01:40, 11 พ.ย. 2565

รถที่ไม่เสียภาษีประจําปีภายในกําหนดจะต้องเสียเงินเพิ่มเท่าใด

บันทึกรายการ

อีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่คนมีรถควรรู้ คือเรื่องการเสียภาษีรถยนต์ เพราะการเสียภาษีประจำปีเป็นสิ่งที่ห้ามลืม หากไม่เสียจะมีโทษอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ

นับว่าเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่คนมีรถเกิดความสับสน ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง พ.ร..บ. หรือภาษีรถยนต์ ที่จะต้องมีการต่อเป็นประจำเป็นทุกปี เพราะขั้นตอนดำเนินการจะต้องมีขั้นตอนการเตรียมเอกสารให้พร้อม เตรียมค่าใช้จ่าย พร้อมทำความเข้าใจว่าจะต้องไปดำเนินเรื่องที่ไหนและอย่างไรบ้าง วันนี้เราจึงอยากพาทุกคนมาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับภาษีรถยนต์ที่คนมีรถควรรู้

ทำความรู้จักภาษีรถยนต์

อันดับแรกเรามาเริ่มทำความรู้จักกับภาษีรถยนต์กันก่อน ซึ่งหลายคนคงคุ้นเคยกันดีกับแผ่นกระดาษสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาดเล็กซึ่งจะแสดงถึงสัญลักษณ์ว่าเจ้าของรถมีการจ่ายภาษีรถยนต์ตามที่กำหนดเรียบร้อยแล้ว หากปล่อยให้เวลาผ่านไปจนเลยกำหนดที่ทางหน่วยงานตั้งไว้จะต้องเสียค่าปรับ โดยภาษีรถยนต์ที่เจ้าของรถเสียไปในทุกปีทางหน่วยงานภาครัฐจะนำไปปรับปรุงและพัฒนาถนน รวมถึงการคมนาคมภายในประเทศให้ดียิ่งขึ้น

เอกสารใช้ในการต่อภาษีรถยนต์

หลังจากที่ได้รู้กันไปแล้วว่าภาษีรถยนต์คืออะไร ต่อมาคือเอกสารที่จะต้องเตรียมให้พร้อมเมื่อต้องการไปจ่ายภาษีรถยนต์ เพราะถ้าหากว่าเตรียมเอกสารไม่ครบตามที่กำหนดก็จะทำให้เสียทั้งเวลาและโอกาสที่จะทำเรื่องให้เสร็จสิ้น ดังนั้นควรเตรียมเอกสารให้ครบถ้วน ดังนี้

  • คู่มือจดทะเบียนรถฉบับจริงหรือสำเนา
  • พ.ร..บ. รถยนต์ หรือหลักฐานการทำประกันภัยตามที่กฎหมายบังคับ
  • ใบรับรองการตรวจสอบสภาพรถยนต์ (ในกรณีที่รถมีอายุการใช้งานเกิน 5 ปี ขึ้นไป หรือรถที่มีการดัดแปลงสภาพ)

เอกสารใช้ในการต่อภาษีรถยนต์

ต่อภาษีรถยนต์ที่ไหน ?

เมื่อเจ้าของรถได้ทำการเตรียมเอกสารสำหรับจ่ายภาษีรถยนต์ครบเรียบร้อยแล้ว ต่อมาคือสถานที่ที่จะต้องไปดำเนินการเสียภาษีรถยนต์ ในปัจจุบันก็ได้มีช่องทางการเสียภาษีรถยนต์ที่หลากหลายมากขึ้นกว่าเดิม ทั้งการเดินทางไปจ่ายด้วยตัวเองหรือการจ่ายผ่านช่องทางออนไลน์ ก็แล้วแต่ความสะดวกของผู้ใช้งานที่สามารถเลือกได้ตามความต้องการ โดยสถานที่ในการเสียภาษีรถยนต์มี ดังนี้

  • สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ
  • เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ
  • ที่ทำการไปรษณีย์
  • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธ.ก.ส.)
  • ห้างสรรพสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ “ช้อปให้พอแล้วต่อภาษี”
  • จุดบริการเลื่อนล้อต่อภาษีรถยนต์
  • การต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ www.eservice.dlt.go.th
  • สถานที่ตรวจสอบสภาพรถยนต์และต่อภาษีรถยนต์

