09:41, 12 ก.พ. 2562

กรมการขนส่งประกาศแล้ว โรคลมชักและบางกลุ่มโรคไม่สามารถขออนุญาตใบขับขี่ได้!!

บันทึกรายการ

ข่าวที่กรมการขนส่งทางบกประกาศเกี่ยวกับผุ้ป่วยดรคลมชักและบางโรคที่ส่งลผต่อการขับขี่ไม่สามารถสอบเพื่อขอใบอนุญาตขับขี่ได้


กรมการขนส่งทางบก คุมเข้มในเรื่องการคัดกรองโรคที่ไม่เมาะสำหรับการขับขี่

ข่าวล่าสุดสำหรับกรมการขนส่งทางบกที่ประกาศออกมาแล้วว่า  กำชับให้เจ้าหน้าที่ให้ตรวจสอบใบรับรองแพทย์ ของผู้ขอรับและต่ออายุใบขับขี่ ตามมติคณะกรรมการแพทยสภา ที่ให้เพิ่มโรคลมชัก ในสภาวะที่ไม่สามารถควบคุมอาการชักได้ เป็นโรคประจำตัวที่อาจเป็นอันตรายขณะขับรถ

วันที่ 11 ก.พ. 2562 นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า เพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน กรมการขนส่งทางบก กำหนดให้การขอรับใบอนุญาตขับรถ ต้องใช้ใบรับรองแพทย์ แสดงว่าไม่มีโรคประจำตัวอันอาจเป็นอันตรายขณะขับรถเป็นหลักฐานประกอบ คณะกรรมการแพทยสภาได้มีมติเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2560 ให้โรคลมชัก นสภาวะที่ไม่สามารถควบคุมอาการชักได้ เป็นโรคประจำตัวที่อาจเป็นอันตรายขณะขับรถ เว้นแต่แพทย์ผู้ให้การรักษารับรองว่าผู้ป่วยไม่มีอาการชักเกินกว่า 2 ปี


เพื่อความปลอดภัยสำหรับการขับขี่ส่วนรวมบนท้องถนน

กรมการขนส่งทางบก ได้ซักซ้อมแนวทางการตรวจสอบให้แก่นายทะเบียนทั่วประเทศ โดยให้ตรวจสอบหลักฐานใบรับรองแพทย์ที่ใช้ประกอบคำขอ โดยต้องเป็นใบรับรองแพทย์ตามแบบมาตรฐานที่แพทยสภารับรอง โดยส่วนที่ 1 ลงลายมือชื่อรับรองตนเอง ประวัติโรคประจำตัว ประวัติอุบัติเหตุและการเข้ารับการผ่าตัดที่สำคัญ และส่วนที่ 2 แพทย์ผู้ตรวจร่างกายรับรอง

นอกจากโรคชมชัก ยังต้องมีการรับรองในกรณีอื่น เช่น ไม่เป็นผู้มีร่างกายทุพพลภาพ จนไม่สามารถขับรถได้ ไม่ปรากฏอาการของโรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน หรือปัญญาอ่อน ไม่ปรากฏอาการของการติดยาเสพติดให้โทษ ไม่ปรากฏอาการของโรคพิษสุราเรื้อรัง และไม่ปรากฏอาการและอาการแสดงของโรคเรื้อนในระยะติดต่อหรือในระยะปรากฏอาการ วัณโรคในระยะอันตราย โรคเท้าช้างในระยะปรากฏอาการ สำหรับใบรับรองแพทย์ตามแบบที่แพทยสภารับรอง สถานพยาบาลส่วนใหญ่ใช้เป็นมาตรฐานอยู่แล้ว ผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถ หรือใบอนุญาตเป็นผู้ประจำรถ แจ้งวัตถุประสงค์ให้ชัดเจน เพื่อให้แพทย์ออกใบรับรองแพทย์ให้ถูกต้องตรงกับการนำไปใช้


กรมการขนส่งทางบก คุมเข้มในเรื่องการคัดกรองโรคที่ไม่เมาะสำหรับการขับขี่

สำหรับโรคประจำตัวบางกลุ่มอันอาจเป็นอันตรายขณะขับรถยังอยู่ในระหว่างการ หารือร่วมกันระหว่างกรมการขนส่งทางบกและแพทยสภาที่อาจกำหนดเพิ่มเติมในอนาคต เช่น โรคเบาหวานระยะที่ต้องฉีดอินซูลิน โรคความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทางสมอง ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายที่ผ่านการผ่าตัดหัวใจหรือขยายเส้นเลือดหัวใจซึ่งแพทย์วินิจฉัยแล้วว่าเป็นอุปสรรคต่อการขับรถ

อ่านเพิ่มเติม :

Unclepor

ในหมวดเดียวกัน