15:41, 21 พ.ย. 2561

ฮอนด้า CR-V คว้า 2 รางวัลจาก ASEAN NCAP Grand Prix Awards 2018 ตอกย้ำยนตรกรรมคุณภาพ

บันทึกรายการ

บริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด เผย ฮอนด้า ซีอาร์-วี เจเนอเรชั่นที่ 5 คว้า 2 รางวัลยอดเยี่ยมมาตรฐานความปลอดภัยระดับ 5 ดาว จาก อาเซียน เอ็นแคป กรังด์ปรีซ์ อวอร์ด 2018 (ASEAN New Car Assessment Program Grand Prix Awards 2018) ในประเภท Best SUV Car in Child Occupant Protection (COP) และ รางวัลอาเซียน เอ็นแคป ยอดเยี่ยม - การรักษามาตรฐานความปลอดภัยระดับ 5 ดาวต่อเนื่อง ASEAN NCAP Excellent Award - Consistent 5 star ตอกย้ำคุณภาพของรถยนต์ฮอนด้า

โดย Honda CR-V ที่นำมาใช้ในการทดสอบเป็นรุ่นเครื่องยนต์เบนซินขนาด 2.4 ลิตร* ที่ผลิตและจำหน่ายในประเทศไทย ซึ่งมาพร้อมมาตรฐานความปลอดภัยระดับพรีเมียม อาทิ ระบบแสดงภาพมุมอับสายตาขณะเปลี่ยนเลน (Honda LaneWatch) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับรางวัลจาก ASEAN NCAP Grand Prix ในหมวดเทคโนโลยีด้านความปลอดภัย (Safety Technology Award) เมื่อปี พ.ศ. 2557 ระบบช่วยเตือนความเหนื่อยล้าขณะขับขี่ (Driver Attention Monitor) และระบบเพิ่มความคล่องตัวในการขับขี่ (Agile Handling Assist - AHA) เป็นต้น

Honda CRV รถยนต์ที่ได้รับรางวัลมาตรฐานจาก ASEAN NCAP 

อีกทั้งมาตรฐานความปลอดภัยที่ครบครันในทุกรุ่น อาทิ ถุงลม 6 ตำแหน่ง ได้แก่ ถุงลมคู่หน้า (Dual SRS) ถุงลมด้านข้างคู่หน้าแบบอัจฉริยะ (i-Side Airbag) และม่านถุงลมด้านข้าง (Side Curtain Airbags) ระบบเบรกมือไฟฟ้า (Electric Parking Brake - EPB) ระบบ Auto Brake Hold (Automatic Brake Hold) ระบบล็อกรถอัตโนมัติเมื่อกุญแจรีโมทอยู่ห่างจากตัวรถ (Walk Away Auto Lock) ระบบช่วยควบคุมการทรงตัวขณะเข้าโค้ง (Vehicle Stability Assist – VSA) ระบบช่วยการออกตัวขณะอยู่บนทางลาดชัน (Hill Start Assist – HSA) สัญญาณไฟฉุกเฉินอัตโนมัติขณะเบรกกะทันหัน (Emergency Stop Signal: ESS) และกล้องส่องภาพด้านหลังปรับมุมมอง 3 ระดับ (Multi-angle Rearview Camera) เป็นต้น

อ่านเพิ่มเติม:


ระบบเบรค AHA มาตรฐานความปลอดภัยจากรถยนต์ Honda CRV 

ที่สำคัญ ฮอนด้า ซีอาร์-วี ทั้งเจเนอเรชั่นที่ 5 และเจเนอเรชั่นที่ 4 ซึ่งเป็นเจเนอเรชั่นก่อนหน้า ผ่านการทดสอบการรับรองมาตรฐานความปลอดภัยระดับ 5 ดาว ทั้ง 2 เจเนอเรชั่น ส่งผลให้สามารถคว้า รางวัลอาเซียน เอ็นแคป  ยอดเยี่ยม - การรักษามาตรฐานความปลอดภัยระดับ 5 ดาวต่อเนื่อง (ASEAN NCAP Excellent Award - Consistent 5 Star) ได้อีกด้วย ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงมาตรฐานความปลอดภัยที่เหนือระดับ อีกทั้งการรักษามาตรฐานการพัฒนายนตรกรรมอย่างต่อเนื่อง


