หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่รู้ว่า ผู้พิการสามารถทำใบขับขี่ได้ แต่มีข้อแม้ว่าต้องไม่มีพิการหรือทุพพลภาพหนักจนส่งผลต่อการขับขี่ สำหรับรถที่ใช้ขับนั้นจะต้องมีการดัดแปลงอย่างเหมาะสม และต้องผ่านการตรวจสอบมาตรฐานจากวิศวกรเสียก่อน เพื่อยืนยันว่าขับแล้วจะปลอดภัยกับผู้ขับขี่เอง รวมถึงผู้ใช้รถคนอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน
ที่จอดคนพิการ มีไว้เอื้อเฟื้อแก่คนพิการ/คนชรา
ในลานจอดรถตามสถานที่ต่าง ๆ จึงต้องมี ที่จอดรถคนพิการ ไว้เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้พิการ หรือทุพพลภาพ รวมถึงคนชรา โดยจะต้องออกแบบที่จอดรถผู้พิการให้มีพื้นที่มากพอสำหรับการเตรียมตัวและอุปกรณ์ อาทิ รถเข็น หรือไม้เท้า ฯลฯ พร้อมสร้างพื้นที่ให้ผู้พิการและผู้ดูแลสามารถเข้า-ออกได้อย่างไม่ลำบาก ถึงที่หมายได้อย่างรวดเร็ว ไม่ต้องเดินไกล ๆ และไม่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
กฎกระทรวง ระบุไว้ว่า ที่จอดคนพิการจะต้องเป็นพื้นผิวเรียบเสมอกัน โดยต้องเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมพื้นผ้าที่มีความกว้างไม่ต่ำกว่า 2.4 เมตร ยาวไม่น้อยกว่า 6 เมตร และต้องมีระยะห่างข้างตัวรถไม่ต่ำกว่า 1 เมตร ที่สำคัญยังต้องมีสัญลักษณ์รูปคนพิการที่เห็นได้ชัดเจน และมีความกว้าง-ความยาวไม่ต่ำกว่า 900 มิลลิเมตร อยู่ในช่องนั้น ๆ ด้วย
นอกจากนี้ ยังต้องมีป้ายแสดงที่จอดรถผู้พิการ หรือทุพพลภาพ และคนชรา ขนาดกว้างและยาวไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร ติดตั้งอยู่สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 2 เมตร หรือติดตั้งบนผนังของช่องจอดรถ ขนาดกว้างและยาวไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร อยู่สูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 1.20 เมตร
ที่จอดรถคนพิการต้องเป็นพื้นผิวเรียบเสมอกัน
ตามกฎกระทรวงกําหนดสิ่งอํานวยความสะดวกในอาคารสําหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา พ.ศ. 2548 ระบุไว้ว่า สถานที่สาธารณะต่าง ๆ เช่น สถานที่ราชการ โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า ตลาด โรงแรม ฯลฯ จะต้องมีที่จอดคนพิการ
สถานที่สาธารณะต่าง ๆ ต้องมีที่จอดรถผู้พิการ
ว่ากันตามกฎหมาย ที่จอดรถผู้พิการ ไม่ได้ปรากฏสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายห้ามจอดแต่อย่างใด หากถามว่าจอดแล้วผิดกฎหมายหรือไม่ คำตอบคือไม่ผิดกฎหมาย แต่ควรเอื้อเฟื้อไว้ให้คนพิการและทุพพลภาพ รวมถึงคนชรา ซึ่งจัดว่าเป็นบุคคลที่มีข้อจำกัดในการดำเนินชีวิต ได้ใช้เพื่อความสะดวกสบายจะดีกว่า
ที่ จอด รถ ผู้ พิการ ต้องมีสัญลักษณ์คนพิการที่เห็นได้ชัดเจน
อ่านเพิ่มเติม >>