15:50, 28 พ.ค. 2561

“เทคโนโลยีช่วยเหลือผู้ขับขี่” และ “ระบบขับขี่อัตโนมัติ” ต่างกันอย่างไร แล้วมีประโยชน์ต่อผู้ขับขี่หรือไม่ ???

บันทึกรายการ

ยังมีหลายคนรู้สึกสับสนกับคำว่า “เทคโนโลยีช่วยเหลือผู้ขับขี่” และ “รถขับขี่อัตโนมัติ” จึงทำให้เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดคำถามดราม่าที่ว่า ใครคือฝ่ายผิด และมันจะสามารถนำมาใช้ขับเคลื่อนรถยนต์แทนการขับขี่ของมนุษย์ได้ดีจริงหรือ

สถานการณ์บนถนน

อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนท้องถนนทุกวันนี้เรียกได้ว่าเกิดขึ้นแบบรายชั่วโมงเลยก็ว่าได้  ไม่อุบัติเหตุใหญ่ก็อุบัติเหตุเล็กๆ น้อยๆ  แต่ที่เราพบเห็นกันแบบชินตาก็คงจะเป็นอุบัติเหตุรถยนต์ชนกันรถยนต์ รถยนต์ชนกับรถมอเตอร์ไซต์ หรือเป็นแบบประสานงานกับรถบรรทุก และก็เป็นรถที่มีคนเป็นผู้ขับขี่ให้รถขับเคลื่อน แต่ ณ ปัจจุบันนี้โลกเราได้ก้าวล้ำมากด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยจึงได้มีการคิดค้นระบบการขับขี่แบบอัตโนมัติขึ้นมา  

ซึ่งถ้าเป็นอุบัติเหตุที่เกิดจากรถต่างๆ ทั่วไป ความผิดก็จะดูจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุนั้นมาจากฝ่ายไหน  แต่เมื่อมีระบบการขับขี่แบบอัตโนมัติแทรกเสริมเข้ามา ก็ทำให้มีเหตุดราม่าขึ้นมาว่าถ้าเกิดอุบัติเหตุ ใครคือฝ่ายผิด และมันจะสามารถนำมาใช้ขับเคลื่อนรถยนต์แทนการขับขี่ของมนุษย์ได้ดีจริงหรือ เพราะระบบการขับขี่แบบอัตโนมัตินั้นเป็นการขับขี่โดยใช้เทคโนโลยีโดยไร้คนขับ

ระบบขับขี่อัตโนมัติ

และนอกจากนี้ยังมีหลายคนรู้สึกสับสนกับคำว่า  “เทคโนโลยีช่วยเหลือผู้ขับขี่” และ “ระบบขับขี่อัตโนมัติ”  จึงทำให้เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดคำถามดราม่าที่ว่า ใครคือฝ่ายผิด และมันจะสามารถนำมาใช้ขับเคลื่อนรถยนต์แทนการขับขี่ของมนุษย์ได้ดีจริงหรือ ซึ่งจริงๆ แล้วหน่วยงานด้านวิศวกรรมขอสหรัฐอเมริกาได้กำหนดนิยามรถที่ใช้ระบบขับขี่อัตโนมัติไว้ 5  Level โดยเริ่มจาก  Level Zero  คือไม่มีแม้แต่ระบบการขับขี่อัตโนมัติใดๆ  ไปจนถึง  Level สูงสุดคือ Level 5 ซึ่งเป็นระบบการขับขี่อัตโนมัติอย่างเต็มรูปแบบที่สามารถควบคุมการขับขี่แทนผู้ขับขี่ได้ในทุกสถานการณ์ โดยที่ผู้ขับขี่ไม่ต้องทำอะไรเลยเพียงแค่นั่งเป็นผู้โดยสารแล้วให้ระบบการขับขี่อัตโนมัติทำงานแทน

