อนการรีไฟแนนซ์นั่นเอง
สำรวจตัวเองก่อนตัดสินใจรีไฟแนนซ์รถยนต์
1) รถที่ใช้อยู่ยังติดไฟแนนซ์ แต่ก็อยากมีเงินสักก้อนมาหมุนเวียนและใช้สอยก่อน ป้องกันการช็อตของเงินในกระเป๋า
2) ดอกเบี้ยของไฟแนนซ์นั้นถือว่าสูงอยู่ ผ่อนเท่าไหร่ก็คงไม่พอ และอาจจะส่งผลให้เกิดปัญหาด้านการเงินตามมา
3) อยากให้มีหนี้สินเพียงก้อนเดียว แต่ดอกเบี้ยต่ำลง สามารถหมุนเงินได้ทันโดยไม่ต้องโดนยึดทรัพย์หากผ่อนไม่ได้ตามกำหนด
4) บริษัทใหม่ให้ดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า สามารถเอื้อประโยชน์ให้ตนเองได้ ที่สำคัญคุ้มค่ากับการดำเนินการ ถึงแม้อาจจะมีค่าใช้จ่ายในส่วนอื่นตามมา
หลังจากที่สำรวจตัวเองแล้วจนตัดสินใจเป็นอย่างดีแล้วว่า ยังไงก็จะต้องนำรถไป “รีไฟแนนซ์” อย่างแน่นอน ทางเราก็มีเคล็ดลับขั้นตอนง่ายๆ ฉบับมือใหม่หัดผ่อนได้ศึกษาเช่นเดียวกัน
ขั่นตอนการรีไฟแนนซ์รถยนต์
สำหรับขั้นตอนของการรีไฟแนนซ์หลักๆมีอยู่ไม่กี่ขั้นตอน แต่วันนี้เราจะมาลงรายละเอียดที่ลึกกว่าเดิม ว่าหากจะรีไฟแนนซ์แล้ว ต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง เพื่อไม่ให้เสียเวลาแถมเสียเงินโดยเปล่าประโยชน์นั่นเอง
1) ก่อนอื่นต้องคำนวณก่อนว่าหาจะปิดสินเชื่อเดิมเพื่อนำรถไปขอสินเชื่อใหม่กับสถาบันการเงินใหม่ หรือรีไฟแนนซ์นั้น อัตราของดอกเบี้ยคงเหลือตามสัญญาเมื่อนำมาหักส่วนต่างกับดอกเบี้ยที่จะเกิดขึ้นกับการกู้สินเชื่อครั้งใหม่นั้น มีความคุ้มค่าหรือไม่ ถ้าพิจารณาแล้วว่าคุ้มค่าแน่นอน ก็ถือเป็นเหตุผลชั้นดีที่จะตัดสินใจรีไฟแนนซ์ แต่ถ้าหากว่ามันอาจจะไม่คุ้มสักเท่าไหร่ เพราะต้องมีค่าดำเนินการต่างๆตามมา ก็ให้ไปติดต่อกับสถาบันการเงินที่นำรถไปเข้าไฟแนนซ์ก่อนว่า เราอยากจะลดอัตราดอกเบี้ยและต้องการย้ายสถาบันการเงินไปยังสถาบันใหม่ ซึ่งทริคนี้นี่แหละที่มันจะทำให้สถาบันการเงินยื่นข้อเสนอการลดอัตราดอกเบี้ยมาให้ เพื่อความคงอยู่ของลูกค้าของตนนั่นเอง
2) ศึกษารายละเอียดรถของตนเอง ว่าสามารถนำมารีไฟแนนซ์ได้หรือไม่ และประเมินราคากลางว่าอยู่ที่เท่าไหร่
3) เมื่อมั่นใจแล้วว่า อย่างไรก็ตามรถของตนเองสามารถนำไปรีไฟแนนซ์ได้อย่างแน่นอน และจะดำเนินการรีไฟแนนซ์แน่ๆ ก็ให้สำรวจก่อนว่าในอนาคตจะสามารถวางแผนในการผ่อนชำระได้หรือไม่ โดยทางเราก็มีสูตรง่ายๆให้คำนวณว่า เมื่อจะรีไฟแนนซ์แล้วความคุ้มค่าเหมาะสมที่จะดำเนินการหรือไม่ และเบ็ดเสร็จแล้วจะมีหนี้ทั้งหมดเท่าไหร่ ต้องจ่ายเดือนละกี่บาท
สูตรในการคำนวณเมื่อคิดจะรีไฟแนนซ์รถยนต์
ซึ่งสูตรในการคำนวณนี้ถือเป็นมาตรฐานเดียวกันที่คนจะนำรถไปรีไฟแนนซ์ต้องคิดก่อนเสมอ ถึงแม้อาจจะมีค่าใช้จ่ายอย่างอื่นเพิ่มมาจากสูตรนี้บ้าง แต่อย่างน้อยนี่ก็ถือเป็นแนวทางในการคำนวณก่อนตัดสินใจได้เป็นอย่างดี
