14:46, 8 ก.ค. 2562

Toyota ร่วมมือกับ NEDO และ Sharp ติดตั้ง high-efficiency solar cells บนรถพลังงานไฟฟ้า เพิ่มระยะทางได้อีก 56 กม.

บันทึกรายการ

Toyota พัฒนาอีกขั้น ด้วยการทดสอบติดตั้งพลังงาน solar cells บนรถยนต์พลังงานไฟฟ้า เพิ่มระยะวิ่งได้ไกลกว่าเดิม 56 กิโลเมตร


Toyota ร่วมมือกับ NEDO และ Sharp ติดตั้ง high-efficiency solar cells บนรถพลังงานไฟฟ้า

โตโยต้าประกาศเมื่อ วันที่ 5 กรกฏาคม 2562 ว่า บริษัท กำลังเริ่มทดสอบพลังงานจากเซลล์แสงอาทิตย์ (solar cells) ประสิทธิภาพสูงใหม่ เพื่อใช้กับรถยนต์ไฟฟ้าซึ่งอาจเพิ่มช่วงระยะวิ่งได้ถึง 35 ไมล์ (56 กม.) ต่อวัน

แผง high-efficiency solar cells คลอบคลุมบริเวณฝากระโปรงหน้า หลังคา และกระโปรงหลัง

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาโตโยต้าพยายามรวมแผงโซลาร์เซลล์ไว้ในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเดิมที solar cells เป็นตัวเลือกติดตั้งใน Prius แต่มีขนาดเพียง 50 วัตต์เท่านั้น สำหรับใช้งานเล็กๆ อาทิ เปิดพัดลม AC หรือฟังก์ชั่นอื่นที่ใกล้เคียงกัน

พลังงานแสงอาทิตย์ สามารถแปลงเป็นพลังงานในแบตเตอรี่หลัก และใช้วิ่งได้จริง

ในปี 2016 ผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติญี่ปุ่นได้นำแผงโซลาร์รูฟมูลค่า 2,000 ดอลลาร์ มาติดตั้งใหม่อีกครั้ง สำหรับ Prius plug-in hybrid ใหม่ โดยระบบนี้มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม ถึง 180 วัตต์ อันที่จริง แผงพลังงาน solar cells สามารถเพิ่มพลังงานให้กับรถยนต์ระบบไฟฟ้าเท่านั้น โดยพลังงานที่ได้จาก solar cells สามารถเพิ่มระยะทางเพียงไม่กี่ไมล์จากเดิม

ล่าสุด โตโยต้าได้ร่วมมือกับ NEDO และ Sharp เพื่อเริ่มทดสอบการวิ่งของรถยนต์บนถนนจริง โดยมุ่งเน้น ประเมินประสิทธิผลด้านระยะทางที่วิ่งได้ และประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงของรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ติดตั้งแบตเตอรี่พลังงานแสงอาทิตย์ประสิทธิภาพสูง (high-efficiency solar cells) แบบใหม่

โดยรถที่ถูกติดตั้งแผง high-efficiency solar cells ทางโตโยต้ากล่าวว่า สามารถแปลงพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นพลังงานไฟฟ้าได้ในอัตรา 34% จากฝากระโปรงหลังคา และด้านหลัง ที่ถูกปกคลุมด้วยโซลาร์เซลล์ ผู้ผลิตรถยนต์กล่าวว่าระบบพลังงานแสงอาทิตย์สามารถสร้างพลังงาน 860 วัตต์ และเพิ่มช่วงระยะวิ่งจากเดิม ได้ถึง 56.3 กม. (35 ไมล์) ต่อวัน


ตารางเปรียบเทียบผลการทดสอบวิ่งจริง ของรถ Demo ที่ติดตั้ง high-efficiency solar cells

จากการเปรียบเทียบในตารางข้างต้น จะเห็นว่า การติดตั้งแผง high-efficiency solar cells นี้ สามารถใช้งานจากแบตเตอรี่หลักได้จริง ขณะที่รถกำลังขับเคลื่อน
ทั้งนี้ ทาง โตโยต้า ยังไม่ได้กล่าวถึงการติดตั้งในรถจริงสำหรับจำหน่าย เพียงแจ้งว่าจะมีแผนการทดสอบเพิ่มอีกครั้ง ในจังหวัดอื่นๆของญี่ปุ่น ซึ่งถือเป็นอีกก้าวหนึ่งที่น่าจับตามอง สำหรับพลังงานทดแทนในรถยนต์ ในกลุ่มรถที่ราคาจับต้องได้จริง

อ่านเพิ่มเติม

Khan-Chit

ในหมวดเดียวกัน