เทคโนโลยีช่วยเหลือผู้ขับขี่

แต่เทคโนโลยีช่วยเหลือผู้ขับขี่นั้นจะอยู่ใน Level 2  ซึ่งใน Level นี้ผู้ขับขี่จะต้องวางมือทั้งสองข้างไว้ที่พวงมาลัยเพื่อแสดงความพร้อมที่จะควบคุมรถได้ตลอดเวลา  ถึงแม้ว่าจะมีเทคโนโลยีช่วยเหลือผู้ขับขี่ก็ตามแต่เทคโนโลยีนั้นก็ไม่ได้ช่วยขับขี่ได้ตลอดทุกสถานการณ์ เพราะฉะนั้นผู้ขับขี่จะต้องมีสติในการขับขี่เช่นเดียวกับการขับขี่รถโดยปกติ

แต่ถึงแม้ว่าทั้ง “เทคโนโลยีช่วยเหลือผู้ขับขี่” และ “ระบบขับขี่อัตโนมัติ”  จะเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยและสร้างขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือผู้ขับขี่ให้มีความสะดวกสบายและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น แต่ถึงเทคโนโลยีจะดีล้ำมากแค่ไหนก็ควรจะมองเป็นสองแง่ ทั้งดีและร้าย  เพราะไม่ว่าเทคโนโลยีจะก้าวล้ำไปมากแค่ไหน สิ่งที่ทำให้เทคโนโลยีนั้นก้าวล้ำออกมาได้ก็เพราะมนุษย์ เพราะฉะนั้นมนุษย์ย่อมฉลาดกว่าเทคโนโลยี และเมื่อมนุษย์คิดเทคโนโลยีนี้ขึ้นมาได้ก็ควรจะใช้แบบฉลาด และก่อนที่จะนำเทคโนโลยีทั้ง “เทคโนโลยีช่วยเหลือผู้ขับขี่” และ “ระบบขับขี่อัตโนมัติ”  ออกมาใช้กันอย่างแพร่หลายควรจะทำคู่มือวิธีการใช้งานออกมาให้ผู้ใช้งานเข้าใจได้ง่ายและปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง  และผู้ใช้งานเองก็อย่าชะล่าใจคิดว่าไม่จำเป็นต้องเรียนรู้อะไรมากมาย ใช้ๆ ไปเดี๋ยวก็เป็นเอง แต่ถ้าคุณคิดอย่างนั้นมันคือความคิดที่จะพาคุณไปสู่อุบัติเหตุ  เพราะเทคโนโลยีช่วยเหลือผู้ขับขี่ ถ้าผู้ขับขี่ใช้งานไม่เป็นหรือใช้งานไม่ชำนาญเมื่อขับขี่ไปบนท้องถนนแล้วเกิดความผิดพลาดหรือต้องมีการปรับเปลี่ยนโหมดการใช้งานผู้ขับขี่อาจจะต้องละสายตาไปจากถนนเป็นเวลานานและนั้นก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ หรือแม้กระทั่งระบบขับขี่อัตโนมัติเองก็ตามถ้าไม่รู้วิธีใช้งานระบบการทำงานที่ถูกต้องและชำนาญก็อาจจะทำให้เกิดการสั่งงานที่ผิดพลาดในช่วงเวลาคับขันก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้เช่นกัน

แต่ถ้าค่ายรถทำคู่มือแนะนำวิธีใช้งานอย่างละเอียดและเข้าใจง่าย ส่วนผู้ขับขี่ก็อ่านคู่มือให้เข้าใจอย่าถ่องแท้ ก็จะทำให้ “เทคโนโลยีช่วยเหลือผู้ขับขี่” และ “ระบบขับขี่อัตโนมัติ”   เป็นเทคโนโลยีที่มีประโยชน์ต่อผู้ขับขี่มากที่สุด เพราะเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยเหลือผู้ขับขี่ให้ขับขี่ได้อย่างปลอดภัย ลดอาการเมื่อยล้าในการขับขี่  และช่วยลดอุบัติเหตุได้มากเลยทีเดียว แต่ก็ต้องทำใจกันสักนิดเพราะเทคโนโลยีดีๆ ล้ำๆ แบบนี้ก็ต้องแลกมากับการจ่ายเงินเพื่อเป็นเจ้าของรถที่มี “เทคโนโลยีช่วยเหลือผู้ขับขี่” และ “ระบบขับขี่อัตโนมัติ” ไม่น้อยเลยทีเดียว

