09:05, 13 มิ.ย. 2561

แจ้งเตือน!!! ติดกล้องเลนเชนจ์ 15 จุด เบียด – ปาด คอสะพาน – ลงอุโมงค์ หนียาก แจกใบสั่ง ปรับ ไม่มีข้อยกเว้น

บันทึกรายการ

ขอเตือนว่าครั้งนี้กองบังคับการตำรวจราจรเอาจริง ติดจริง จับจริง แจกใบสั่งจริง และปรับจริง โดยดูจากรายงานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมามีผู้ฝ่าฝืนและกระทำความผิดโดยประมาณมากถึงวันละ 1,000 – 1,500 ราย / วัน


แจ้งเตือน!!! ติดกล้องเลนเชนจ์ 15 จุด เบียด – ปาด คอสะพาน – ลงอุโมงค์  หนียาก  แจกใบสั่ง ปรับ ไม่มีข้อยกเว้น

ขาซิ่ง รถแรง รถเร็ว ใจร้อน หัวร้อน ฟังให้ดีระวังให้มาก  เพราะตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมานี้  กองบังคับการตำรวจราจรติดตั้งกล้องเลนเชนจ์  ทั่วกรุงเทพฯ มากถึง 15 จุด  บริเวณคอสะพานข้ามแยกและทางลงอุโมงค์  แจ้งเตือนกันไว้เผื่อใครยังไม่รู้ หรือรู้แล้วแต่ลืม หรือทำเป็นลืม คิดว่าคงไม่เป็นอะไรกล้องเลนเชนจ์ที่ทางกองบังคับการตำรวจราจรนำมาติดตั้งนั้นอาจจะเป็นกล้องหลอกลวงติดไว้เพียงแต่กันสาดเท่านั้นตัวกล้องจริงๆ ไม่มี แต่ขอเตือนว่าครั้งนี้กองบังคับการตำรวจราจรเอาจริง ติดจริง จับจริง แจกใบสั่งจริง และปรับจริง โดยดูจากรายงานตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมามีผู้ฝ่าฝืนและกระทำความผิดโดยประมาณมากถึงวันละ 1,000 – 1,500 ราย / วัน ซึ่งก็ถือว่าไม่น้อยเลยทีเดียว

ซึ่งบริเวณคอสะพานข้ามแยกและทางลงอุโมงค์  ที่ติดตั้งกล้องเลนเชนจ์  15 จุด  จะมีป้ายแจ้งเตือนก่อนที่จะถึงบริเวณที่มีกล้องเลนเชนจ์ติดตั้งอยู่ ถ้าผู้ขับขี่มีความระมัดระวังและเกรงกลัวต่อกฎหมายก็ให้ลองสังเกตป้ายข้างทางสักนิดเมื่อใกล้จะถึงบริเวณคอสะพานข้ามแยกและทางลงอุโมงค์ อย่าเบียด อย่าปาด แซงบริเวณเส้นทึบเพื่อจะแย่งขึ้นสะพานหรือลงอุโมงค์ ซึ่งส่วนมากผู้ขับขี่ที่มีนิสัยแบบนี้มักจะเป็นพวกใจร้อน รอไม่ได้ มักง่ายเมื่อใกล้จะถึงอุโมงค์หรือคอสะพานมีรถมากติดยาวนิดหน่อยก็ขับไปในเลนที่ไม่ได้ลงอุโมงค์หรือขึ้นสะพานไม่ได้ต่อคิว แต่จะไปเบียดหรือปาดรถคันข้างหน้าเมื่อใกล้จะลงอุโมงค์หรือขึ้นสะพานแบบกระชั้นชิดกะทันหัน จนทำให้รถคันข้างหลังต้องเบรกแบบกะทันหันและเสียจังหวะในการขับขี่ถ้าควบคุมรถได้ก็ดีไป แต่ถ้าเสียจังหวะจนเสียการควบคุมรถก็อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้

ไฟเบรกท้ายรถกระพริบเปลี่ยนสี ไฟเลี้ยวสีฟ้า ถึงจะสวย แต่ผิดกฎหมาย ถูกปรับ 1,000 บาท

แต่งรถด้ายไฟหลากสี รู้ไหมว่าถูกปรับแน่นอน

ซึ่งจุดที่กองบังคับการตำรวจราจรติดตั้งกล้องเลนเชนจ์  ทั่วกรุงเทพฯ ทั้ง 15 จุด  มีดังนี้

1.สะพานข้ามแยกบางเขน ถนนงามวงศ์วาน  ขาเข้ากรุงเทพมหานคร

2.สะพานข้ามแยกศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ ขาออก ไปทาง อ.ปากเกร็ด   จ.นนทบุรี

