10:20, 7 ต.ค. 2565

ทบทวน กฎหมายการจราจรทางบก เบื้องต้น เป็นอย่างไร

บันทึกรายการ

ทบทวน กฎหมายจราจร สำหรับการขับรถในชีวิตประจำวัน เพื่อความปลอดภัยต่อผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคน

ปัจจุบันนี้เราสามารถพบเห็นหรือดูข่าวสารเกี่ยวกับอุบัติเหตุบนท้องถนนได้เกือบทุกวัน โดยส่วนใหญ่แล้วปัจจัยที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุล้วนมาจากผู้ขับขี่รถยนต์และมอเตอร์ไซค์ที่ไม่ปฏิบัติตาม กฎจราจร จึงส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุที่อาจทำให้บาดเจ็บเพียงเล็กน้อยและถึงขั้นร้ายแรงจนเสียชีวิตได้ เพื่อตระหนักถึงความปลอดภัยต่อการใช้รถบนถนน วันนี้เราได้รวบรวม กฎจราจร10ข้อ ที่ควรรู้ในการขับรถในชีวิตประจำวัน มาดูกันว่า กฎหมายจราจรที่ทุกคนต้องปฏิบัติตามได้แก่ อะไรบ้าง

1. อย่าลืมคาดเข็มขัดนิรภัย

เริ่มต้น กฎหมาย จราจร ทาง บก ข้อแรกกับการให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกเมื่อคุณเปิดประตูและก้าวเข้ามานั่งในรถ ควรคาดเข็มขัดนิรภัยทุกครั้งเมื่อขับขี่รถยนต์ เพราะเมื่อไหร่ที่เกิดอุบัติเหตุโดยไม่คาดคิด เข็มขัดนิรภัยจะช่วยบรรเทาจากหนักให้กลายเป็นเบาได้ หากผู้ใดฝ่าฝืนกฎหมายและไม่คาดเข็มขัดนิรภัยผู้ขับขี่จะต้องถูกปรับ 500 บาท และผู้โดยสารจะถูกปรับด้วย 500 บาท

อย่าลืมคาดเข็มขัดนิรภัย

2. พกใบขับขี่ทุกครั้ง

สำหรับ การ จราจร ทาง บก ข้อต่อมาคือการพกใบขับขี่ทุกครั้งในขณะที่ขับขี่รถ เพราะ ใบขับขี่ หรือใบอนุญาตขับรถ คือบัตรที่กรมการขนส่งทางบกทำการออกให้เพื่อเป็นสัญลักษณ์ยืนยันว่าบุคคลดังกล่าวมีคุณสมบัติในการขับขี่รถยนต์หรือรถมอเตอร์ไซค์ โดยผ่านการอบรมข้อกฎหมายจราจรและผ่านการทดสอบปฏิบัติเป็นที่เรียบร้อย รวมทั้งใบขับขี่ยังเป็นเอกสารทางราชการที่มีวันหมดอายุ ซึ่งจะต้องดำเนินการต่ออายุใบขับขี่ก่อนที่จะถึงวันสิ้นอายุ และใบขับขี่ยังเป็นบัตรที่ผู้ขับขี่จะต้องพกติดตัวเอาไว้ตลอดเวลา หากลืมพกแล้วถูกเจ้าหน้าที่ตรวจจะต้องถูกระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยในปัจจุบันได้มีการออกอนุญาตให้ใช้ใบขับขี่อิเล็กทรอนิกส์แทนได้แล้ว ทำให้ผู้ขับขี่สามารถพกใบขับขี่ออนไลน์และเมื่อเจอด่านเรียกตรวจก็สามารถให้เจ้าหน้าที่ดูใบขับขี่ออนไลน์ได้เช่นเดียวกัน

3. เจอทางม้าลายต้องหยุดให้คนข้าม

ทุกวันนี้เรายังพบเห็นข่าวอุบัติเหตุรถชนคนบนทางม้าลายได้บ่อยครั้ง โดยตามกฎหมายแล้วเมื่อพบเห็นทางม้าลายอยู่ข้างหน้าต้องชะลอความเร็วและห้ามแซงในระยะ 30 เมตร และหยุดให้คนข้ามทางม้าลาย หากฝ่าฝืนจะมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 21 โทษปรับสูงสุดไม่เกิน 1,000 บาท