ดูเพิ่มเติม

สถานการณ์บนถนน

อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบนท้องถนนทุกวันนี้เรียกได้ว่าเกิดขึ้นแบบรายชั่วโมงเลยก็ว่าได้  ไม่อุบัติเหตุใหญ่ก็อุบัติเหตุเล็กๆ น้อยๆ  แต่ที่เราพบเห็นกันแบบชินตาก็คงจะเป็นอุบัติเหตุรถยนต์ชนกันรถยนต์ รถยนต์ชนกับรถมอเตอร์ไซต์ หรือเป็นแบบประสานงานกับรถบรรทุก และก็เป็นรถที่มีคนเป็นผู้ขับขี่ให้รถขับเคลื่อน แต่ ณ ปัจจุบันนี้โลกเราได้ก้าวล้ำมากด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยจึงได้มีการคิดค้นระบบการขับขี่แบบอัตโนมัติขึ้นมา  

ซึ่งถ้าเป็นอุบัติเหตุที่เกิดจากรถต่างๆ ทั่วไป ความผิดก็จะดูจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุนั้นมาจากฝ่ายไหน  แต่เมื่อมีระบบการขับขี่แบบอัตโนมัติแทรกเสริมเข้ามา ก็ทำให้มีเหตุดราม่าขึ้นมาว่าถ้าเกิดอุบัติเหตุ ใครคือฝ่ายผิด และมันจะสามารถนำมาใช้ขับเคลื่อนรถยนต์แทนการขับขี่ของมนุษย์ได้ดีจริงหรือ เพราะระบบการขับขี่แบบอัตโนมัตินั้นเป็นการขับขี่โดยใช้เทคโนโลยีโดยไร้คนขับ

ระบบขับขี่อัตโนมัติ

และนอกจากนี้ยังมีหลายคนรู้สึกสับสนกับคำว่า  “เทคโนโลยีช่วยเหลือผู้ขับขี่” และ “ระบบขับขี่อัตโนมัติ”  จึงทำให้เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดคำถามดราม่าที่ว่า ใครคือฝ่ายผิด และมันจะสามารถนำมาใช้ขับเคลื่อนรถยนต์แทนการขับขี่ของมนุษย์ได้ดีจริงหรือ ซึ่งจริงๆ แล้วหน่วยงานด้านวิศวกรรมขอสหรัฐอเมริกาได้กำหนดนิยามรถที่ใช้ระบบขับขี่อัตโนมัติไว้ 5  Level โดยเริ่มจาก  Level Zero  คือไม่มีแม้แต่ระบบการขับขี่อัตโนมัติใดๆ  ไปจนถึง  Level สูงสุดคือ Level 5 ซึ่งเป็นระบบการขับขี่อัตโนมัติอย่างเต็มรูปแบบที่สามารถควบคุมการขับขี่แทนผู้ขับขี่ได้ในทุกสถานการณ์ โดยที่ผู้ขับขี่ไม่ต้องทำอะไรเลยเพียงแค่นั่งเป็นผู้โดยสารแล้วให้ระบบการขับขี่อัตโนมัติทำงานแทน

เทคโนโลยีช่วยเหลือผู้ขับขี่

แต่เทคโนโลยีช่วยเหลือผู้ขับขี่นั้นจะอยู่ใน Level 2  ซึ่งใน Level นี้ผู้ขับขี่จะต้องวางมือทั้งสองข้างไว้ที่พวงมาลัยเพื่อแสดงความพร้อมที่จะควบคุมรถได้ตลอดเวลา  ถึงแม้ว่าจะมีเทคโนโลยีช่วยเหลือผู้ขับขี่ก็ตามแต่เทคโนโลยีนั้นก็ไม่ได้ช่วยขับขี่ได้ตลอดทุกสถานการณ์ เพราะฉะนั้นผู้ขับขี่จะต้องมีสติในการขับขี่เช่นเดียวกับการขับขี่รถโดยปกติ

