สวัสดีครับ ตอนนี้ผมได้ซื้อรถยนต์มือสองมาใช้งาน และกำลังศึกษาวิธีการทำงานของตัวรถ แต่มาสะดุดตรงที่การเปลี่ยนน้ำมันเครื่องด้วยตนเอง ซึ่งผมคิดว่าทำได้ไม่ยากเท่าไหร่นัก แต่อยากให้ผู้รู้ช่วยแนะนำวิธีการเลือกน้ำมันเครื่องด้วยครับ ว่าสังเกตอย่างไรบ้าง และเลือกให้เข้ากับรถยนต์ของตนเองอย่างไร ขอบคุณครับ
จิตรภาณุ คำดอกไม้ (jitphanu_man@gmail.com)
เจษฎา โชคอำนวย
สวัสดีครับ คุณ จิตรภาณุ คำดอกไม้
สำหรับวิธีการเลือกน้ำมันเครื่องนั้น หลักๆมีวิธีการสังเกตทั้งหมด 3 วิธีหลักๆด้วยกัน คือ
1. การเลือกประเภทของน้ำมันเครื่อง
ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว น้ำมันเครื่องจะมี 3 ประเภทหลัก คือ
น้ำมันเครื่องธรรมดา (Synthetic)ซึ่งจะผลิตน้ำมันหล่อลื่นที่กลั่นจากน้ำมันปิโตรเลียม ใช้งานได้ในระยะ 3,000 - 5,000 กิโลเมตร
น้ำมันเครื่องกึ่งสังเคราะห์ (Semi Synthetic) ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นธรรมดากับชนิดสังเคราะห์ ใช้งานได้ประมาณ 5,000-7,000 กม.
น้ำมันเครื่องสังเคราะห์ (Fully Synthetic) ผลิตจากน้ำมันหล่อลื่นที่สังเคราะห์จากน้ำมันปิโตรเลียม ใช้งานได้ประมาณ 7,000-10,000 กม.
การเลือกน้ำมันเครื่องด้วยตนเอง
2. ค่าของน้ำมันเครื่อง
โดยส่วนมากน้ำมันเครื่อง จะขึ้นต้นด้วย API อย่างเช่น API SM หรืออาจจะเป็น API CJ-4 ก็ได้ ซึ่ง API ก็คือ การกำหนดมาตรฐานของสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วน SM หรือ CJ-4 คือการบ่งบอกประเภทของเครื่องยนต์ โดยคำที่ขึ้นต้นด้วย S คือ น้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์เบนซิน และ C ก็คือน้ำมันหล่อลื่นเครื่องยนต์ดีเซล สำหรับตัวเลขด้านหลังของตัวหนังสือก็คือค่ามาตรฐาน โดยค่าชุดตัวเลขแรกจะเป็นการแทนค่าความทนต่อความเย็นของน้ำมันเครื่อง ดังนี้
W คงความข้นใสไว้ได้ต่ำกว่า -30 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
5W คงความข้นใสไว้ได้ถึง -30 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
10W คงความข้นใสไว้ได้ถึง -20 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
15W คงความข้นใสไว้ได้ถึง -10 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
20W คงความข้นใสไว้ได้ถึง 0 องศาเซลเซียส โดยไม่เป็นไข
โดยชุดตัวเลขที่สองจะบ่งบอกถึงความหนืดของน้ำมันเครื่อง ที่มีตั้งแต่ 60, 50, 40, 30, 20, 10 และ 5 โดยตัวเลขน้อยความหนืดก็จะน้อยตามลำดับ แน่นอนว่าความหนืดมีผลต่อการหล่อลื่นและลดการสึกหรอได้เป็นอย่างดี สำหรับบ้านเราก็จะเลือกใช้ที่ 40 เป็นหลัก โดยเฉพาะรถยนต์ใหม่ และจะปรับให้หนืดขึ้นเมื่ออายุเครื่องยนต์เพิ่มเป็นหลัก
การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องด้วยตนเอง
3. ดูน้ำมันเครื่องสูตรพิเศษ
น้ำมันเครื่องหลายชนิดในตอนนี้มีการบอกว่าเหมาะสมกับประเภทการใช้งาน ตัวอย่างเช่น For NGV, LPG & Gasoline - สามารถใช้ได้ดีกว่าสำหรับรถที่ติดแก๊ส NGV และ LPG หรือ Heavy Duty ก็จะใช้ได้ดีสำหรับรถที่บรรทุกของหนัก เป็นต้น