ในปัจจุบันนี้โดยส่วนใหญ่แล้วรถยนต์ทุกคันล้วนแล้วแต่เป็นระบบเกียร์อัตโนมัติหรือเกียร์ออโต้กันหมดแล้ว เนื่องจากเป็นระบบที่อำนวยความสะดวกในการขับขี่ได้อย่างง่ายดาย ไม่ต้องมีระบบและขั้นตอนที่ยุ่งยาก โดยเกียร์ออโต้มีระบบคอยทำหน้าที่เปลี่ยนตำแหน่งของเกียร์เพื่อให้เหมาะสมกับความเร็วและน้ำหนักของการบรรทุกสิ่งของ ซึ่งระบบเกียร์ออโต้ในปัจจุบันที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายนั่นก็คือ เกียร์ CVT หรือ Continuously Variable Tranmission คือระบบการเปลี่ยนอัตราทดแบบต่อเนื่องที่มีข้อดีคือสามารถเปลี่ยนเกียร์ได้อย่างนุ่มนวลและไม่เกิดแรงกระชาก รวมไปถึงยังช่วยรักษารอบเครื่องยนต์และการประหยัดน้ำมันได้เป็นอย่างดี การทำงานของเกียร์ประเภทนี้จะคอยไล่เกียร์ไปตามรอบอัตราเร่งของตัวรถ เพื่อคำนวณความเหมาะสมให้สัมพันธ์กับความเร็ว จึงทำให้เวลาที่เปลี่ยนเกียร์ไม่มีอาการกระตุกเกิดขึ้นนั่นเอง
โดยระบบเกียร์ออโต้ก็จะมีหลากหลายโหมดเพื่อให้ผู้ขับขี่สามารถเลือกใช้เกียร์ได้ตามความต้องการ หนึ่งในนั้นคือเกียร์ S ที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าเกียร์ S ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อขับใช้งานในรูปแบบไหน วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยกันว่า เกียร์ออโต้ s คือ อะไร ควรใช้งานแบบไหนถึงจะเหมาะสมและปลอดภัยมากที่สุด
เกียร์ S คืออะไร ใช้ตอนไหนดี
ตามหลักทั่วไปแล้วรถยนต์จะประกอบไปด้วยเกียร์ 2 ประเภท คือ เกียร์ธรรมดา และเกียร์อัตโนมัติ หนึ่งในโหมดเกียร์ของประเภทรถยนต์เกียร์อัตโนมัติก็จะมีเกียร์ S อยู่ในนั้น ซึ่งเกียร์ S ย่อมาจากคำว่า Sport โดยเกียร์ประเภทนี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อการเปลี่ยนเกียร์ที่ช้าลงจึงทำให้สามารถลากรอบเครื่องยนต์ได้ดีกว่าเกียร์โหมดอื่น ส่งผลทำให้รถยนต์มีพละกำลังมากขึ้น เหมาะสำหรับการใช้งานในเวลาที่ผู้ขับขี่ขับรถขึ้นทางชันก็ควรที่จะใช้ เกียร์ s ขึ้นเขา หรือตอนเร่งแซงรถคันอื่นนั่นเอง
เกียร์ S ใช้ตอนไหนดี
อย่างที่ทราบกันดีว่ารถยนต์ในปัจจุบันนี้ล้วนถูกปรับเปลี่ยนมาใช้ระบบเกียร์อัตโนมัติกันเกือบทุกรุ่นแล้ว โดยปกติทั่วไปเกียร์อัตโนมัติจะประกอบไปด้วย 4 โหมด คือ เกียร์ P, R, N และ D หรือในรถบางรุ่นอาจมีเกียร์ D1, D2, S และ L เพิ่มเข้ามาด้วย โดยหน้าที่ของเกียร์อัตโนมัติในโหมดอื่น มีดังนี้
อย่างไรก็ตาม หลายคนในที่นี้คงทราบกันแล้วว่า เกียร์ S คืออะไร ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้ขับขี่ใช้งานแบบไหน และใช้ตอนไหนถึงจะปลอดภัยที่สุด เพราะหากมีการใช้งานที่ผิดประเภทก็อาจทำให้เกิดอันตรายหรืออุบัติเหตุเกิดขึ้นได้ รวมทั้งการใช้งานเกียร์ที่ถูกประเภทและถูกต้องตามความเหมาะสมยังเป็นการถนอมเกียร์เพื่อป้องกันการชำรุดและเสื่อมสภาพได้อีกด้วย
ดูเพิ่มเติม