17:45, 13 ธ.ค. 2562

10 ค่าปรับจราจร ที่คนทำผิดโดนปรับ คนแจ้งจับได้เงิน

บันทึกรายการ

รวม 10 ค่าปรับจราจร ที่ผู้กระทำผิดโดนปรับ ส่วนคนแจ้งจับได้รับส่วนแบ่งค่าปรับจราจรถึง 50% มีข้อหาอะไรบ้างนะ? มาดูกัน!

2. ดัดแปลง หรือแต่งเติมอุปกรณ์ส่วนควบ (รถยนต์ส่วนบุคคล)

  • ปรับ 2,000 บาท
  • คนแจ้งได้ 1,000 บาท

หากรถคันใดมีการดัดแปลง หรือเพิ่มเติมอุปกรณ์ส่วนควบ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ร่างกายและจิตใจผู้อื่น เช่น รถกระบะต่อเติมตัวถังหรือโครงหลังคาเกิน 3 เมตร เป็นต้น จะถือว่าฝ่าฝืนความผิด ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 มาตราที่ 12 และถูกปรับสูงสุด 2,000 บาท 

3. ดัดแปลงป้ายทะเบียน, นำวัสดุอื่นมาปิดบัง (รถยนต์ส่วนบุคคล)

  • ปรับ 2,000 บาท
  • คนแจ้งได้ 1,000 บาท

การนำวัสดุอื่นมาปิดบังแผ่นป้ายทะเบียน ได้แก่

  • แขวนตุ๊กตาบังป้ายทะเบียน
  • ปิดแผ่นทองบนป้ายทะเบียน
  • เติมตัวเลขบนป้ายทะเบียนรถ
  • ใช้กรอบแผ่นป้ายลายกราฟฟิกทับป้ายทะเบียน
  • ตัดแผ่นป้ายทะเบียน

จนทำให้ไม่สามารถมองเห็นตัวอักษร, ตัวเลข หรือจังหวัดได้ชัดเจน จะถือว่ามีความผิด และต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 มาตราที่ 11 ที่ระบุไว้ว่า

“... รถที่จดทะเบียนแล้ว ต้องมีและแสดงแผ่นป้ายและเครื่องหมาย ครบถ้วนถูกต้องตามที่กําหนดในกฎกระทรวง…”

ดูเลย:  ไขข้อข้องใจสำหรับรถแต่ง ที่ปรับป้ายทะเบียนรถให้ยาวขึ้นหรือปรับแต่งป้ายทะเบียน

4. ดัดแปลงหรือแก้ไขขนาดล้อให้ล้นเกินตัวถัง (รถยนต์ส่วนบุคคล)

  • ปรับ 2,000 บาท
  • คนแจ้งได้ 1,000 บาท

สำหรับรถคันที่มีการดัดแปลงหรือแก้ไขขนาดล้อให้ล้นเกินตัวถัง จะถือว่าฝ่าฝืนความผิด ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 มาตราที่ 12 และถูกปรับสูงสุด 2,000 บาท

5. อุปกรณ์ส่วนควบไม่แข็งแรง (รถยนต์ส่วนบุคคล)

  • ปรับ 2,000 บาท
  • คนแจ้งได้ 1,000 บาท

การใช้รถที่มีสภาพ และมีอุปกรณ์ส่วนควบไม่มั่นคงแข็งแรง หรือไม่ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด เท่ากับว่าเจ้าของรถได้กระทำความผิด ฐานฝ่าฝืนกฎหมายตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 มาตราที่ 12 ระวางโทษปรับ 2,000 บาท และอาจมีความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกตามมาตรา 71 มีโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท

6. รถรับจ้าง ปฏิเสธผู้โดยสาร (รถรับจ้าง)

  • ปรับ 5,000 บาท
  • คนแจ้งได้ 2,500 บาท

หากผู้ขับขี่รถรับจ้างคันใดปฏิเสธผู้โดยสาร หมายความว่า ได้กระทำความผิดได้ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 และต้องโทษปรับสูงสุด 5,000 บาท (ตามกฎหมายใหม่) ตามมาตรา 57 จัตวา ที่ระบุเอาไว้ว่า

“...ในขณะที่อยู่ในระหว่างการรับจ้างบรรทุกคนโดยสาร ผู้ขับ รถยนต์สาธารณะหรือรถจักรยานยนต์สาธารณะจะปฏิเสธไม่รับจ้างบรรทุกคนโดยสารมิได้เว้นแต่การ บรรทุกนั้นน่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ตนหรือแก่คนโดยสาร…”

7. ไม่กดมิเตอร์ (รถรับจ้าง)

  • ปรับ 1,000 บาท
  • คนแจ้งได้ 500 บาท

สำหรับแท็กซี่ที่ไม่กดมิเตอร์ จะถือว่าฝ่าฝืนความผิด และเปรียบเทียบปรับตามมาตรา 5 (2) ฐานไม่ใช้มาตรค่าโดยสาร (มิเตอร์) เป็นเงิน 1,000 บาท และเปรียบเทียบปรับตามมาตรา 6 (1) ฐานใช้รถไม่จดทะเบียน (รถหมดอายุ) เป็นเงิน 1,000 บาท นอกจากนี้ ผู้ขับรถจะถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับรถเป็นเวลา 1 เดือน และยึดแผ่นป้ายทะเทียนรถทันที

