22:49, 8 ธ.ค. 2565

ประเภทป้ายทะเบียนรถตู้ ต่างกันอย่างไร

บันทึกรายการ

รถตู้มีหลายประเภท ทั้งรถตู้แบบประจำทางและแบบไม่ประจำทาง สามารถแบ่งแยกประเภทได้ด้วยป้ายทะเบียนที่แตกต่างกัน ทะเบียน รถ ตู้ มีกี่ประเภท บทความนี้มีคำตอบ

รถตู้ หรือรถ Van เป็นรถอีกหนึ่งประเภทที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในบ้านเรา ซึ่งถือว่าถูกนำมาใช้งานในการขนส่งสาธารณะเป็นหลัก เนื่องจากเป็นรถนั่งโดยสารที่มีลักษณะสี่เหลี่ยมแนวยาวสามารถบรรทุกผู้โดยสารได้มากถึง 12-15 คน เลยทีเดียว และมีจุดเด่นที่สามารถทำความเร็วในการขนส่งได้ ไม่ว่าจะแซงหรือเข้าตามตรอกออกตามซอยก็คล่องตัว รวมทั้งยังมอบความสะดวกสบายให้กับผู้โดยสารที่ได้นั่งและเอนหลังทุกคน จึงทำให้รถตู้ได้กลายเป็นรถโดยสารยอดนิยมในปัจจุบันนี้มากที่สุด โดยการนำรถตู้ไปใช้งานหลากหลายประเภทจึงทำให้ต้องมีการจัดสรรด้วยการแบ่งประเภทของป้ายทะเบียนให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น วันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้จักกันว่าประเภทป้ายทะเบียนรถตู้แต่ละแบบมีความหมายอย่างไร

ประเภทป้ายทะเบียนรถตู้ ต่างกันอย่างไร

ประเภทป้ายทะเบียนรถตู้

สำหรับการแบ่งประเภทป้ายทะเบียนรถตู้หรือ การ จดทะเบียน รถ ตู้ สามารถแบ่งออกอย่างชัดเจนคือ รถตู้ไม่ประจำทาง รถตู้ชนิดพิเศษ หมวดนำหน้า 36 ป้ายทะเบียนพื้นสีขาว ตัวอักษรสีฟ้านูน แบ่งออกได้ ดังนี้

  • ตัวอักษร THAILAND
  • รหัสจังหวัด
  • รหัสแสดงประเภทรถ 36
  • ขีดระหว่างตัวเลข
  • หมายเลขทะเบียนรถ 0001-9999
  • เครื่องหมายตัวอักษร ขส
  • ชื่อจังหวัด

ส่วนรถตู้ไม่ประจำทาง หมวดนำหน้า 30-35 ป้ายทะเบียนพื้นสีเหลือง ตัวอักษรสีดำนูน แบ่งออกได้ ดังนี้

  • ตัวอักษร THAILAND
  • รหัสจังหวัด
  • รหัสแสดงประเภทรถ
  • ขีดระหว่างตัวเลข
  • หมายเลขทะเบียนรถ 0001-9999
  • เครื่องหมายตัวอักษร ขส
  • ชื่อจังหวัด

ในส่วนกรมขนส่งทางบกได้กำหนดทะเบียนรถตู้โดยสารส่วนบุคคลหมวดนำหน้า 40-49 ได้ทุกมาตรฐานรถ ป้ายทะเบียนพื้นสีขาว ตัวอักษรสีดำนูน แบ่งออกได้ ดังนี้

  • ตัวอักษร THAILAND
  • รหัสจังหวัด
  • รหัสแสดงประเภทรถ 44-49
  • ขีดระหว่างตัวเลข
  • หมายเลขทะเบียนรถ 0001-9999
  • เครื่องหมายตัวอักษร ขส
  • ชื่อจังหวัด

สุดท้ายสำหรับรถตู้โดยสารประจำทาง หมวดนำหน้า 10-19 ป้ายทะเบียนพื้นสีเหลือง ตัวอักษรสีดำนูน แบ่งออกได้ ดังนี้

  • ตัวอักษร THAILAND
  • รหัสจังหวัด
  • รหัสแสดงประเภทรถ 10-19
  • ขีดระหว่างตัวเลข
  • หมายเลขทะเบียนรถ 0001-9999
  • เครื่องหมายตัวอักษร ขส
  • ชื่อจังหวัด

