ขายรถยนต์ให้กับเต้นท์รถแล้วทางเต้นท์บอกให้โอนลอย อยากทราบว่าการโอนลอยคืออะไรคะ? มีข้อเสียอะไรบ้าง? แล้วถ้าจะโอนต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้างคะ ?
รวี วงศ์วชิรา (namcha.22d@yahoo.com)
ดวงดาว ภูสิทธ์อุดม
การโอนรถยนต์
ถาม: การโอนลอยคืออะไรคะ?
ตอบ คุณรวี: การโอนลอย เป็นการโอนรถโดยผู้โอนเขียนเอกสารกรอกแบบฟอร์มหลักฐานต่างๆไว้ พร้อมสำหรับเปลี่ยนชื่อในทางทะเบียนให้กับใครก็ได้ที่มาซื้อรถต่อไปแต่ยังไม่ลงชื่อผู้รับโอน ส่วนมากมักทำในกรณีซื้อขายรถมือสองตามเต้นท์รถทั่วไปเพื่อหลีกเลี่ยงค่าธรรมเนียมการโอน เพราะทรัพย์สินใดก็ตามไม่ว่าจะเป็น บ้าน รถ ที่ดิน เมื่อมีการโอนเปลี่ยนผู้ครอบครองตามกฏหมายก็จะต้องเสียค่ารรมเนียมการโอนทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับการประเมินของทางราชการ โดยปกติแล้ว ทางเต้นท์รถจะต้องรับโอนเป็นชื่อเจ้าของรถแล้วค่อยโอนต่อให้ผู้ที่มาซื้ออีกทอดหนึ่ง แต่ส่วนมากทางเต้นท์มักจะผลักภาระค่าใช้จ่ายส่วนนี้ให้กับผู้บริโภคซึ่งถ้าใครไม่อยากเสียเงินค่าธรรมเนียมก็ต้องโอนลอยไว้
ถาม: มีข้อเสียอะไรบ้าง?
ตอบ: ถามว่าการโอนลอยมีข้อเสียไหม ตอบได้เลยว่ามีแน่นอน ซึ่งยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น
เหตุการณ์เหล่านี้ได้เกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้ง ที่เจ้าของเดิมต้องตกโดนข้อกล่าวหา หรือมีหมายศาลเรียกถึงบ้านโดยที่เจ้าของรถเดิมไม่ได้มีส่วนรู้เห็นด้วยเลย แต่ถ้าสืบสาวให้ถึงที่สุด ถามว่าเจาของรถเดิมต้องรับโทษหรือรับผิดชอบค่าเสียหายหรือไม่ ตอบได้เลยว่า “ไม่” เพราะไม่ได้เป็นผู้ขับขี่กระทำการนั้น ทั้งนี้เจ้าของรถเดิมต้องไปทำการชี้แจ้งต่อศาลหรือสถานีตำรวจที่ออกหมายเรียก พร้อมทั้งนำหลักฐานที่เกี่ยวข้องไปแสดง เช่น หลักฐานการซื้อขายที่ระบุวันที่ขายไว้ สำเนาการโอน ใบเสร็จรับเงิน ซึ่งจะช่วยให้รอดพ้นจากข้อกล่าวหาได้ และแม้ว่าจะมีหลักฐานครบครันแต่ก็ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง ยกตัวอย่างเช่น เจ้าของรถเดิมอยู่ที่เชียงราย รถเกิดเหตุที่นราธิวาสก็ต้องเดินทางไปชี้แจงซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้เราต้องออกเอง ทั้งหมดทั้งมวลเกิดขึ้นเพียงเพราะความอยากประหยัดค่าธรรมเนียม เข้าตำรา “เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย”
ถาม: แล้วถ้าจะโอนต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้างคะ
ตอบ: หากจะดำเนินการโอนรถจะต้องจัดเตรียมเอกสาร ดังนี้:
สมุดคู่มือทะเบียนรถยนต์