เจอทางม้าลายต้องหยุดให้คนข้าม

4. ขับรถด้วยความเร็วที่กำหนด

สำหรับความเร็วที่ผู้ใช้รถจะต้องขับตามที่กฎหมายกำหนดเอาไว้ โดยตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกและพระราชบัญญัติจราจรทางหลวง แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้

  • ขับรถในกรุงเทพมหานคร เมืองพัทยา และเทศบาลทุกจังหวัด สามารถใช้ความเร็วสูงสุดไม่เกิน 80 กม./ชม.
  • ขับรถบนทางหลวงระหว่างจังหวัด สามารถใช้ความเร็วสูงสุดไม่เกิน 90 กม./ชม.
  • ขับรถบนทางมอเตอร์เวย์ และวงแหวนกาญจนาภิเษก สามารถใช้ความเร็วสูงสุดไม่เกิน 120 กม./ชม.

หากผู้ใดฝ่าฝืนจะมีโทษปรับสูงสุด 1,000 บาท

5. เปิดไฟเลี้ยวทุกครั้งก่อนเลี้ยวรถ

สำหรับผู้ขับขี่รถทุกคน หากมีความต้องการเปลี่ยนช่องทางจราจร ตามกฎหมายกำหนดไว้ว่าควรเปิดไฟเลี้ยวหรือให้สัญญาณไฟก่อนเลี้ยว 30 เมตร เพื่อให้รถคันอื่นเห็นได้ในระยะไม่น้อยกว่า 60 เมตร เพื่อให้รถคันหลังที่ตามมาได้รับรู้ และที่สำคัญไม่ควรเลี้ยวรถกะทันหันเพราะอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้

เปิดไฟเลี้ยวทุกครั้งก่อนเลี้ยวรถ

6. เลี้ยวซ้ายผ่านตลอด

เมื่อผู้ขับขี่พบทางแยกและเห็นว่ามีป้ายเครื่องหมายบอกเลี้ยวซ้ายผ่านตลอด ซึ่งก่อนที่จะเลี้ยวควรหยุดรอให้คนข้ามถนนและรอรถจากฝั่งขวามือให้ขับผ่านพ้นไปก่อน จากนั้นเมื่อตรวจสอบดูแล้วว่าปลอดภัยจึงสามารถเลี้ยวซ้ายได้ตามที่ต้องการ

7. ไม่ฝ่าไฟเหลือง

การให้ความเคารพต่อสัญญาณไฟจราจรเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะไฟเหลืองที่เมื่อผู้ขับขี่ขับผ่านและเห็นมาแต่ไกลควรที่จะชะลอรถเพื่อเข้าเส้นรอสัญญาณไฟในทันที เพราะอุบัติในทุกวันนี้ส่วนใหญ่มาจากการฝ่าไฟเหลืองซึ่งทำให้เกิดผลเสียที่ตามมาอย่างมากมาย สำหรับผู้ใดที่ฝ่าฝืนมีความผิดตามมาตรา 22 โทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

8. ไม่แซงเส้นทึบ

ผู้ขับขี่สามารถพบเส้นประและเส้นทึบตามท้องถนนที่บ่งบอกถึงเส้นแบ่งการจราจรเอาไว้อย่างชัดเจน หากมีความจำเป็นที่ต้องการเปลี่ยนช่องทางจราจร สามารถเปลี่ยนได้บริเวณถนนที่มีเส้นประ การแซงบนเส้นทึบจึงทำให้เกิดอันตรายต่อเพื่อนร่วมถนนและมีความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มีโทษปรับไม่เกิน 400-1,000 บาท

9. ไม่จอดรถในที่ห้ามจอด

การจอดรถบนที่ห้ามจอดถือว่าเป็นสิ่งที่เราสามารถพบเห็นได้ในทุกวันนี้ ซึ่งเป็นผลเสียที่ก่อให้เกิดอันตรายได้ทุกเมื่อ โดยการจอดรถในบริเวณที่ห้ามจอด เช่น บริเวณทางร่วมทางแยก จอดรถบนทางเท้า หรือจอดรถกีดขวางการจราจร มีความผิดและเป็นอันตรายต่อผู้อื่นเป็นอย่างมาก โดยมีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท

ไม่จอดรถในที่ห้ามจอด

ในหมวดเดียวกัน