09:34, 13 มิ.ย. 2561

ต่อประกันภัยรถยนต์ พรบ. ถ้ารถติดไฟแนนซ์ ดิฉันต้องทำอย่างไร ?

บันทึกรายการ

เป็นคำถามที่พบบ่อยเมื่อต้องต่อประกันภัย พรบ. และ ภาษี ในระยะเวลาที่รถยังคงอยู่ในสัญญาเช่าซื้อซึ่งผู้ใช้รถหลายรายยังคงมึนงงกับปัญหาดังกล่าว วันนี้เรามีแนวทางแก้ปัญหาง่ายๆมาแนะนำกันครับ


ต่อพรบ.รถติดไฟแนนซ์ทำได้ง่ายกว่าที่คิด

ดิฉันซื้อรถมาได้ 1 ปี แล้ว ครบเวลาที่จะต้องชำระเบี้ยประกันภัยใหม่ ต่อ พรบ. และ ทะเบียนแล้ว โดยได้ทำสัญญาเช่าซื้อรถกับบริษัทไฟแนนซ์แห่งหนึ่ง พร้อมกับการทำสัญญาซื้อประกันภัยกับโบรกเกอร์แล้วต้องทำอย่างไรต่อบ้าง ส่วน พรบ. กับ ทะเบียน ก็กำลังจะขาดเราต้องทำอย่างไรบ้าง ขอบคุณค่ะ

ดวงดาว ภูสิทธ์อุดม (duangdao_p215@gmail.com)

นพดล นฤวัตปกรณ์

ตอบคุณดวงดาว : 1. ในกรณีที่รถยังคงติดสัญญาเช่าซื้ออยู่กับบริษัทไฟแนนซ์ทางบริษัทไฟแนนซ์จะมีการทำหนังสือแจ้งให้ผู้เช่าซื้อทราบว่ารถยนต์ที่ใช้อยู่ทะเบียนกำลังจะขาด ซึ่งในกรณีของคุณดวงดาวมีหน้าที่เพียงอย่างเดียวแค่โอนเงินไปตามจำนวนที่ไฟแนนซ์แจ้งมา เช่น ค่าภาษี ค่าพรบ. ซึ่งโดยปกติแล้วในบางไฟแนนซ์ไม่ต้องทำประกันในประเภทสมัครใจแต่ในส่วนของพรบ.นั้นต้องทำ

ทั้งนี้คุณดวงดาวนำเงินไปจ่ายตามที่ไฟแนนซ์แจ้งมาเป็นที่เรียบร้อยแล้วทางไฟแนนซ์ หรือ ผู้ให้เช่าซื้อจะดำเนินการต่อทะเบียนรถให้ด้วยตนเอง เมื่อเสร็จขั้นตอนดีแล้วทางบริษัทไฟแนนซ์จะจัดส่งสำเนาทะเบียนรถ รวมถึงป้ายพรบ.ที่ต่ออายุใหม่เรียบร้อยแล้วมาให้ถือเป็นอันเสร็จขั้นตอน แต่ยังมีปัญหาอยู่บ้างในกรณีที่ขาดส่งค่างวดไฟแนนซ์จะไม่ดำเนินการต่อทะเบียนให้ หากผู้เช่าซื้อต้องการต่อทะเบียนรถต้องไปดำเนินการด้วยตนเองแบบไม่มีใบคู่มือจดทะเบียน


ต่อทะเบียน และ พรบ. สามารถทำได้ด้วยตนเอง

2. ต่อพรบ. และ ทะเบียนด้วยตนเองโดยใช้สำเนาใบคู่มือจดทะเบียนต่อล่วงหน้าประมาณ 3 เดือน ก่อนที่ทะเบียนจะขาด พร้อมถ่ายรูปใบเสร็จค่าเสียภาษี และ รายละเอียดส่งให้กับบริษัทไฟแนนซ์ พร้อมทั้งสอบถามบริษัทไฟแนนซ์ถึงค่าดำเนินการเพิ่มเติมว่ามีอะไรที่ต้องจ่ายหรือไม่ ซึ่งในกรณีนี้จะไม่มีจดหมายแจ้งเตือนโอนเงินเกี่ยวกับค่าต่อทะเบียนจากบริษัทไฟแนนซ์ส่งมาให้ผู้เช่าซื้อ

3. ต่อภาษีป้ายทะเบียนรถ และ พรบ.ในระบบออนไลน์สามารถทำได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องผ่านบริษัทไฟแนนซ์ หรือ ผู้ให้เช่าซื้อรถ โดยใช้วิธีการชำระเงินผ่านร้านสะดวกซื้อ และ รอดำเนินการประมาณ 4-5 วัน เอกสารเกี่ยวกับการต่อทะเบียนรถจะส่งถึงบ้านผู้เช่าซื้อ

สำหรับผู้ที่ยังมีความไม่เข้าใจในขั้นตอนการต่อทะเบียนรถ และ พรบ. สามารถนำวิธีการข้างต้นไปปรับใช้ หรือ สอบถามเพิ่มเติมได้จากตัวแทนบริษัทประกันภัยใกล้บ้านท่าน

ในหมวดเดียวกัน