อุบัติเหตุบนท้องถนนสามารถเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุที่เกิดจากความประมาท ขับรถเร็วเกินกว่ากำหนด ขับรถด้วยความประมาท หรือปัญหาของการ เมาแล้วขับ ที่ถูกจัดว่าเป็นสาเหตุลำดับต้นๆ ของการเกิดอุบัติเหตุ โดยข้อมูลจากศูนย์วิชาการความปลอดภัยทางถนน ระบุว่า ผู้ขับขี่ที่บาดเจ็บและเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนในช่วงปีใหม่ 2564 ที่ผ่านมา ถูกตรวจพบว่ามีแอลกอฮอล์ในเลือดสูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันในปี 2563 มากถึง 17% โดยช่วงเทศกาลปีใหม่ 2564 ที่ผ่านมา มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตทั้งหมด 4,415 ราย ในขณะที่ข้อมูลระหว่างปี 2560-2564 คนไทยมีพฤติกรรมดื่มประจำถึง 44% ในจำนวน 1 ใน 3 หรือ 36% ของการดื่มหนัก และมีพฤติกรรมดื่มแล้วขับสูงถึง 31% เฉลี่ยดื่มครั้งแรกอายุเพียง 20 ปี เท่านั้น
ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมการเมาแล้วขับส่งผลความเสียหายอย่างร้ายแรงถึงแก่ชีวิตทั้งผู้ขับขี่และผู้อื่น วันนี้มาดูกันว่า คดีเมาแล้วขับ หรือ โทษเมาขับ จะเป็นอย่างไรกันบ้าง
บทลงโทษ เมาแล้วขับ มีอะไรบ้าง
บทลงโทษของการเมาแล้วขับ มีตั้งแต่การถูกเสียค่าปรับ ถูกยกเลิกใบขับขี่ ไปจนถึงขั้นจำคุก ซึ่งทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และความหนักเบาของเหตุการณ์ที่แตกต่างกันออกไป มาดูกันว่าบทลงโทษของการเมาแล้วขับจะมีอะไรบ้าง
สำหรับกฎหมายเมาแล้วขับ ถูกระบุเอาไว้ว่ามีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 5,000-20,000 บาท รวมทั้งยังถูกพักใช้ใบขับขี่ไม่ต่ำกว่า 6 เดือน และหากตรวจพบปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดได้ 20 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ สำหรับผู้ขับขี่ที่มีอายุน้อยกว่า 20 ปี บริบูรณ์ หรือผู้ขับขี่ที่มีใบอนุญาตขับรถชั่วคราวแบบ 2 ปี ถือว่าเป็นผู้เมาแล้วขับ ส่วนปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 5,000-20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ พร้อมกับถูกพักใช้ใบขับขี่ไม่น้อยกว่า 6 เดือน
ส่วนกรณีเมาแล้วขับจนส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุแล้วประกันภัยจะรับผิดชอบหรือไม่นั้น ซึ่งประกันภัยที่คุ้มครองอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นทางรถยนต์ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจ และประกันภัยภาคบังคับ
เมาแล้วขับ ประกันจ่ายไหม
ประกันภัยภาคสมัครใจที่เจ้าของรถได้ซื้อเพิ่มเติมนอกเหนือจากประกันภัยภาคบังคับ โดยให้ความคุ้มครองทั้งตัวบุคคลและทรัพย์สิน และถ้าหากตรวจพบแอลกอฮอล์ในเลือดเกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ประกันรถยนต์จะไม่คุ้มครองเด็ดขาดถึงแม้ว่าจะเป็นประกันรถยนต์ชั้น 1 ก็ตาม แต่ถ้าตรวจพบแอลกอฮอล์ในเลือดไม่เกิน 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ประกันรถยนต์ยังคงคุ้มครองทั้งสองฝ่าย
ประกันภัยภาคบังคับ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อว่า พ.ร.บ. เป็นประกันภัยที่บังคับให้รถทุกคันจดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก ซึ่งจะคุ้มครองทั้งผู้เอาประกันและคู่กรณีโดยที่ไม่มีการตรวจสอบความถูกหรือผิด แต่จะคุ้มครองเงินค่ารักษาพยาบาลหรือค่าปลงศพในกรณีที่เสียชีวิตให้กับทั้งสองฝ่าย
สุดท้ายนี้ ไม่ว่าจะเกิดอุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับโดยที่ไม่มีผู้เสียหายและเป็นเพียงแค่การจ่ายค่าปรับก็ไม่ควรทำอย่างเด็ดขาด เพราะถ้าหากเมื่อไหร่ที่คุณโชคร้ายจากการเมาแล้วขับแล้วเกิดอุบัติเหตุหนักจนทำให้สร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินถือว่ามีโทษร้ายแรงถึงที่สุด ดังนั้นเมื่อรู้ตัวว่าตัวเองเป็นสายดื่มหรือสายปาร์ตี้ ควรเลือกใช้บริการรถสาธารณะ แท็กซี่ หรือ Grab แทนการขับรถกลับบ้านด้วยตัวเอง ซึ่งเป็นทางออกที่ดีที่สุดเพื่อความปลอดภัยให้กับทุกคนบนท้องถนน
ดูเพิ่มเติม