10:43, 15 ม.ค. 2562

วิธีแก้ไขเมื่อรถติดหล่ม จากเรื่องยากกลายเป็นเรื่องง่ายในพริบตา

บันทึกรายการ

เรียกว่าเป็นปัญหาปราบเซียนเลยก็ว่าได้ สำหรับรถยนต์ที่บางทีก็ดั๊นไปติดหล่มเข้า แล้วจะทำยังไงให้รถหลุดจากหล่มได้บ้าง?

บางครั้ง การเดินทางไปต่างจังหวัดหรือไปสถานที่ที่ไม่ชินกับถนน อาจจะทำให้ไปเจอกับเหตุการณ์ไม่คาดคิดเลยก็ได้ โดยเฉพาะรถติดหล่ม ไม่ว่าจะมากหรือน้อย นอกจากจะทำให้รถสุดที่รักต้องเลอะโคลนแล้วยังอาจจะส่งผลให้ระบบภายในของเครื่องยนต์มีปัญหาก็ได้หากนำรถออกจากหล่มแบบผิดวิธี ซึ่งถ้าหากขับรถตกหล่มแล้วใช้งานผ้าเบรกขณะเปียกมากเกินไป อาจทำให้ผ้าเบรกหยุดทำงานหรือไม่สามารถใช้งานได้อีกเลยก็เป็นได้ ก่อให้เกิดอันตรายต่อคุณเองรวมถึงผู้ขับขี่บนท้องถนนอีกด้วย เพราะฉะนั้น ถ้าหากขับรถตกหล่มหรือแอ่งน้ำ สิ่งที่ควรปฏิบัติคือ ค่อยๆ เหยียบเบรกเพื่อเพิ่มความร้อนและการเสียดสีให้ผ้าเบรกแห้ง

อย่างไรก็ตาม หากรถติดหล่มแล้ว มีวิธีแก้ไขง่ายๆได้ดังต่อไปนี้

ปัญหารถติดหล่มที่แก้ไขได้ยาก

1. ให้ลองสลับเดินหน้ากับถอยหลัง หากสังเกตแล้วว่ารถพอขยับได้ให้คิดไว้ก่อนเลยว่ายังไม่ได้ ติดหล่มหนักจนเกินไป ให้ผู้ขับเดินหน้าและถอยหลังสลับกันเป็นระยะที่ใกล้เคียงกันเพื่อให้รถเกิดแรงเหวี่ยง จนเมื่อถึงจังหวะที่ล้อรถขึ้นมาสูงแล้วให้เหยียบคันเร่งทันที เพื่อที่จะส่งผลให้ล้อหลุดออกมาจากหล่มได้นั่นเอง

2. ใช้วัสดุจำพวกก้อนหินหรือท่อนไม้ที่แข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักรถยนต์ได้มาหนุนด้านที่ต้องการนำล้อรถออก เช่น ตั้งใจจะเดินหน้าออกจากหล่ม ให้นำก้อนหินหรือท่อนไม้ที่มีขนาดพอเหมาะวางไว้ด้านหน้า เพราะวัสดุเหล่านี้จะช่วยเพิ่มแรงเสียดทานระหว่างล้อกับพื้น ทำให้รถมีแรงผลักตัวเองขึ้นจนหล่มได้ ผสมกับการเร่งเครื่องไปพร้อมๆกัน

3. การใช้อุปกรณ์ช่วย อย่างเช่น โซ่ผูกล้อ แน่นอนว่าจะต้องมีคนมาช่วยด้วย วิธีนี้ไม่สามารถทำได้ด้วยตัวคนเดียวหรือสองคน จะต้องอาศัยการดึงด้วย วิธีนี้นิยมกันมากในประเทศที่มีหิมะ แน่นอนว่าสามารถแก้ไขได้อย่างเห็นผลกันเลยทีเดียว

การใช้อุปกรณ์ช่วยเมื่อรถติดหล่ม

4. การลากรถให้ออกมาจากหล่ม ถือว่าเป็นวิธีที่นิยมกันมากที่สุดในกรณีที่ติดหล่มหนัก วิธีนี้เจ้าของรถจะต้องรู้ว่าจุดที่ใช้ในการลากรถของตนเองนั้นอยู่ส่วนใด เพื่อที่จะได้ทำการพ่วงอุปกรณ์ลาก หากไม่รู้ก็ให้ศึกษาจากคู่มือที่ติดมาพร้อมกับรถยนต์ของตนเอง แน่นอนว่าการลากรถสามารถทำได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลังของตัวรถ ต้องมีความชำนาญและความพร้อมพอสมควร โดยเฉพาะจุดหรือตำแหน่งที่ใช้ลากรถ หากทำผิดจุดจะส่งผลให้เครื่องยนต์หรือตัวรถเสียหายได้ถือว่าเป็นงานช้างเลยก็ว่าได้ อีกกรณีก็คือ ระหว่างการลากรถจะต้องติดเครื่องไว้ และให้มีผู้ขับขี่ช่วยเร่งเครื่องของรถที่ติดหล่มไปด้วย ยิ่งเมื่อเป็นเกียร์ออโต้ หากลากในสภาพที่รถยังอยู่ที่เกียร์ P จะทำให้ระบบขับเคลื่อน เฟือง และเพาของรถเสียหายได้จนเกิดปัญหาใหญ่ตามมาในอนาคต

.......

อ่านเพิ่มเติม : 

BearsSmiley

ในหมวดเดียวกัน