23:25, 12 ม.ค. 2566

ใบขับขี่มีกี่ประเภท บทความนี้มีคำตอบ

บันทึกรายการ

ใบอนุญาตขับขี่ หรือใบขับขี่ มีกี่ประเภท และ ประเภทใบขับขี่ แต่ละแบบมีความแตกต่างกันอย่างไร บทความนี้มีคำตอบ

ใบขับขี่มีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อผู้ขับรถทุกคน เพราะใบขับขี่จะเป็นเครื่องยืนยันได้ว่าบุคคลดังกล่าวมีศักยภาพที่ผ่านเกณฑ์ในการขับยานพาหนะต่าง ๆ ได้ ซึ่งใบขับขี่ประกอบไปด้วยหลายแบบหลายประเภท โดยขึ้นอยู่กับว่าบุคคลนั้นขับรถประเภทไหน หากผู้ขับขี่ไม่มีใบขับขี่หรือว่าใบขับขี่หมดอายุจะถือว่ามีความผิดกฎหมายจราจร และถ้าหากว่าโชคร้ายไปกว่านั้นเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นจะส่งผลเสียต่อผู้ที่ไม่มีใบขับขี่ได้เป็นอย่างมาก วันนี้มาดูกันว่า ใบขับขี่มีกี่ประเภท แต่ละประเภทมีความแตกต่างกันอย่างไร รวมทั้งใบขับขี่ บ.1-4 และ ท.1-4 คือ อะไร บทความนี้มีคำตอบ

ดูเพิ่มเติม: ไม่มีใบขับขี่ ปรับเท่าไหร่ ถ้าไม่จ่าย จะเกิดอะไรขึ้น ?

ใบขับขี่ คืออะไร

ใบขับขี่ หรือใบอนุญาตขับรถ คือเอกสารสำคัญที่ผู้ใช้รถจะต้องมีติดตัวเอาไว้ตลอดเวลาที่ขับรถ โดยเป็นใบอนุญาตที่สามารถขับรถยนต์ รถจักรยานยนต์ หรือรถประเภทอื่น ๆ ตามที่ได้รับอนุญาต ถ้าหากว่าถูกเจ้าหน้าที่เรียกตรวจแล้วพบว่าลืมใบขับขี่หรือไม่มีใบขับขี่จะถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย มีโทษทางแพ่ง และที่สำคัญจะเป็นการเสียสิทธิ์จากการได้รับความคุ้มครองจากประกันภัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับรถได้อีกด้วย โดยใบขับขี่ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  • ประเภทส่วนบุคคล (บ.)

สำหรับใบขับขี่ประเภทแรกคือ ใบอนุญาตส่วนบุคคล โดยส่วนใหญ่แล้วจะถูกออกให้ใช้เพื่อการขนส่งส่วนบุคคลที่มีแผ่นป้ายทะเบียนพื้นสีขาว ตัวอักษรและตัวเลขมีสีดำ

  • ประเภททุกประเภท (ท.)

ต่อมาประเภทที่สองคือใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถประเภททุกประเภท โดยจะใช้สำหรับรถสาธารณะที่มีแผ่นป้ายทะเบียนพื้นสีเหลือง สามารถใช้ทดแทน ใบอนุญาตขับรถส่วนบุคคลชั่วคราว และใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถสาธารณะได้

ใบขับขี่ บ.1-4 คือ

ใบขับขี่ บ.1-4 คือ ใบอนุญาตขับขี่ประเภทส่วนบุคคล (บ.) หรือสำหรับรถที่มีแผ่นป้ายทะเบียนพื้นสีขาว ตัวอักษรและตัวเลขสีดำ ใช้สำหรับรถขนส่งส่วนบุคคล หรือธุรกิจส่วนตัวที่ไม่ใช่เพื่อการรับจ้าง และเป็นรถที่จะต้องมีน้ำหนักเกินกว่า 1,600 กิโลกรัม

ชนิดของใบขับขี่

  • ใบอนุญาตขับรถชนิดชั่วคราว

ใบอนุญาตขับรถส่วนบุคคลชั่วคราว คือ

ใบขับขี่สำหรับคนที่เพิ่งเคยไปทำเป็นครั้งแรกและยังไม่เคยมีใบขับขี่มาก่อน

โดยถูกแบ่งย่อยออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ ใบอนุญาตขับรถยนต์ชั่วคราว 2 ปี

ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อชั่วคราว 2 ปี และใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์ชั่วคราว 2 ปี

ซึ่งผู้ทำจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี และมีค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่ายราคา 100 บาท

  • ใบอนุญาตขับรถส่วนบุคคลชั่วคราว

เป็นใบอนุญาตขับขี่รถที่จะได้หลังจากการใช้ใบขับขี่แบบชั่วคราวครบ 1 ปี

ซึ่งจะต้องมาดำเนินเรื่องขอทำใบอนุญาตขับรถยนต์ส่วนบุคคล โดยจะมีอายุการใช้งานได้ยาวถึง 5 ปี และมีค่าธรรมเนียมราคา 500 บาท

  • ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคล
  • สำหรับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์สามล้อส่วนบุคคล

    หรือรถตุ๊กตุ๊กมีเงื่อนไขเดียวกันกับชนิดอื่นคือเริ่มต้นด้วยการใช้แบบชั่วคราว

    หลังจากนั้นเปลี่ยนไปใช้แบบ 5 ปี โดยจะมีค่าธรรมเนียมราคา 250 บาท

  • ใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะ
  • ใบขับขี่ชนิดนี้ออกให้สำหรับผู้ที่มีความต้องการประกอบอาชีพขับรถยนต์ขนส่งสาธารณะ

    โดยจะต้องได้รับใบขับขี่ชั่วคราวมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หรือมีใบขับขี่ชนิดส่วนบุคคลอยู่

    และจะต้องมีอายไม่ต่ำกว่า 22 ปี โดยมีค่าธรรมเนียมราคา 300 บาท

    ดูเพิ่มเติม: ใบขับขี่สาธารณะ ทำยังไงบ้าง ยุ่งยากรึเปล่า?

  • ใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อสาธารณะ
  • ใบขับขี่ชนิดนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการประกอบอาชีพขับรถยนต์สามล้อสาธารณะหรือรถตุ๊กตุ๊ก

    ซึ่งจะต้องได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์สามล้อส่วนบุคคลมาแล้ว 1 ปี หรือแบบตลอดชีพ

    และต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 22 ปี มีค่าธรรมเนียมราคา 150 บาท

  • ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์
  • หลายคนที่ขับรถมอเตอร์ไซค์คงคุ้นเคยกับบัตรชนิดนี้กันเป็นอย่างดี

    เป็นระบบเดียวกันกับชนิดอื่นคือเริ่มต้นจากชั่วคราวแล้วกลายไปเป็นชนิด 5 ปี

    หรือต้องการต่ออายุใบขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล โดยมีค่าธรรมเนียมราคา 250 บาท

  • ใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะ
  • สำหรับชนิดนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการประกอบอาชีพวินมอเตอร์ไซค์รับจ้าง

    โดยจะต้องได้รับใบขับขี่จักรยานยนต์ชั่วคราวมาแล้ว 1 ปี หรือมีใบขับขี่ส่วนบุคคลอยู่แล้ว

    และมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี ซึ่งใบอนุญาตขับรถจักรยานยนต์สาธารณะอายุ 3 ปี มีค่าธรรมเนียม 150 บาท

  • ใบอนุญาตขับรถบดถนน
  • สำหรับผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถบดถนนจะต้องผ่านการอบรมตามหลักสูตรกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

    ทั้งเรื่องความปลอดภัยและมารยาทในการขับขี่ และจะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี มีค่าธรรมเนียม 250 บาท

  • ใบอนุญาตขับรถแทรกเตอร์
  • สำหรับผู้ที่ต้องขอใบขับขี่ชนิดนี้เพื่อใช้ในการทำเกษตรกรรมต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี

    ส่วนใบขับขี่ชนิดนี้มีอายุ 5 ปี และมีค่าธรรมเนียม 250 บาท

  • ใบอนุญาตขับรถชนิดอื่น
  • สำหรับใบขับขี่ชนิดนี้คือใบสำหรับผู้ขอรับใบอนุญาตขับรถชนิดอื่น ๆ

    นอกเหนือจากที่กล่าวมาทั้งหมด โดยจะมีอายุ 5 ปี และมีค่าธรรมเนียม 100 บาท

  • ใบขับขี่สากล
  • สำหรับใบขับขี่สากลหรือใบอนุญาตขับรถระหว่างประเทศ

    ผู้ที่สามารถทำใบขับขี่ชนิดนี้ได้จะต้องมีใบขับขี่รถส่วนบุคคลชนิด 5 ปี หรือตลอดชีพแล้ว

    ถึงจะสามารถยื่นคำขอทำเรื่องได้ โดยมีอายุการใช้งาน 1 ปี ค่าธรรมเนียม 500 บาท

    อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญของผู้ที่ขับรถคือการพกใบขับขี่ทุกครั้งที่ขับรถ และทางที่ดีควรพกติดกระเป๋าเงินเอาไว้ตลอดเวลา เผื่อบังเอิญเจอเจ้าหน้าที่เรียกตรวจใบขับขี่ก็จะได้ไม่เป็นความผิดทางกฎหมายจราจรและจะได้ไม่ต้องเสียค่าปรับอีกด้วย

    ติดตามข่าวล่าสุดได้ที่: https://khaorot.com/

    ในหมวดเดียวกัน