เมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2564 รองนายกรัฐมนตรี กระทรวงพลังงาน กระทรวงอุตสาหกรรม และผู้บริหารระดับสูงของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ (บอร์ด อีวี) กำหนดทิศทางส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้า (EV) แทนการใช้รถยนต์สันดาป เพื่อให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Society) และเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า รวมถึงชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก
'บอร์ด อีวี' ร่วมกำหนดทิศทางส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้า แทนการใช้รถยนต์สันดาป
เนื่องจากทั่วโลกกำลังตระหนักถึงผลกระทบที่เกิดจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO₂) สู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดก๊าซเรือนกระจก ทำให้หลายประเทศทั่วโลกประกาศเป้าหมายชัดเจนว่าจะลดการปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ และงดการใช้รถยนต์สันดาป ประเทศไทยจึงได้วางเป้าหมายส่งเสริมการผลิตและการใช้รถยนต์ไฟฟ้า (อีวี) เพื่อลดการปล่อย CO₂ เข้าสู่ชั้นบรรยากาศ โดยคาดว่าปี 2568 รถยนต์ไฟฟ้าจะมีราคาเทียบเท่ารถยนต์สันดาป
ทั้งนี้ เพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก จึงได้มอบหมายให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าประกอบด้วย รถยนต์ จักรยานยนต์ และรถบัสสาธารณะ และเตรียมความพร้อมในส่วนของอุปทาน (ผู้ผลิต) รวมถึงผลักดันผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ โดยมีเป้าหมายการใช้ยานยนต์ไฟฟ้ารวมทุกประเภทในปี 2568 รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,055,000 คัน แบ่งเป็น
ในปี 2578 ให้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนรวม 15,580,000 คัน แบ่งเป็น
ทั้งยังได้วางเป้าหมายการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศในปี 2568 จะมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,051,000 คัน แบ่งเป็น
ในปี 2578 ให้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนรวม 18,413,000 คัน แบ่งเป็น
ตั้งเป้าปี 2578 ต้องมียอดการผลิตรถยนต์ไฟฟ้ารวม 18,413,000 คัน
นอกจากนี้ ยังได้ใช้มาตรการระยะเร่งด่วนและมาตรการระยะ 1-5 ปี ขับเคลื่อนอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า โดยวางมาตรการกระตุ้นการใช้รถ EV ระยะเร่งด่วน มุ่งส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้าทุกประเภท พร้อมวางแผนจัดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า รวมทั้งส่งเสริมการจัดตั้งศูนย์ทดสอบมาตรฐานแบตเตอรี่ และการบริหารจัดการซากแบตเตอรี่ที่เกิดจากการใช้งานภายในประเทศอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
สำหรับมาตรการกระตุ้นระยะ 1-5 ปี จะดำเนินการส่งเสริมการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิต การเตรียมการด้านการบริหารจัดการซากรถยนต์และแบตเตอรี่ที่ใช้แล้ว โดยคำนึงถึงความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมเป็นหลัก ตามมาตรฐานสากล (EcoSystem) เพื่อส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าพลังงานสะอาด
พร้อมกันนี้ ยังได้พิจารณาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการภายใต้คณะกรรมการนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติขึ้น ได้แก่
เพื่อให้นโยบายดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล รวมทั้งเกิดการบูรณาการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทยให้เป็นรูปธรรมและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ซึ่งจะเป็นความร่วมมือกันในการเดินหน้านโยบายส่งเสริมรถยนต์ไฟฟ้าอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทาง และนำพาประเทศก้าวสู่การเป็นฐานการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าและชิ้นส่วนที่สำคัญของโลก
ลดการใช้รถยนต์สันดาป ต้นเหตุของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
อ่านเพิ่มเติม >>