เอกสารใช้ในการต่อภาษีรถยนต์

ข้อควรรู้สำหรับการต่อภาษีรถยนต์

สำหรับการต่อภาษีรถยนต์นั้นมีกฎระเบียบที่เจ้าของรถควรรู้เป็นอย่างมาก ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจและศึกษาข้อมูลที่ควรรู้อย่างรอบคอบ เพื่อทำให้สามารถคำนวณค่าใช้จ่ายได้อย่างถูกต้องและดำเนินในขั้นตอนต่อไปได้อย่างราบรื่น

  • เจ้าของรถควรจะต้องต่อ พ.ร.บ. รถยนต์หรือประกันภาคบังคับก่อนเสียภาษีรถยนต์
  • รถที่มีอายุการใช้งานไม่ถึง 7 ปี ไม่จำเป็นต้องตรวจสภาพรถก่อนต่อภาษีรถยนต์ แต่ถ้าหากรถยนต์มีอายุเกิน 7 ปีขึ้นไป จะต้องผ่านการตรวจสภาพรถยนต์ก่อนต่อภาษีรถยนต์
  • ในกรณีที่รถขาด ต่อภาษีรถยนต์ ช้า 1 เดือน หรือมากกว่า 3 ปีขึ้นไป ป้ายทะเบียนรถยนต์จะถูกยกเลิกทันที หากมีความต้องการจะต่อใหม่อีกครั้งจะต้องนำแผ่นป้ายทะเบียนไปคืนที่กรมการขนส่งทางบกและชำระค่าปรับก่อนถึงจะสามารถทำใหม่ได้
  • สำหรับ ค่าปรับต่อทะเบียนรถยนต์ล่าช้า นับตั้งแต่วันที่ขาด 1 วันขึ้นไป ทางกฎหมายนับว่าเป็นการขาดต่อภาษีรถยนต์ นับตั้งแต่ 1-3 ปี รถไม่เสียภาษีประจําปี จะมี วิธี การคิด ค่าปรับ ภาษีรถยนต์ ถูกปรับร้อยละ 1% ต่อเดือน และเมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้นก็จะมีค่าปรับที่เพิ่มมากขึ้น
  •  เจ้าของรถสามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ล่วงหน้า 90 วัน เพื่อเตรียมความพร้อมทั้งเรื่องเอกสารและค่าใช้จ่ายให้พร้อม

อ่านเพิ่มเติม ต่อทะเบียนรถมอไซค์ ทั้งภาษี-พ.ร.บ. ขั้นตอนอะไรบ้างที่คุณต้องรู้ ?

หากไม่ต่อภาษีรถยนต์จะเกิดอะไรขึ้น

สำหรับการต่อภาษีรถยนต์ที่อาจทำให้ใครหลายคนต้องหลงลืมกันไปบ้าง โดยทางกฎหมายมีบทลงโทษ 2 แบบด้วยกัน ดังนี้

  • รถยนต์ที่ขาดต่อภาษีรถยนต์เกิน 1 ปี แต่ไม่ถึง 3 ปี จะยังไม่ถูกยกเลิกและยังสามารถไปเสียค่าภาษีรถยนต์และต่อทะเบียนได้ตามปกติ โดยมีค่าใช้จ่ายชำระภาษีรถยนต์ย้อนหลังเดือนละ 1%
  • รถยนต์ที่ขาดต่อภาษีรถยนต์เกิน 3 ปีขึ้นไป จะต้องทำการจดทะเบียนใหม่เท่านั้น เพราะว่าป้ายทะเบียนจะถูกระงับการใช้งาน โดยเจ้าของรถจะต้องนำแผ่นป้ายทะเบียนมายังกรมการขนส่งทางบกภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่โดนยกเลิกทะเบียน หากไม่นำแผ่นป้ายทะเบียนไปคืนที่กรมการขนส่งจะถูกปรับไม่เกิน 1,000 บาท ก่อนเพื่อที่จะสามารถต่อภาษีรถยนต์ได้ปกติ

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่คนมีรถควรรู้คือการไม่ปล่อยให้ภาษีรถยนต์หมดอายุและต้องต่อภาษีรถยนต์ให้ทันตามที่กฎหมายกำหนด เพราะนอกจากจะเสียค่าปรับโดยใช่เหตุแล้ว ยังต้องสูญเสียเวลาในการถูกระงับใช้งานแผ่นป้ายทะเบียนอีกด้วย

ดูเพิ่มเติม: ต่อภาษีรถยนต์ กี่บาท ?

ในหมวดเดียวกัน