แต่ถึงแม้ว่าทั้ง “เทคโนโลยีช่วยเหลือผู้ขับขี่” และ “ระบบขับขี่อัตโนมัติ”  จะเป็นเทคโนโลยีที่ทันสมัยและสร้างขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือผู้ขับขี่ให้มีความสะดวกสบายและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น แต่ถึงเทคโนโลยีจะดีล้ำมากแค่ไหนก็ควรจะมองเป็นสองแง่ ทั้งดีและร้าย  เพราะไม่ว่าเทคโนโลยีจะก้าวล้ำไปมากแค่ไหน สิ่งที่ทำให้เทคโนโลยีนั้นก้าวล้ำออกมาได้ก็เพราะมนุษย์ เพราะฉะนั้นมนุษย์ย่อมฉลาดกว่าเทคโนโลยี และเมื่อมนุษย์คิดเทคโนโลยีนี้ขึ้นมาได้ก็ควรจะใช้แบบฉลาด และก่อนที่จะนำเทคโนโลยีทั้ง “เทคโนโลยีช่วยเหลือผู้ขับขี่” และ “ระบบขับขี่อัตโนมัติ”  ออกมาใช้กันอย่างแพร่หลายควรจะทำคู่มือวิธีการใช้งานออกมาให้ผู้ใช้งานเข้าใจได้ง่ายและปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง  และผู้ใช้งานเองก็อย่าชะล่าใจคิดว่าไม่จำเป็นต้องเรียนรู้อะไรมากมาย ใช้ๆ ไปเดี๋ยวก็เป็นเอง แต่ถ้าคุณคิดอย่างนั้นมันคือความคิดที่จะพาคุณไปสู่อุบัติเหตุ  เพราะเทคโนโลยีช่วยเหลือผู้ขับขี่ ถ้าผู้ขับขี่ใช้งานไม่เป็นหรือใช้งานไม่ชำนาญเมื่อขับขี่ไปบนท้องถนนแล้วเกิดความผิดพลาดหรือต้องมีการปรับเปลี่ยนโหมดการใช้งานผู้ขับขี่อาจจะต้องละสายตาไปจากถนนเป็นเวลานานและนั้นก็เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ หรือแม้กระทั่งระบบขับขี่อัตโนมัติเองก็ตามถ้าไม่รู้วิธีใช้งานระบบการทำงานที่ถูกต้องและชำนาญก็อาจจะทำให้เกิดการสั่งงานที่ผิดพลาดในช่วงเวลาคับขันก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้เช่นกัน

แต่ถ้าค่ายรถทำคู่มือแนะนำวิธีใช้งานอย่างละเอียดและเข้าใจง่าย ส่วนผู้ขับขี่ก็อ่านคู่มือให้เข้าใจอย่าถ่องแท้ ก็จะทำให้ “เทคโนโลยีช่วยเหลือผู้ขับขี่” และ “ระบบขับขี่อัตโนมัติ”   เป็นเทคโนโลยีที่มีประโยชน์ต่อผู้ขับขี่มากที่สุด เพราะเทคโนโลยีเหล่านี้จะช่วยเหลือผู้ขับขี่ให้ขับขี่ได้อย่างปลอดภัย ลดอาการเมื่อยล้าในการขับขี่  และช่วยลดอุบัติเหตุได้มากเลยทีเดียว แต่ก็ต้องทำใจกันสักนิดเพราะเทคโนโลยีดีๆ ล้ำๆ แบบนี้ก็ต้องแลกมากับการจ่ายเงินเพื่อเป็นเจ้าของรถที่มี “เทคโนโลยีช่วยเหลือผู้ขับขี่” และ “ระบบขับขี่อัตโนมัติ” ไม่น้อยเลยทีเดียว

ดูเพิ่มเติม

บทความที่เกี่ยวข้อง

ในหมวดเดียวกัน