ป้ายทะเบียนรถตู้

รถตู้รับจ้างมีกี่ประเภท

สำหรับใครที่กำลังสงสัยว่าระหว่างรถตู้ประจำทางกับรถตู้ส่วนบุคคลมีวิธีสังเกตอย่างไร สามารถสังเกตได้จากประเภทของแผ่นป้ายทะเบียน ดังนี้

ป้ายทะเบียนสีฟ้า สำหรับ ทะเบียน รถ ตู้ ป้าย ฟ้า สามารถบ่งบอกได้ว่าเป็นรถโดยสาร 11 ที่นั่ง โดยจะมีคิดอัตราภาษีตามน้ำหนักของรถยนต์ที่มีการระบุว่าการจดทะเบียนจะต้องมีที่นั่งครบ 11 ที่นั่ง

ป้ายทะเบียนสีเหลือง ส่วน รถ ตู้ ป้าย เหลือง ก็จะมีทั้งแบบรถตู้โดยสารประจำทางและรถตู้โดยสารไม่ประจำทาง โดย การ จดทะเบียน รถ ตู้ ป้าย เหลือง สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้

  • หมวดนำหน้ารหัส 10-19 เป็นรหัสของรถตู้โดยสารประจำทางที่มีพื้นบนแผ่นป้ายทะเบียนเป็นสีเหลือง ตัวอักษรสีดำนูน ระบุด้วยตัวอักษร THAILAND ตามด้วยรหัสจังหวัด รหัสประเภทรถยนต์ มีขีดระหว่างตัวเลข หมายเลขทะเบียน 0001-9999 พร้อมด้วยเครื่องหมาย ขส. และตามด้วยชื่อจังหวัด
  • หมวดนำหน้ารหัส 30-35 เป็นรหัสของรถตู้แบบไม่ประจำทาง หมวดนำหน้าเป็นตัวเลข 30 ถึง 35 ป้ายทะเบียนมีพื้นสีเหลือง ตัวอักษรสีดำนูน ระบุด้วยตัวอักษร THAILAND ตามด้วยรหัสจังหวัด รหัสประเภทรถยนต์ หมายเลขทะเบียน 0001-9999 พร้อมด้วยเครื่องหมาย ขส. และตามด้วยชื่อจังหวัด
  • หมวดนำหน้ารหัส 36 เป็นรหัสของรถตู้แบบไม่ประจำทาง หรือรถโดยสารไม่ประจำทาง รถตู้ชนิดพิเศษ หมวดนำหน้าเป็นตัวเลข 36 ป้ายทะเบียนมีพื้นสีขาวสะท้อนแสง ตัวอักษรสีฟ้า ระบุด้วยตัวอักษร THAILAND ตามด้วยรหัสจังหวัด รหัสประเภทรถยนต์ หมายเลขทะเบียน 0001-9999 พร้อมด้วยเครื่องหมาย ขส. และตามด้วยชื่อจังหวัด

ป้ายทะเบียนสีดำ เป็นป้ายทะเบียนของรถตู้ที่ใช้งานภายใน โดยจะต้องมีที่นั่งน้อยกว่าหรือเท่ากับ 7 ที่นั่ง ซึ่งจะมีหมวดนำหน้ารหัส 40-49 เป็นรหัสของรถตู้โดยสารส่วนบุคคล ป้ายทะเบียนมีพื้นสีขาวและตัวอักษรสีดำนูน ระบุด้วยตัวอักษร THAILAND ตามด้วยรหัสจังหวัด รหัสประเภทรถยนต์ หมายเลขทะเบียน 0001-9999 พร้อมด้วยเครื่องหมาย ขส. และตามด้วยชื่อจังหวัด

อย่างไรก็ตาม หากใครที่กำลังมีความสนใจซื้อรถตู้อยู่นั่น ไม่ว่าจะนำมาขับใช้งานส่วนตัวหรือประกอบอาชีพในการรับจ้างขนส่งต่าง ๆ ควรทำความเข้าใจและศึกษาประเภทป้ายทะเบียนให้มากที่สุด เพื่อเป็นการรักษาผลประโยชน์ของตัวเองและยังเป็นการทำตามกฎหมายอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันเวลามีปัญหาภายหลังที่อาจตามมาได้อีกด้วย

อ่านเพิ่มเติม >>

ในหมวดเดียวกัน