3.ทางลอดแยกห้วยขวาง ถนนรัชดาภิเษก ขาเข้า

4.สะพานข้ามแยกบรมราชชนนี ถนนบรมราชชนนี ขาออก

5.สะพานข้ามแยกวงเวียนบางเขน ถนนแจ้งวัฒนะขาเข้า

6.สะพานข้ามแยกราชเทวี ถนนราชเทวี ขาเข้า

7.แยกสามเหลี่ยมดินแดง ถนนราชเทวี ขาเข้า

8.สะพานข้ามแยกประชานุกุล ถนนรัชดาภิเษก ขาออก

9.สะพานศิริราชด้านอรุณอัมรินทร์ ถนนอรุณอัมรินทร์ ขาออก

10.สะพานข้ามแยกรัชดา-ลาดพร้าว ถนนลาดพร้าว ขาเข้า

11.สะพานข้ามแยกรัชดา-ลาดพร้าว ถนนลาดพร้าว ขาออก

12.สะพานข้ามแยกวงศ์สว่าง ถนนรัชดาภิเษก ขาออก

13.สะพานข้ามแยกพระราม 4 ถนนรัชดาภิเษก ขาออก

14.สะพานพุทธ ถนนประชาธิปก ขาเข้า

15.สะพานข้ามแยกกำนันแม้น ถนนกัลปพฤกษ์ ขาออก


แต่ละจุดจะมีกล้องทั้งหมด 4 ตัว 

โดยที่ในแต่ละจุดจะมีป้ายเตือนสะติผู้ขับขี่ว่าให้ขับขี่แบบมีน้ำใจและให้ปฏิบัติตามกฎหมาย มากถึงจุดละ 3 ระยะ คือ 100 เมตร, 50 เมตร และ 30 เมตร ซึ่งในแต่ละจุดจะมีกล้องทั้งหมด 4  ตัว บันทึกภาพตลอด  24 ชั่วโมง  โดยจะจับภาพ 3 ระยะ  คือ ระยะก่อนเปลี่ยนช่องทางเดินรถ  ระยะเปลี่ยนช่องทางเดินรถ  และระยะหลังเปลี่ยนช่องทางเดินรถ ซึ่งกล้องเลนเชนจ์นี้มีความคมชัดและละเอียด 2 ล้านเมกกะพิกเซลล์ สามารถบันทึกข้อมูลได้ไม่น้อยกว่า 1 ปี  โดยที่กล้องจะบันทึกทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวผ่านระบบ ATS (Automated Ticketing System)  จากนั้นก็จะส่งข้อมูลไปยังศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร (บก.02) เพื่อตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ให้ถูกต้องครบถ้วน ไม่ว่าจะเป็น ทะเบียนรถ, ยี่ห้อ, รุ่น, สี และเมื่อได้ข้อมูลถูกต้องครบถ้วนแล้วก็จะดำเนินการออกใบสั่งส่งไปยังเจ้าของรถภายใน 7 วัน  โดยจะมีโทษปรับตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก มาตรา 21 ประกอบมาตรา 152 มีอัตราโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท  แต่ในเบื้องต้นจะทำการเปรียบเทียบปรับไม่เกิน 500 บาท ส่วนการเสียค่าปรับนั้นสามารถเสียค่าปรับโดยชำระผ่านทางธนาคารกรุงไทย ไปรษณีย์หรือตู้เอทีเอ็มที่มีสัญลักษณ์ PTM ติดอยู่ หรือจ่ายผ่านบริการ KTB netBank  หรือตามสถานที่ที่ระบุไว้ในใบสั่ง

เมื่อรู้แบบนี้แล้วก็อย่าปาด อย่าเบียด ในช่วงคอสะพานและทางลงอุโมงค์ เพราะพฤติกรรมแบบนี้เป็นพฤติกรรมของคนที่เห็นแก่ตัวไม่มีความเป็นระเบียบและไม่มีความเห็นอกเห็นใจเพื่อนร่วมทางบนท้องถนน และอาจจะทำให้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดตามมาภายหลัง เกิดการด่าทอต่อว่ากัน เกิดอุบัติเหตุ และต่อจากนี้ไปจะไม่ได้มีเพียงแค่การเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุและเสี่ยงต่อการถูกถามหาบุพการีแล้ว แต่จะมีกระดาษใบน้อยจากคุณตำรวจร่อนมาถึงหน้าบ้านและต้องไปจ่ายเงินเข้าเป็นรายได้ของแผ่นดินโดยไม่รู้ตัว ซึ่งเงิน 500 – 1,000 บาท ก็ถือว่าไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะฉะนั้นถ้าไม่อยากต้องเสียเงินค่าปรับโดยใช่เหตุก็อย่าปาด อย่าเบียด ช่วงคอสะพาน – ลงอุโมงค์  โดยเด็ดขาด

ดูเพิ่มเติม:

ถูกปรับแน่! ถ้าเปลี่ยนสีรถใหม่ แล้วไม่แจ้งกรมขนส่งฯ

ท่อไอเสียไม่มี มอก. ผิดไหม และดังแค่ไหนถึงผิดกฎหมาย ???

น้ำเพชร

ในหมวดเดียวกัน