เดิมทีแล้ว เรือ Energy Observer ได้ถูกต่อขึ้นมาในปี 1983 เพื่อใช้ในการแข่งขันบนท้องทะเล ด้วยชัยชนะที่มากมายจนนับไม่ถ้วน และในปัจจุบันได้ถูกพัฒนาจนกลับกลายเป็นต้นแบบยานพาหนะพลังงานสะอาดบนผิวน้ำเสียแล้ว
Energy Observer คือเรือคาตามารันที่ถูกปรับเปลี่ยนให้กลายเป็นเรือแห่งอนาคต โดยเรือลำนี้สามารถเดินทางได้ด้วยตัวเอง และขับเคลื่อนด้วยพลังงานสะอาดอย่างไฮโดรเจนอีกด้วย หลังจากที่เรือ Energy Observer ได้เดินทางผจญภัยรอบโลกได้เป็นระยะเวลา 6 ปีแล้ว
และในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563 ทางบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่าจะเข้ามาร่วมเป็นพาร์ตเนอร์สนับสนุนโครงการเรือ Energy Observer และช่วยพัฒนาระบบเซลล์เชื้อเพลิงให้อีกด้วย
โดยมิติของเรือ Energy Observer มีดังนี้
แผงโซลาร์เซลล์บนเรือ Energy Observer
มีแผงโซลาร์เซลล์แบบ 2 หน้า เคลือบสารกันลื่นและออกแบบมาให้ดัดโค้งรับรูปทรงตัวเรือได้ กินพื้นที่รวม 130 ตารางเมตรติดตั้งกระจายปกคลุมด้านบนของลำเรือ สามารถเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งที่ตกกระทบจากด้านบน หรือสะท้อนจากผิวน้ำและลำตัวเรือให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้ด้วยกำลังงาน 21 กิโลวัตต์
กันหันลมเรือ Energy Observer
กังหันลมขนาด 1 กิโลวัตต์ จำนวน 2 ตัวถูกติดตั้งเอาไว้บริเวณส่วนหน้าของ Energy Observer มันสามารถเปลี่ยนเอาพลังงานกลจากแรงลมที่มาปะทะให้เป็นพลังงานไฟฟ้า
เซลล์เชื้อเพลิง Energy Observer
ทำหน้าที่ดึงเอาก๊าซไฮโดรเจนที่กักเก็บไว้มาเปลี่ยนเป็นพลังงานไฟฟ้า ช่วยให้เพิ่มพิสัยการแล่นของเรือในเวลาที่จำเป็นได้ ตัวเซลล์เชื้อเพลิงมีกำลัง 22 กิโลวัตต์ และต่อเข้ากับระบบปรับอากาศเพื่อนำเอาความร้อนส่วนเกินไปใช้งานด้วย ในยามที่ใช้งานเซลล์เชื้อเพลิงก็จะลดการใช้พลังงานของเครื่องทำความร้อนในระบบปรับอากาศไปพร้อมกัน
โตโยต้าพัฒนาระบบเซลล์เชื้อเพลิงสำหรับการใช้งานทางทะเลของเรือ Energy Observer โดยใช้พลังงานหมุนเวียนและระบบออนบอร์ดที่ผลิตไฮโดรเจนปราศจากคาร์บอนจากน้ำทะเล ในระหว่างที่จะปล่อยให้ Energy Observer เดินทางมีจุดประสงค์เพื่อพิสูจน์ว่าโลกที่มีพลังงานสะอาดสามารถเป็นไปได้ และเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางระบบนิเวศวิทยา สนับสนุนเครือข่ายพลังงานของวันพรุ่งนี้ เพื่อให้เครือข่ายมีประสิทธิภาพมากขึ้นและสามารถใช้งานได้ในวงกว้าง ทั้งยังสามารถเปิดประตูสู่การขยายตัวทางเศรษฐกิจใหม่อีกด้วย
ดูเพิ่มเติม