ทำความรู้จักกับค่าเสียหายส่วนแรก
เป็นคำถามที่น่าสนใจกับคำพูดที่กล่าวว่า “ค่าเสียหายส่วนแรกคืออะไร” เนื่องจากผู้ประสบเหตุทางรถยนต์หลายรายมักออกมาพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าหากรถชน หรือ ได้รับอุบัติเหตุแล้วต้องการให้บริษัทประกันเคลมให้จะต้องจ่ายค่าเสียหายในส่วนแรกก่อน เพื่อให้บริษัทประกันดำเนินการรับผิดชอบซึ่งถือเป็นความเข้าใจที่ผิด เนื่องจากความเป็นจริงแล้วค่าเสียหายส่วนแรกผู้เอาประกันสามารถเลือกจ่ายได้ 2 รูปแบบ ได้แก่ ค่าเสียหายส่วนแรกแบบตามการเลือกรับ Deductible และ ค่าเสียหายส่วนแรกแบบตามเงื่อนไข (Excess)
สำหรับประเด็นแรกค่าเสียหายส่วนแรกแบบตามเงื่อนไข หมายถึง ค่าเสียหายส่วนแรกที่ได้มีการระบุเอาไว้ในกรมธรรม์ และ เป็นข้อกำหนดบังคับที่ผู้เอาประกันภัยรถยนต์ หรือ ผู้ขับขี่จะต้องรับผิดชอบร่วมกันกับบริษัทประกันภัยในจำนวนเงิน 1,000 บาท ซึ่งถือเป็นการปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ได้มีการระบุเอาไว้ในหนังสือกรมธรรม์ และ ปฎิบัติตามประกาศที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้มีการประกาศเอาไว้เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2552 โดยมีการระบุรายละเอียดที่เข้าเงื่อนไขต้องจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกแบบตามเงื่อนไขไว้ดังนี้
1. เคลมในกรณีถูกขูดขีดเล็กน้อยมีร่องรอยที่ไม่ชัดเจน
2. เคลมในกรณีที่ไม่สามารถระบุสาเหตุที่ทำให้รถเกิดความเสียหายได้ และ ไม่สามารถระบุสถานที่รวมถึงวันเวลาที่เกิดเหตุขึ้นได้
3. เคลมจากการชนซึ่งผู้เอาประกันไม่สามารถชี้แจงรายละเอียดของคู่กรณีได้
รถมีประกันขับขี่อุ่นใจในทุกเส้นทาง
ส่วนประเด็นที่ 2 ค่าเสียหายส่วนแรกแบบตามการเลือกรับนั้น หมายถึง ค่าเสียหายที่ผู้เอาประกันยินยอมจ่ายค่าเสียหายส่วนแรกตามความสมัครใจ ซึ่งผู้เอาประกันได้ระบุลงไว้ในกรมธรรม์ตั้งแต่ครั้งแรกที่ยื่นเอกสารขอเอาประกันเพื่อลดภาระค่าเบี้ยประกันรายปี โดยการจ่ายเงินในบางส่วนกับบริษัทประกันภัยในกรณีที่รถยนต์เกิดอุบัติเหตุซึ่งได้มีการระบุไว้ในหนังสือกรมธรรม์ประมาณ 2,000-5,000 บาท ซึ่งจะถูกนำมาลดเบี้ยประกันรายปีโดยอัตโนมัติ และ เมื่อรถประสบเหตุโดยที่ฝั่งผู้เอาประกันเป็นฝ่ายผิดจะต้องจ่ายค่าเสียหายในส่วนแรกโดยทันทีที่ประกันเรียกร้องค่าดำเนินการ แต่หากในกรมธรรม์ไม่ได้มีการระบุการเรียกเก็บค่าเสียหายส่วนแรกผู้เอาประกันก็ไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายในส่วนนี้ให้กับบริษัทประกัน
สำหรับผู้ที่ยังมีข้อสงสัยถึงการทำประกันภัยรถยนต์สามารถนำบทความข้างต้นไปอ่านเพื่อประกอบการตัดสินใจ พร้อมทั้งสอบถามความรู้เพิ่มเติมได้จากผู้รู้กฎหมาย
ดูเพิ่มเติม: ประกันภัยรถยนต์คุ้มครองรถยนต์ แล้วคุ้มครองผู้ขับขี่ด้วยไหม ???