8. แสดงกิริยา วาจาไม่สุภาพ (รถรับจ้าง)

  • ปรับ 1,000 บาท / 2,000 บาท
  • คนแจ้งได้ 500 บาท / 1,000 บาท

หากผู้ขับรถโดยสารสาธาระณะกล่าววาจาไม่สุภาพ เสียดสีดูหมิ่น ก้าวร้าวต่อผู้โดยสาร เท่ากับว่าได้กระทำความผิด และต้องจ่ายค่าปรับไม่เกิน 1,000 บาท ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 มาตรา 57 ฉ (2)

“...ผู้ขับรถยนต์สาธารณะหรือรถจักรยานยนต์ต้องไม่กล่าววาจาไม่สุภาพ เสียดสีดูหมิ่น ก้าวร้าวหรือแสดงกิริยาในลักษณะ ดังกล่าวต่อคนโดยสารสาธารณะ...”

รวมไปถึงต้องระวางโทษปรับสูงสุด 2,000 บาท ฐานมีผิดตามพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 102 (2) ที่ระบุไว้ว่า

“...ผู้ได้รับใบอนุญาตปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้ประจํารถต้องไม่แสดงกิริยาหรือใช้ถ้อยคําเป็นการเสียดสี ดูหมิ่น ก้าวร้าว รังแก รบกวน หรือ หยาบหยามผู้หนึ่งผู้ใด หรือแสดงกิริยาวาจาหรือส่งเสียงด้วยประการหนึ่งประการใดในลักษณะไม่สมควรหรือไม่สุภาพ...”

9. ไม่หยุดรับ-ส่งผู้โดยสารที่ป้าย (รถรับจ้าง)

  • ปรับ 5,000 บาท
  • คนแจ้งได้ 2,500 บาท

รถโดยสารคันใดไม่หยุดรับ หรือจอดส่งผู้โดยสาร ณ สถานีหรือที่ที่มีเครื่องหมายกำหนด จะต้องจ่ายค่าปรับสูงสุด 5,000 บาท เพราะได้ฝ่าฝืนกฎหมายตามมาตรา 105 แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522

“...ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถละเว้นการหยุดรถเพื่อรับหรือ ส่งผู้โดยสาร ณ ที่ที่มีเครื่องหมายให้รถนั้นหยุด ในเมื่อปรากฏว่ามีผู้โดยสารต้องการให้หยุดรถเพื่อรับ หรือส่ง…”

10. ให้ผู้โดยสารลงก่อนถึงปลายทาง (รถรับจ้าง)

  • ปรับ 5,000 บาท
  • คนแจ้งได้ 2,500 บาท

สำหรับผู้ขับรถสาธารณะที่จอดให้ผู้โดยสารลงก่อนถึงปลายทาง  หรือสถานี จะต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 5,000 บาท ตามมาตราที่ 106 แห่งพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 ที่ระบุไว้ว่า

“...ในขณะปฏิบัติหน้าที่ ห้ามมิให้ผู้ได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถกระทํา การใด ๆ อันเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร…”

แจ้งเบาะแสได้ที่ไหนบ้าง?

  • ศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารและรับเรื่องร้องเรียน สายด่วน 1584 ตลอด 24 ชั่วโมง
  • เว็บไซต์ http://ins.dlt.go.th/cmpweb/
  • E-mail ที่ dlt_1584complain@hotmail.com
  • LINE : 1584DLT
  • Facebook ชื่อ 1584 ร้องเรียนรถโดยสารสาธารณะ (https://www.facebook.com/dlt1584/)
  • แอปพลิเคชัน DLT GPS
  • จดหมายร้องเรียน โดยสามารถเดินทางมาร้องเรียนด้วยตนเองได้ที่อาคาร 3 ชั้น 4 กรมการขนส่งทางบก

หลักฐานที่ใช้ในการแจ้งเบาะแส

  • ภาพหรือคลิปวิดีโอบันทึกการกระทำความผิดที่ชัดเจน
  • ระบุวันเวลาที่เกิดเหตุ
  • สถานที่เกิดเหตุ
  • รายละเอียดรถ อาทิ เลขทะเบียน, สีรถ, ยี่ห้อ และอื่นๆ ให้มากที่สุด

อย่างไรก็ตาม หากพบเห็นอย่าลืมให้แจ้งเบาะแส และรอรับเงินส่วนแบ่งค่าปรับที่บ้านได้เลย ส่วนผู้ใช้รถ ทั้งรถส่วนบุคคล และรถสาธารณะควรปฏิบัติข้อกฎหมายอย่างเคร่งครัด ถ้าไม่อยากเสียเงินโดยใช่เหตุ เพราะการกระทำของตัวเอง

ติดตามข่าวล่าสุดได้ที่: https://khaorot.com/

อ่านเพิ่มเติม 

SUNSAWON

ในหมวดเดียวกัน