11:00, 26 มิ.ย. 2561

รถใหญ่ชนรถเล็ก ใครผิดกันแน่ ?!

บันทึกรายการ

ถือเป็นสิ่งที่จำฝังใจคนไทยมาช้านานกับประโยคที่กล่าวว่า “รถใหญ่ชนรถเล็ก รถใหญ่ผิดเสมอ” สร้างค่านิยมให้ผู้ขับขี่บางรายใช้เป็นข้ออ้างเมื่อประสบเหตุเฉี่ยวชนกับรถที่มีขนาดใหญ่กว่าเสมอเรามาฟังคำตอบกันครับว่าผิดจริงหรือไม่


รถยนต์ชนรถจักรยานยนต์ ใครผิด?

กลายเป็นวลียอดฮิตเมื่อผู้ขับขี่รถขนาดเล็กประสบเหตุเฉี่ยวชนกับรถที่มีขนาดใหญ่กว่าแล้วหยิบยกเอาประโยคนี้ขึ้นมาอ้าง หรือ ผู้ขับขี่บางรายอาจเคยได้ยินมาตั้งแต่เมื่อครั้งเยาว์วัยที่บิดามารดารวมถึงญาติที่เป็นผู้ใหญ่มักจะพูดให้ได้ยินอยู่เสมอว่าเมื่อขับรถยนต์แล้วชนรถจักรยานยนต์ผู้ที่ขับรถยนต์ย่อมตกเป็นฝ่ายผิด หากนำมาสอบถามผู้รู้กฎหมายที่แท้จริงแล้วกลับพบว่าประโยคข้างต้นนั้นถือเป็นการเข้าใจผิดคิดกันไปเองแทบทั้งสิ้น

เนื่องจากไม่มีประมวลกฎหมายรูปแบบใดทั้งในประเทศรวมถึงต่างประเทศที่ใช้หลักในการพิจารณาว่าเมื่อมีผู้ประสบเหตุรถใหญ่ (รถยนต์) เฉี่ยวชนกับรถเล็ก (รถจักรยานยนต์) แล้วรถยนต์จะตกเป็นฝ่ายผิด เนื่องจากหากมีอุบัติเหตุรถเฉี่ยวชนกันการพิจารณาคดีของศาลย่อมต้องมองถึงองค์ประกอบโดยรวมว่าฝ่ายใดเป็นผู้ประมาทก่อนเป็นอันดับแรก และ ยังเป็นต้นเหตุให้เกิดอุบัติเหตุรถเฉี่ยวชนกันฝ่ายนั้นจึงตกเป็นฝ่ายที่ผิดไม่ใช่ขนาดของรถตามที่เข้าใจกัน

โดยรวมแล้วศาลจะใช้วิธีการพิจารณาจาก 2 สาเหตุหลัก ได้แก่ 1. พฤติการณ์ของคนขับรถในแต่ละคัน ฝ่ายใดเป็นฝ่ายที่ประมาท หรือ มีความประมาทมากกว่า ซึ่งผู้ก่อเหตุอาจไม่ต้องรับผิดชอบทั้งหมดแต่เพียงผู้เดียวหากศาลตัดสินว่าเป็นการประมาทร่วมต้องดำเนินการเจรจาไกล่เกลี่ยร่วมกันทั้งสองฝ่าย

เช็กเลย รถเล็กราคาถูก ใช้งานดี


รถใหญ่ชนรถเล็กอาจไม่ผิดเสมอไป

2. การฝ่าฝืนกฎจราจร หากฝ่ายใดมีการฝ่าฝืนกฎจราจรมากกว่าฝ่ายคู่กรณีให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าฝ่ายที่ไม่ปฏิบัติตามกฎจราจรเป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 59 วรรค 4 การกระทำโดยประมาทได้แก่การกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมัดระวังซึ่งบุคคลในภาวะเช่นนั้นจะต้องกระทำตามวิสัย และ พฤติการณ์ ผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้แต่หาได้ใช้ให้เพียงพอไม่

ทั้งนี้การกล่าวหาว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ผิดยังต้องดูวิสัย และ พฤติการณ์ของผู้ขับขี่ประกอบด้วย เช่น ความมึนเมา อายุ โรคประจำตัว ประวัติการใช้สารเสพติด กายภาพ สุขภาพ รวมถึงสติในขณะขับขี่ด้วย เหล่านี้ล้วนนำมาให้เป็นหลักเกณฑ์ประกอบในการพิจารณาคดีของศาลทั้งสิ้นเพื่อระบุว่าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดพร้อมทั้งมีความประมาทมากกว่ากัน

สำหรับผู้ขับขี่ที่ประสบเหตุขับรถยนต์เฉี่ยวชนกับรถจักรยานยนต์ไม่ต้องกังวลว่าจะเป็นฝ่ายผิดเสียอย่างเดียวเพราะยังต้องมีการนำองค์ประกอบอื่นอันส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุอีกหลายประการมาประกอบการตัดสินในชั้นศาลครับ 

ดูเพิ่มเติม:

  • “เทคโนโลยีช่วยเหลือผู้ขับขี่” และ “ระบบขับขี่อัตโนมัติ” ต่างกันอย่างไร แล้วมีประโยชน์ต่อผู้ขับขี่หรือไม่ ???
  • ถ้าออกตัวรถด้วยเกียร์ 2 บ่อยๆ ระวังรถพังไม่รู้ตัว
  • มนัส ช่วยบำรุง

    ในหมวดเดียวกัน