เป็นหนังสือสัญญานิติกรรม ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายที่ทำการแลกเปลี่ยนกัน ต้องกรอกทุกรายละเอียด เช่น วันที่ รายละเอียดผู้ขาย รายละเอียดผู้ซื้อ ราคาซื้อขาย กำหนดการมัดจำและรับรถยนต์ ค่าใช้จ่ายในการโอนว่าผู้ใดเป็นผู้ออกค่าโอน ลงชื่อผู้ซื้อ ผู้ขายและพยาน ระบุวันเวลาที่ขายและที่ได้รับรถแล้ว
ตัวหนังสือนี้ถือว่ามีความสำคัญอย่างสูง ต้องถือไว้ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย ใช้แสดงประกอบการโอนมีผลทางกฏหมาย กรณีที่ผู้ซื้อนำรถไปเกิดอุบัติเหตุ หรือใช้รถกระทำความผิดกฏหมายหรือผู้ขายอาจนำไปแจ้งรถหายหรือนำเอกสารไปทำอย่างอื่น ต้องมีการตรวจเช็ครายละเอียดให้ดีทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย
ตัวอย่างการกรอกแบบคำขอโอนและรับโอน
เป็นหนังสือของทางกรมขนส่งทางบก ต้องใช้เพื่อยื่นประกอบเอกสารการโอนรถยนต์ ต้องระบุวันที่ ชื่อรายละเอียดผู้โอน ผู้รับโอน เลขทะเบียน รายละเอียดเกี่ยวกับรถที่โอน ราคาซื้อขาย และต้องลงรายมือชื่อทั้งผู้โอนและผู้รับโอนที่ระบุไว้ครบทุกช่อง
จะต้องไม่หมดอายุ โดยบัตรประชาชนต้องตรงกับทะเบียนบ้าน มีการเซ็นรับรองสำเนาถูกต้องไว้เพื่อสำหรับโอนรถ
หากเจ้าของรถไม่สามารถกาะทำการใดใดเกี่ยวกับตัวรถได้เอง เช่น จ้างบริษัทตรวจรถเอกชนช่วยในการดำเนินการ จะต้องมีหนังสือมอบอำนาจแนบด้วย
ตัวอย่างแบบคำขออื่นๆ
เช่น หนังสือหย่า เปลี่ยนชื่อเปลี่ยนนามสกุล ใบรับมอบมรดก ในกรณีที่เป็นรถบริษัทไฟแนนซ์ ประกันภัย หรือมอบมรดก ต้องเตรียมหนังสือรับรองบริษัท ใบเสร็จรับเงิน ใบเสียภาษี
ในกรณีที่ขอใช้ในจังหวัดเดิมในทะเบียนรถ ต้องเตรียมหนังสือยินยอมให้ทางเจ้าของรถเดิมเซ็นยินยอมขอใช้รถในทะเบียนบ้านเดิมหรือหาเจ้าบ้านที่มีวื่อ ที่อยู่ในเขตที่ต้องการขอใช้ทะเบียนรถและเซ็นลายมือชื่อ พร้อมแนบสำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชนหนึ่งชุด
เช่น ใบเสร็จซื้อเครื่องยนต์ ในกรณีที่ยังไม่ได้เปลี่ยนหมาเลขเครื่อง ใบเสร็จค่าเปลี่ยนสีรถยนต์ ที่ถูกต้องมีใบรับรองเสียภาษี หรือใบวิศวกรองรับการดัดแปลงรถยนต์ ใช้ในกับรถที่ยังไม่ได้แจ้งการดัดแปลง เช่นระบบขับเคลื่อน ระบบเบรก การเปลี่ยนหลังคา หรือการซ่อมจากอู่ที่ต้องมีการตัดต่อ หรืออะไหล่ตัวถังรถ
สรุปเอกสารสำคัญหลักๆดังนี้:
เพียงเท่านี้ก็ไม่ต้องกังวลกับการโอนลอยอีกต่อไป ลดการเสียเวลา ประหยัดค่าใช้จ่าย และที่สำคัญฯเมื่อได้เอกสารครบแล้วควรรีบดำเนินการโอนให้เร็วที่สุด เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาทีหลัง และอย่าปล่อยไว้นานจนเอกสารหมดอายุหรือผู้รับโอนเสียชีวิต คงไม่สนุกแน่ถ้าต้องจัดเตรียมเอกสารใหม่