กรมการขนส่ง - นางจันทิรา บุรุษพัฒน์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบก เผยว่า สำหรับรถที่มีการแก้ไขดัดแปลงที่ทำให้ผิดไปจากที่จดทะเบียนไว้ โดยเฉพาะการดัดแปลงที่มีผลต่อความแข็งแรงของตัวรถ ต้องได้รับการอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบกก่อนนำไปใช้ เพื่อความปลอดภัย และป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน เช่น
รถที่ทำการแก้ไขระบบรองรับน้ำหนัก, ระบบบังคับเลี้ยว, ระบบส่งกำลัง, การเสริมแหนบสปริง, การเปลี่ยนเพลาล้อ, การดัดแปลงตัวถัง, การติดตั้งโครงหลังคา, โครงเหล็กด้านข้างรถ, ติดตั้งอุปกรณ์ทุ่นแรงยกสิ่งของ (Tail Lift), การเปลี่ยนเครื่องยนต์ และการเปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิง เป็นต้น
เจ้าของรถต้องนำรถเข้ารับการตรวจสภาพ พร้อมแจ้งแก้ไขลักษณะรถในเอกสารคู่มือทะเบียนรถ ซึ่งต้องแสดงหลักฐาน ได้แก่
เพื่อยืนยันว่าอุปกรณ์นั้น ๆ ได้มาอย่างถูกต้อง โดยนายทะเบียนจะบันทึกรายการในคู่มือจดทะเบียนรถไว้เป็นหลักฐานประกอบการตรวจสอบต่อไป
หากเจ้าหน้าที่ ตรวจสอบพบการแก้ไขดัดแปลงโดยไม่มีหลักฐานการได้รับอนุญาตจากกรมการขนส่งทางบก เจ้าของรถจะมีความผิดตามกฎหมาย ฐานดัดแปลงแก้ไขสภาพรถ แห่งพ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522 ปรับไม่เกิน 2,000 บาท และอาจมีความผิดฐานแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงสภาพเครื่องอุปกรณ์รถให้ผิดแผกแตกต่างในสาระสำคัญที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียน ตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มีโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท
ทั้งนี้ สำหรับการติดตั้งอุปกรณ์แต่งรถ หรืออุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่าง ๆ ที่ไม่ได้ส่งผลต่อความมั่นคงแข็งแรงหรือความปลอดภัยในการใช้รถ เจ้าของรถไม่ต้องแจ้งต่อนายทะเบียน และสามารถติดตั้งได้โดยไม่ถือเป็นการดัดแปลงแก้ไขสภาพรถ อาทิ ติดตั้งแร็คหลังคา, โรลบาร์, สปอยเลอร์, แม็กไลน์เนอร์, กันชน และอุปกรณ์ขนจักรยาน (Bicycle Rack) โดยขนาดอุปกรณ์ดังกล่าวต้องมีความเหมาะสม และไม่ส่งผลต่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน
อ่านเพิ่มเติม >>