14:46, 7 มิ.ย. 2561

รู้ไหมว่าถุงลมนิรภัยในรถยนต์ทำงานยังไง?

บันทึกรายการ

นอกจากเข็มขัดนิรภัยที่ช่วยป้องกันอันตรายจากการขับขี่แล้ว ยังมีอีกอุปกรณ์หนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันนั่นก็คือ ถุงลมนิรภัย หรือ Air bag ซึ่งหลายคนคุ้นเคยกันดี


ถุงลมนิรภัยในรถยนต์

หากไม่นับรถรุ่นเก่าราคาประหยัดแล้ว รถรุ่นใหม่ทุกชนิดต่างก็ติดตั้งถุงลมนิรภัยมาจากทางโรงงานทั้งนั้น มีตั้งแต่ 1 จุด ในรถกระบะรุ่นปกติ ไปจนถึงรถราคาสูงเช่น Mercedes - Benz  ที่มีมากกว่า 6 จุดด้วยกัน เป็นที่ทราบกันดีว่าเจ้าถุงลมนี้จะช่วยลดแรงกระแทกเมื่อเกิดอุบัติเหตุได้ แต่จะมีสักกี่คนที่ทราบกลไลการทำงาน แล้วถุงลมนิรภัยจะทำงานเมื่อไหร่ หรือแค่ทุบตรงจุดติดตั้งก็พองออกมา วันนี้เรามีคำตอบให้คุณ


ถุงลมนิรภัยทำมาจากผ้าที่มีน้ำหนักเบา

ถุงลมนิรภัยในรถยนต์ ทำมาจากผ้าที่มีน้ำหนักเบา มีคุณสมบัติในการยืดหยุ่นสูง สามารถพองตัวในทิศทางที่กำหนดได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับแต่ละค่ายว่าจะเลือกใช้วัสดุผ้าแบบใด 

การทำงานของถุงลมนิรภัย

ระบบการทำงานของภุงลมนิรภัยจะประสานกับหลายจุดด้วยกัน เพื่อประเมินความรุนแรงและสั่งการให้ถุงลมพองตัวออกมา โดยหลักก็จะมี Crash sensor (ตัวตรวจจับการชน) ซึ่งมักติดตั้งที่บริเวณกันชนหน้า กันชนหลัง และด้านข้าง เมื่อมีการชนเกิดขึ้น ตัว ACU (Air bag Control Unit ) จะทำการประเมินแรงกระแทก ความเร็ว เบรก เพื่อตีค่าระดับความรุนแรง เมื่อเห็นว่าอยู่ในระดับอันตรายตัว Crash sensor ก็จะส่งสัญญาณความร้อนไปที่ตัวบรรจุโซเดียมเอไซด์ (sodium azide, NaN3) เพื่อให้เกิดปฏิกิริยากลายเป็นแก๊สไนโตรเจนและทำให้ถุงลมพองตัวในที่สุด โดยขั้นตอนต่างๆเหล่านี้เกิดขึ้นเพียง 0.04 วินาทีเท่านั้น หลังเกิดเหตุแล้วถุงลมก็จะฟีบตัวเองโดยอัตโนมัติโดยแรงดันแก๊สในถุงลมระถูกปล่อยออกมา เพื่อให้คนในรถออกมาได้สำดวกและไม่ขัดขวางการช่วยเหลือคนในรถ แต่ถ้าระบบประเมินแล้วว่าไม่อันตรายต่อผู้ที่อยู่ในรถ เช่น แรงทุบเบาๆที่จุดติดตั้ง ตัวถุงลมนิรภัยก็จะไม่พองออกมา


การทำงานของถุงลมนิรภัย

จะเห็นได้ว่า การทำงานของถุงลมนิรภัยนี้ได้มีการคำนวนค่าต่างๆให้ระบบทุกส่วนทำงานอย่างสอดคล้องกัน เพื่อให้ผู้ขับขี่มีความปลอดภัยสูงสุด การติคตั้งถุงลมนิรภัยจึงเป็นสิ่งที่สมควรกระทำ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับทุนทรัพย์และการใช้งานของเราด้วย แต่อย่างน้อยควรติดตั้ง 2 จุด บริเวณที่นั่งด้านหน้าและฝั่งคนขับ รวมถึงขับขี่อย่างระมัดระวังเพื่อความปลอดภัยของคุณและคนที่คุณรัก

ดูเพิ่มเติม:
มือใหม่หัดขับรถยนต์ ควรปฏิบัติอย่างไร กับการออกถนนครั้งแรก
5 เทคนิคดูแลรถยนต์ในหน้าฝนที่ต้องรู้ !

ครรชิต

ในหมวดเดียวกัน