Honda CRV  รถยนต์ที่รักษามาตรฐานความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง การันตีโดย ASEAN NCAP

นอกจากนี้ ฮอนด้า ซีอาร์-วี ยังตอกย้ำความเป็นผู้นำในตลาดรถเอสยูวีของประเทศไทย ด้วยรางวัลจากหลากหลายสถาบัน อาทิ รางวัล Thailand Car of The Year 2017 จัดโดยสมาคมผู้สื่อข่าวรถยนต์และรถจักรยานยนต์ไทย และ รางวัล Car of The Year 2018 จัดโดยบริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) และ รางวัล BIG Best Car of the Year 2017 - 2018 ดีเด่น ยอดเยี่ยม Compact Crossover SUV แรงและประหยัดที่สุด จัดโดยบริษัท ยานยนต์ สแควร์ กรุ๊ป จำกัด เป็นต้น พร้อมด้วยรางวัลต่างๆ จากหลายประเทศในอาเซียน อาทิ รางวัลรถยอดเยี่ยมของประเทศฟิลิปปินส์ ประจำปี 2560 จาก CAGI (Car Awards Group, Inc.) รางวัลรถยอดเยี่ยมของประเทศอินโดนีเซีย ประจำปี 2560 จาก FORWOT และรางวัลรถยอดเยี่ยมของประเทศมาเลเซีย ประจำปี 2560 จาก Carlist 

จากความสำเร็จดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงพันธสัญญาและความมุ่งมั่นของฮอนด้า ในการสร้างสรรค์ยนตรกรรมที่เปี่ยมไปด้วยคุณภาพ ครบครันด้วยเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยอันล้ำสมัย ซึ่งคำนึงถึงความปลอดภัยสูงสุดทั้งผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร รวมถึงผู้ใช้รถใช้ถนน อันจะนำไปสู่สังคมปลอดอุบัติเหตุ (Collision Free Society) ให้เกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของฮอนด้าปี 2030

เกี่ยวกับ ASEAN NCAP

การทดสอบการชนเพื่อทดสอบสมรรถนะด้านความปลอดภัยของรถยนต์ของ ASEAN NCAP (ASEAN New Car Assessment Program) จัดขึ้นโดยสถาบันวิจัยความปลอดภัยบนท้องถนนของมาเลเซีย (The Malaysian Institute of Road Safety Research: MIROS) กระทรวงคมนาคม โดยนับตั้งแต่ปี 2554 สถาบันวิจัยความปลอดภัยบนท้องถนนของมาเลเซีย ได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือกับ Global NCAP ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไรในสหราชอาณาจักร เพื่อมุ่งส่งเสริมมาตรฐานความปลอดภัยบนท้องถนน กระตุ้นให้เกิดการรับรู้และเห็นถึงความสำคัญของการขับขี่ปลอดภัย รวมถึงสนับสนุนการผลิตรถยนต์ที่มีเทคโนโลยี ความปลอดภัยเพิ่มสูงขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ประชาคมอาเซียน)

การทดสอบการชนของ ASEAN NCAP เป็นการทดสอบการชนทางด้านหน้า ซึ่งรถยนต์ที่เข้าร่วมทดสอบจะพุ่งชนสิ่งกีดขวางซึ่งทำด้วยอลูมิเนียมที่ความเร็ว 64 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยใช้หุ่นทดสอบขนาดผู้ใหญ่ 2 ตัว นั่งอยู่ด้านหน้า และหุ่นทดสอบขนาดเด็กจำลองอายุ 3 ปี และ 18 เดือน อย่างละ 1 ตัว นั่งอยู่ในที่นั่งสำหรับเด็กทางด้านหลัง และบันทึกผลการทดสอบด้วยระบบเซนเซอร์ซึ่งติดตั้งอยู่ที่ตัวหุ่นทดสอบและที่รถยนต์ จากนั้นจึงเทียบผลที่ได้กับระดับความปลอดภัยของ NCAP

ดูเพิ่มเติม:

Palist

ในหมวดเดียวกัน