13:36, 24 ก.ค. 2562

TOYOTA นำพาหนะไฟฟ้าพิเศษสำหรับเคลื่อนย้ายผู้โดยสารในมหกรรมกีฬา TOKYO 2020

บันทึกรายการ

ใกล้เข้ามาแล้วสำหรับมหกรรมกีฬาแห่งมวลมนุษยชาติอย่าง โอลิมปิกเกมส์และพาราลิมปิกเกมส์ ในปี 2020 หรือในปีหน้าที่จะจัดขึ้น ณ มหานครโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งแน่นอนว่ายานพาหนะในการเดินทางไปมาในช่วงของการแข่งขันถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่เจ้าภาพต้องอำนวยความสะดวกแต่ในเมื่อการแข่งขันกีฬาระดับโลกกลับมาจัดขึ้นที่ญี่ปุ่นอีกครั้งทั้งทีแค่ยานพาหนะธรรมดาๆก็คงจะเป็นไปไม่ได้สำหรับมหาอำนาจทางนวัตกรรมยานยนต์ซึ่งล่าสุดทาง Toyota Motor ขอรับหน้าเสื่อนำยานพาหนะไฟฟ้าสำหรับเคลื่อนย้ายผู้โดยสารสุดไฮเทคหรือ APM คันนี้นี่เอง


TOYOTA APM ยานพาหนะไฟฟ้าสำหรับใช้โดยสารในมหกรรมกีฬา Tokyo 2020

สำหรับเจ้า APM (Accessible People Mover) คันนี้ ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษจากทางโตโยต้าตามแนวคิดของโตโยต้าที่ต้องการสร้างสรรค์ ‘การขับเคลื่อนสำหรับทุกคน’ (Mobility for All) โดยการให้บริการเคลื่อนย้ายผู้โดยสารในช่วงท้ายสุดของการเดินทาง (last one mile) เพื่ออำนวยความสะดวกผู้โดยสาร ที่เป็นนักกีฬา สตาฟโค้ชหรือเจ้าหน้าที่ รวมถึงผู้เข้าชมสำหรับมหกรรรมกีฬาในครั้งนี้ให้สามารถเดินทางไปถึงพื้นที่จัดการแข่งขันและสถานที่ต่างๆ ได้โดยสะดวกหรือจำนวนมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ 


TOYOTA APM ขับเคลื่อนด้วยพลังงานแบตเตอรรี่ไฟฟ้า (BEV)

นอกจากกลุ่มผู้ที่ต้องการใช้ยานพาหนะคันนี้ในข้างต้นทาง APM  คันนี้ยังเป็นยานพาหนะที่อำนวยความสะวดกสำหรับนักกีฬาหรือผู้ชมที่มีความต้องการพิเศษในกรณีต่างๆ เช่น ผู้สูงอายุ, ผู้ทุพลภาพ, สตรีมีครรภ์ หรือครอบครัวที่มาพร้อมกับเด็กเล็ก โดยบางส่วนจะถูกนำมาใช้เพื่อสนับสนุนการกู้ภัยตามสถานที่ต่างๆ ในช่วงฤดูร้อนในประเทศญี่ปุ่นนี้ด้วยซึ่งทางโตโยต้าจะนำ APM ประมาณ 200 คันมาใช้ในการสนับสนุนการรับ-ส่งผู้เข้าชมกีฬาและเจ้าหน้าที่ ให้สามารถเดินทางไปยังสถานที่จัดการแข่งขัน รวมถึงเพื่อเดินทางไปยังจุดต่างๆ ภายในบริเวณงานด้วย ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ที่ใช้ในการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่อง, สถานที่จัดการแข่งขัน หรือหมู่บ้านนักกีฬา ในช่วงเวลาของการแข่งขันกีฬาสองรายการใหญ่ระดับโลกครั้งนี้ด้วย


รองรับผู้โดยสารได้หลากหลายและผู้โดยสารที่ทุพพลภาพต้องใช้งวีลแชร์

สำหรับข้อมูลพื้นฐานของ APM  ในรุ่นมาตรฐาน (Basic Model)  โดยตัวรถเป็นรถโดยสารพลังงานไฟฟ้าแบบความเร็วต่ำที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ (BEV – Battery Electric Vehicle) ที่ในระยะใกล้เคียงเหมาะสำหรับการขนส่งผู้เข้าร่วมงาน และเจ้าหน้าที่ภายในบริเวณสถานที่จัดงานภายในตัวรถมีเบาะนั่ง 3 แถว แถวหน้าเป็นตำแหน่งสำหรับผู้ขับ, แถว 2 โดยสารได้ 3 คน และแถว 3 โดยสารได้ 2 คน รวมทั้งสิ้น 6 คน (ผู้ขับ 1 และผู้โดยสาร 5) เบาะผู้ขับถูกยกสูงและอยู่ตรงกลาง ผู้ขับสามารถมองเห็นผู้โดยสารได้อย่างชัดเจน และสามารถตอบสนองความต้องการของผู้โดยสารแต่ละคนระหว่างการเข้า-ออกยานพาหนะได้ สำหรับกรณีที่มีผู้โดยสารที่ใช้วีลแชร์ APM สามารถพับเบาะเพื่อให้มีการใช้งานร่วมกับวีลแชร์ได้ โดยที่ผู้โดยสารที่ใช้รถเข็นจะเข้ามาอยู่ในตำแหน่งบริเวณแถวที่ 2  เบาะนั่งของผู้โดยสารสามารถเข้าถึงได้จากด้านข้างของตัวรถทั้งฝั่งซ้ายและฝั่งขวา และมีการติดตั้งราวจับเพื่อความปลอดภัยทั้ง 2 ฝั่งเพื่อช่วยให้การเข้า-ออกของผู้โดยสารเป็นไปอย่างราบรื่น รวมทั้งมีตะขอยึดวีลแชร์และทางลาดให้สามารถเข้า-ออกได้อย่างสะดวก


เบาะนั่ง 3 แถว สามารถพับได้ตามการใช้งาน

นอกจากนี้ยังมีประเภทที่ออกแบบสำหรับใช้ในกิจการกู้ภัยเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินระหว่างการแข่งขัน ตัวรถใช้โครงสร้างพื้นฐานของรุ่นมาตรฐาน มีพื้นที่รองรับเจ้าหน้าที่กู้ภัยจำนวน 2 คน และพื้นที่ครึ่งหนึ่งของเบาะแถวที่ 2 และ 3 จะถูกสำรองเอาไว้สำหรับเตียงสนามที่มีมาพร้อมกับตัวรถ เพื่อให้สามารถขนส่งผู้บาดเจ็บได้อย่างมั่นคงและปลอดภัย เพื่อให้ผู้ที่โดยสารที่ต้องได้รับการช่วยเหลือได้อุ่นใจยิ่งขึ้นในการแข่งขันกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกในครั้งนี้

ดูเพิ่มเติม

  • TROLLER ปล่อยออฟโรดรุ่นย่อยใหม่ T4 Trial 2019 เอาใจลูกค้าแดนแซมบ้าด้วยดีไซน์การแต่งแบบครบเครื่อง
  • NEVS เร่งผลิต 9-3 EV ฃ รถพลังไฟฟ้าผู้ปลุกชีพ SAAB 9-3 ขึ้นมาอีกครั้ง
  • Palist

    ในหมวดเดียวกัน