สวัสดีครับ ผมมีเรื่องอยากจะปรึกษาผู้รู้หลายๆท่าน เนื่องจากผมขับรถเก๋ง 4 ประตูอยู่ และรูปทรงจะออกแนวสปอร์ตอยู่บ้าง ซึ่งผมยังไม่ค่อยมีความรู้เรื่องการแต่งรถสักเท่าไหร่ แต่อยากจะเพิ่มความแรงให้กับรถโดยติดตั้งตัว Turbo ของรถ พอจะแนะนำได้หรือไม่ครับว่าการทำงานของ Turbo เป็นยังไงบ้าง เพราะผมอยากจะศึกษาก่อนแล้วค่อยตัดสินใจอีกทีครับ วานผู้รู้ช่วยแนะนำด้วยครับ
เมธา นิยมไทย (metha.niyomthai@hotmail.com)
เจษฎา โชคอำนวย
สวัสดีค่ะ คุณ เมธา นิยมไทย
สำหรับการติดตั้งเทอร์โบนั้น ถือเป็นสิ่งที่คนแต่งรถมักจะทำเป็นลำดับแรกๆ เพราะช่วยให้ครื่องยนต์มีความแรงมากขึ้นตามความต้องการของตนเอง และตามที่กำลังรถแต่ละรุ่นจะรับได้ โดย Turbo คือ อุปกรณ์อัดอากาศชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่อัดไอดีเข้ากระบอกสูบด้วยแรงดันและมวลของอากาศที่มากกว่าแรงดูดจากการเลื่อนลงของลูกสูบของเครื่องยนต์ปกติ เมื่ออากาศมากขึ้น บวกกับนำมันมากข้น (ปรับตั้ง) กำลังอัดในกระบอกสูบมากขึ้น ก็ได้แรงมากขึ้นนั่นเอง
การติดตั้ง Turbo
โดยเครื่องยนต์ที่ไม่มีระบบอัดอากาศ จะสามารถประจุไอดีได้เพียง 70-100% ของความจุกระบอกสูบ เพราะการเลื่อนตัวลงของกระบอกสูบ แม้จะมีแรงดูดสูง แต่ยังไงก็ยังเป็นการดูด ทั้งยังมีสารพัดชิ้นส่วนขวางการไหลของอากาศ เช่น วาล์ว ลิ้นปีกผีเสื้อ ไส้กรองอากาศ ฯลฯ จึงทำให้การดูดอากาศนั้นไม่เต็มที่ 100% ของแรงดูด
เครื่องยนต์ที่ติด Turbo ช่วยอัดอากาศตั้งแต่รอบเครื่องยนต์หมุนปากกลางขึ้นไป จะมีประสิทธิภาพในการประจุไอดีได้สูงในช่วงรอบเครื่องยนต์ที่กว้างกว่า เนื่องจากการอัดไอดีด้วยแรงดันอย่างต่อเนื่องไม่ใช่แค่แรงดูดจากการเลื่อน ลงของลูกสูบ มวลอากาศที่ถูกอัดเข้าไปในกระบอกสูบจึงมีความหนาแน่นมากกว่าปกติ Turbo ประกอบด้วยชุด เทอร์ไบน์ (กังหันไอเสีย) และคอมเพรสเซอร์ (กังหันไอดี) มีลักษณะคล้ายกังหัน 2 ตัว ติดตั้งอยู่บนแกนเดียวกัน ฟากละตัว หันหลังเข้าหากัน หมุนไปพร้อมกันตลอด ไม่มีระบบอากาศเชื่อมกัน และมีระบบหล่อลื่นช่วงกลางแกนกังหันด้วยน้ำมันหล่อลื่นที่ไหลเวียนจากปั๊มเครื่องยนต์
การติดตั้ง Turbo
แน่นอนว่าข้อจำกัดก็มีเช่นเดียวกัน คือ ถ้าเราอัดอากาศไปมาก (บูสท์มาก) ก็จะส่งผลให้ต้องจ่ายน้ำมันให้พอและเครื่องต้องรับได้ และแรงดันแปลผันตามไอเสียเมื่อรอบเครื่องสูงขึ้น ก็ยิ่งได้บูสทมาก แต่วิธีที่ทำให้ไม่ให้มันไหลกันจนเกินพอดี จะต้องใช้ Waste Gate ที่ถือเป็นตัวคุมบูสท์ เมื่อถึงบูสท์ที่เซ็ทไว้ ก็จะเปิดวาวล์ระบายไอเสียส่วนเกินทิ้งไป กันบูสท์ไหล (Over Boost) นั่นเอง
โดยทั่วไป การดูแลเครื่องยนต์ที่ติดตั้ง Turbo มีความยุ่งยากกว่าเครื่องยนต์ที่ไม่ได้ติดตั้ง Turbo พอสมควร คือ ควรใช้น้ำมันเครื่องคุณภาพสูง และการปล่อยให้เครื่องยนต์ Turbo เดินเบาก่อนการดับเครื่องยนต์สัก 1-5 นาที ตามความร้อนที่สะสมอยู่ ถ้าขับคลาน ๆ ในเมือง ก็ปล่อยให้เครื่องยนต์เดินเบาแค่ช่วงสั้นๆ ถ้าอัดทางยาวมาก็ปล่อยให้เครื่องยนต์เดินเบาไว้นานหน่อย
ส่วนเครื่องยนต์ธรรมดาที่ไม่ได้ติดตั้ง Turbo หากเจ้าของต้องการติดตั้งเทอร์โบเพิ่มเข้าไป ต้องใช้อุปกรณ์ร่วมที่ดี และช่างต้องมีความเชี่ยวชาญ โดยจะต้องมีการเปลี่ยนชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์หรือไม่ ต้องดูกันเป็นกรณี ๆ ไป
Turbo ที่มีการติดตั้งภายในรถยนต์
การติดตั้ง Turbo เพิ่มเข้าไปในเครื่องยนต์ดีเซล ส่วนใหญ่ไม่ต้องมีการเปลี่ยนชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์ แต่ควรใช้แรงดันของอากาศ (บูสต์)ไม่เกิน 5-7 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว
และถ้ามีการแต่งปั๊มจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มก็จะดีขึ้นไปอีก การติดตั้ง Turbo เพิ่มเข้าไปในเครื่องยนต์เบนซิน ถ้าใช้แรงดันของอากาศ (บูสต์)ไม่เกิน 5-7 ปอนด์ต่อ ตารางนิ้ว อาจไม่ต้องมีการเปลี่ยนชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์ แต่อาจต้องมีการเพิ่มอัตรา Turbo เพิ่มเข้าไปในเครื่องยนต์ดีเซล และไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์เบนซินหรือดีเซล ถ้ามีการติดตั้ง Turbo เพิ่มเติมภายหลัง แม้จะทำได้ดี เครื่องยนต์ไม่พังกระจาย แต่ก็ต้องยอมรับว่า เครื่องยนต์จะมีการสึกหรอเพิ่มขึ้น และมีอายุการใช้งานลดลงบ้างไม่มากก็น้อย