4) ติดต่อกับธนาคารต่างๆที่ต้องการจะนำรถไปรีไฟแนนซ์ เพื่อตัดสินใจว่า หากรีไฟแนนซ์กับสถาบันการเงินใดแล้วจะเกิดความคุ้มค่ามากที่สุด และก็นำข้อมูลนั้นๆมาคิดตามสูตรที่กล่าวไปในข้างต้น เพื่อเปรียบเทียบกันว่าควรดำเนินการกับธนาคารใด
5) เตรียมเอกสารให้ครบก่อนส่งให้กับสถาบันการเงิน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับเครดิตบูโรและเป็นการช่วยให้การอนุมัตินั้นผ่านไปได้ด้วยดี
ความแตกต่างของการประกอบอาชีพย่อมส่งผลต่อการทำเอกสารเพื่อรีไฟแนนซ์
ซึ่งเอกสารพื้นฐานในการทำรีไฟแนนซ์ หลักๆก็จะต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน บุ๊คแบงก์ย้อนหลังล่าสุดในรอบ 6 เดือน โดยเป็นเอกสารที่ห้ามขาดเลยแม้แต่อย่างเดียว แต่นอกจากนี้เอกสารอื่นๆที่ต้องมีเพิ่มเติมนั้นก็อาจจะต้องใช้ร่วมด้วยเช่นเดียวกัน โดยแบ่งเป็น 2 หมวดย่อย ตามลักษณะการประกอบอาชีพของคนในปัจจุบัน
- พนักงานประจำ อาจจะต้องเพิ่มในส่วนของ สลิปเงินเดือน 3 เดือนล่าสุด, เอกสารรับรองเงินเดือน, บัตรประจำตัวพนักงาน, บัตรประกันสังคม, ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ และ รูปถ่ายของที่พักอาศัย
- เจ้าของกิจการ อาจจะต้องเพิ่มในส่วนอง ใบพาณิชย์ หรือ ใบจดนิติบุคคล, หนังสือรับรองบริษัท, ใบ ภ.พ. 20, ใบสั่งซื้อ สั่งขาย, สัญญาว่าจ้าง, สัญญาเช่า, ใบทวิ50, รูปถ่ายกิจการ, รูปถ่ายที่พักอาศัย เป็นต้น
- อาชีพอิสระ รับเงินสด อาจจะต้องเพิ่มในส่วนของ ทวิ50, สัญญาว่าจ้าง, เอกสารรับรองรายได้, ผลงานที่ทำในอาชีพ และรูปถ่ายที่พักอาศัย
- พ่อค้าแม่ค้าแผงลอย หรือขายออนไลน์ อาจจะต้องเพิ่มในส่วนของ รูปถ่ายร้านค้าหรือหน้าร้าน, รูปสต๊อกสินค้าในกรณีที่ขายออนไลน์, ใบเสร็จซื้อสินค้า ซื้อวัตถุดิบ, และ รูปถ่ายที่พักอาศัย
6) เมื่อทราบผลการอนุมัติแล้ว จะสามารถทำการปิดบัญชีและรับเงินส่วนที่เหลือจากสถาบันการเงินได้ในทันที โดยไม่ต้องรอเล่มออกมาจากไฟแนนซ์เดิม
7) หลังจากที่ได้รับเล่มแล้ว จะต้องส่งให้กับสถาบันการเงินใหม่ เพื่อดำเนินการขั้นตอนต่อไป จากนั้นสถาบันการเงินจะติดต่อเพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับการผ่อนชำระ
8) เมื่อเสร็จสิ้นทุกขั้นตอนแล้ว สิ่งที่สำคัญคือ “ห้ามลืมชำระเงิน” โดยเด็ดขาด !!!
เมื่อได้รับการอนุมัติแล้วห้ามลืม "ชำระหนี้" โดยเด็ดขาด !!
ถึงแม้การรีไฟแนนซ์อาจจะมีขั้นตอนและกระบวนการอยู่บ้าง แต่หลักๆแล้วก็เป็นเพราะว่าขั้นตอนทุกอย่างล้วนแล้วแต่มีผลทางกฎหมายด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งก็จะให้ความเป็นธรรมกับผู้กู้และสถาบันการเงิน อย่างไรก็ตาม การรีไฟแนนซ์ที่ดี จะต้องคำนึงก่อนเสมอถึงความคุ้มค่าในการรีไฟแนนซ์ และที่จะขาดไม่ได้ก็คือ “ห้ามเบี้ยวชำระเงิน” โดยเด็ดขาด เพราะไม่อย่างนั้นอาจจะต้องเจอกับปัญญาอื่นๆตามมา ซึ่งเราจะมาพูดกันในบทความหน้า
อ่านเพิ่มเติม: