11:08, 9 ก.ค. 2561

ข้อควรระวัง!!! หากนำรถยนต์ไปรีไฟแนนซ์แล้วยังหมุนเงินไม่ทัน

บันทึกรายการ

ถึงแม้การรีไฟแนนซ์จะเอื้อประโยชน์ให้กับผู้ขอกู้ได้อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ควรระวังเอาไว้เสมอก็คือ หากเบี้ยวนัดชำระเงินกับทางสถาบันการเงินหรือสถาบันที่นำรถไปขอไฟแนนซ์ อาจจะส่งผลให้โดนฟ้องศาลได้

เรียกได้ว่า ปัจจุบันการรีไฟแนนซ์รถยนต์ได้เข้ามามีบทบาทต่อคนมีรถมากขึ้น เพราะข้อดีที่เอื้อประโยชน์ให้ตนเอง ทั้งดอกเบี้ยถูกลงกว่าการทำไฟแนนซ์กับสถาบันการเงินเดิม หรือแม้กระทั่งการมีเงินไปโป๊ะให้กับหนี้ก้อนเดิมที่ได้ทำมา

แน่นอนว่า คนที่ตัดสินใจรีไฟแนนซ์จะต้องมีความมั่นใจในระดับหนึ่งแล้วว่าสามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนดอย่างแน่นอนก็คงจะไม่มีปัญหาในเบี้ยวชำระอย่างแน่นอน แต่ใครจะไปรู้ว่าในอนาคตจะเกิดอะไรขึ้น โดยเฉพาะหากเงินเกิดช็อต จ่ายไม่ทัน หรือตั้งใจไม่ชำระเพราะติดธุระอะไรอยู่ก็แล้วแต่ มาดูกันว่ากระบวนการหลังจากที่ผู้ขอสินเชื่อเบี้ยวชำระนั้นจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง


หากเบี้ยวชำระหนี้รีไฟแนนซ์รถยนต์จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง?

จะเกิดอะไรขึ้นบ้างหลังเบี้ยวจ่ายเงินรีไฟแนนซ์รถยนต์ ?

1. เมื่อผู้ขอสินเชื่อได้รับการอนุมัติให้กู้เงินกับสถาบันการเงินใหม่ โดยการนำรถเข้ารีไฟแนนซ์แล้ว ถือว่าจะมีผลบังคับใช้ทันที โดยหากหลังจากได้รับอนุมัติแล้ว ผู้ขอสินเชื่อผิดนัดชำระ แน่นอนว่าก็จะมีจดหมายมาถึงหน้าบ้านก่อน ว่ายังไม่ได้ชำระหนี้ตามสัญญาที่ขอกู้ ซึ่งก็จะคล้ายๆหนังสือทวงถามโดยทั่วไป เหมือนกับค่าโทรศัพท์ที่มีจดหมายมาถึงหน้าบ้านว่ายังไม่ได้ไปจ่ายค่าบริการรายเดือน โดยถ้าผู้กู้อาจจะแค่ลืมหรือไปจ่ายในวันเดทไลน์ไม่ทัน ก็สามารถไปจ่ายทบกัน 2 เดือนได้ แต่ถ้าไม่ไปจ่ายติดต่อกันนานถึง 3 เดือน แล้วนั้น สถาบันการเงินที่นำรถไปรีไฟแนนซ์ก็จะเริ่มดำเนินการฟ้องหลังจากที่ผิดชำระหนี้ในงวดที่ 3 ทันที

2. การทวงถามการชำระหนี้จากสถาบันการเงิน เปรียบได้กับการบอกเลิกสัญญาไปในตัว เพราะในกรณีนี้ ผู้กู้ถือว่าเป็นฝ่ายที่ผิดสัญญาก่อน ซึ่งทางสถาบันการเงินก็จะดำเนินการฟ้องให้ชำระนี้ได้ โดยก็จะเป็นกระบวนการในชั้นศาลต่อไป


กระบวนการฟ้องศาลจะเกิดขึ้นหลังจากที่ผู้กู้เบี้ยวชำระหนี้รีไฟแนนซ์รถยนต์

3. เมื่อถูกฟ้องให้ชำระหนี้แล้ว ศาลก็จะมีคำพิพากษาให้ชำระหนี้เต็มจำนวนตามที่ฝ่ายโจทก์หรือฝ่ายสถาบันการเงินร้องขอ รวมไปถึงดอกเบี้ยนนับตั้งแต่วันที่ผิดชำระด้วย โดยจะมีค่าฤชาธรรมเนียม ค่าทนายความ และอาจจะมีค่าดำเนินการอื่นๆตามมา ถือว่าการผิดชำระหนี้อาจจะทำให้ผู้กู้มีจำนวนเงินที่ต้องชำระไปเป็นเท่าตัวก็ต้อง โดยค่าใช้จ่ายที่กล่าวมานี้ จะเรียกกันว่า “หนี้ตามคำพิพากษา” ซึ่งถ้าหากผู้กู้ไม่ปฏิบัติตามก็จะทำให้เกิดการบังคับคดีตามมา รวมไปถึงการยึดทรัพย์สินต่างๆของผู้กู้ด้วย


หลังจากมีคำพิพากษาออมาจำเลยจะถูกยึดทรัพย์สินเพื่อนำไปขายทอดตลาด ไม่ว่าจะเป็นบ้าน รถยนต์และอื่นๆ

4. ศาลจะมีคำสั่งให้ตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีในกรณีนี้ขึ้นมา เพื่อที่จำดำเนินการยึดทรัพย์หรืออายัดทรัพย์สินและสินทรัพย์ของลูกหนี้ โดยจะนำไปขายทอดตลาดในขั้นต่อไป โดยจำนวนเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดก็จะนำมาทดแทนหรือชำระหนี้ให้กับฝ่ายโจทก์หรือผู้ให้กู้นั่นเอง

5. เมื่อนำไปขายทอดตลาดแล้วหากจำนวนเงินไม่เพียงพอต่อเงินที่ผู้กู้ต้องชำระตามคำพิพากษาของศาลแล้ว ผู้กู้จะต้องหาเงินมาชำระต่อเพื่อให้เต็มจำนวน ตามที่คำพิพากษากำหนดเอาไว้โดยไม่อาจขัดขืนได้ แต่ถ้าหากทรัพย์สินที่นำมาขายทอดตลาดได้จำนวนเงินที่มากกว่าจำนวนหนี้ที่ต้องจ่าย ทางจำเลยหรือผู้กู้ก็จะได้รับเงินในส่วนนั้นกลับคืนมา

หมายเหตุ : หากในกรณีที่รีไฟแนนซ์นั้นเกิดการค้ำประกันขึ้นด้วย ผู้ที่ค้ำประกันจะต้องมีส่วนรับผิดชอบในหนี้ส่วนนี้ด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้น หากจะค้ำประกันให้ใครก็ต้องคิดให้ดีเสียก่อน

สรุป 

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้นี่จะเป็นกระบวนการในชั้นศาลที่อาจเกิดขึ้นเมื่อผู้กู้เบี้ยวชำระหนี้ แต่ในชีวิตจริงอาจจะต้องมีกระบวนการต่างๆยิบย่อยเพิ่มขึ้นมาบ้าง และนั่นจะทำให้ผู้กู้ต้องเสียเวลาเพื่อมาจัดการกับปัญหาดังกล่าว ดังนั้น ถ้าไม่อยากโดนฟ้องศาลก็อย่าละเลยกับการชำระหนี้ตามที่ถูกกำหนดเอาไว้ เพราะนั่นจะหมายถึงการเกิดความเสียหายในอนาคตได้ 

...............

อ่านเพิ่มเติม :
ซื้อขายรถหนีไฟแนนซ์ทำได้หรือไม่
การซื้อรถใหม่ป้ายแดงดีอย่างไร

BearsSmiley

ในหมวดเดียวกัน