เลขตัวถัง หรือ VIN (Vehicle Identification Number) คือเลขที่ตอกลงไปบนตัวถัง มีจำนวน 17 หลัก ซึ่งแต่ละหลักจะบอกรายละเอียดของรถแตกต่างกันไป อาทิ บอกพื้นที่การผลิต บริษัทผู้ผลิต รูปแบบตัวถัง โรงงานที่ประกอบ ฯลฯ ดังนี้
เลขตัวถัง หรือ VIN (Vehicle Identification Number)
หลักที่ 1 : บอกถึงภูมิภาคที่ผลิตรถคันนั้นขึ้น ประกอบด้วย
หลักที่ 2-3 : บอกถึงบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ อาทิ M8 หมายถึง มาสด้าประเทศไทย, R0 หมายถึง โตโยต้าประเทศไทย, RH หมายถึง ฮอนด้าประเทศไทย ฯลฯ
หลักที่ 4-8 : บอกถึงรายละเอียดของตัวรถ เช่น รูปแบบตัวถัง, ระบบเกียร์, รุ่นย่อย เป็นต้น โดยแต่ละคันตัวเลขแตกต่างกันไปตามที่ผู้ผลิตกำหนด
หลักที่ 9 : ตัวเลขสำหรับยืนยันว่าไม่ใช่ VIN ปลอม มีรูปแบบการคำนวณที่ซับซ้อน เพื่อป้องกันการปลอมแปลงเลขประจำตัวรถ
หลักที่ 10 : บอกปีที่ผลิตรถคันนั้น เริ่มนับจากปี 1980 ที่มีการใช้เลข VIN 17 ครั้งแรก
คุณสามารถเช็คปีผลิตรถได้จากตัวเลขหลักนี้
หลักที่ 11 : บอกถึงโรงงานที่ประกอบรถคันนั้น ๆ
หลักที่ 12-17 : เลข 6 หลักสุดท้าย
คือเลขคัสซี (Chassis Number) เป็นตัวเลขที่รันตามสายผลิต (Serial number) ทำให้รถแต่ละคันมีเลข VIN แตกต่างกันไป กล่าวง่าย ๆ ก็คือ ตัวเลข 11 หลักก่อนหน้าสามารถเหมือนกันได้ แต่ตัวเลข 6 หลักสุดท้ายจะแตกต่างกันไป ไม่เหมือนกันสักคัน
โดยปกติแล้วรถแต่ละรุ่นจะมีเลขตัวถังอยู่ในตำแหน่งที่แตกต่างกัน คุณสามารถเช็กได้จากคู่มือรถซึ่งจะมีบอกไว้ว่าเลขตัวถังนั้นอยู่ตรงจุดไหน หรือเช็กตามจุดต่าง ๆ ดังนี้
เลขคัสซี หรือ Chassis Number
อีกคำถามที่ตามมาคือ เราจะเช็กเลขตัวถังรถตอนไหน? เช็กไปทำไม? คำตอบคือ ตอนซื้อรถมือสอง คุณควรเช็กเลขตัวถังให้ดีว่าตรงกับเลขทะเบียนรถบนเล่มทะเบียนรึเปล่า ! หากไม่ตรงแสดงว่าโดนย้อมแมวเอารถสวมทะเบียนมาขายให้แล้ว
กรณีนี้เกิดขึ้นได้ยากมาก เพราะก่อนโอนรถ คุณต้องไปทำเรื่องโอนรถที่กรมการขนส่งอยู่แล้ว ดังนั้น จะรู้ว่ารถที่ได้มาเป็นรถสวมทะเบียนหรือไม่ เว้นแต่ว่าคนซื้อจะซื้อรถมาโดยขาดความรู้ ไม่มีการตรวจสอบที่มาที่ไป เห็นรถแล้วจ่ายเงินเลย แล้วไปโอนเองทีหลัง อันนี้มีความเสี่ยงที่จะโดนหลอกขายได้ง่าย
หากตรวจสอบได้ว่าเลขตัวถังไม่ตรงกับเลขในเล่มทะเบียน ให้เข้าไปเคลียร์กับคนขายหรือทางเต็นท์ที่ซื้อมาโดยตรง หากยังเคลียร์กันไม่ได้ก็ยื่นฟ้องต่อศาลไปเลย ! ทั้งนี้ กรณีที่คุณใช้รถสวมทะเบียนโดย “ไม่ตั้งใจ” อาจจะไม่โดนข้อหาอะไร (เพราะไม่ได้มีเจตนาใช้น่ะนะ) แต่ถ้าคุณรู้แล้วยังใช้ จะมีความผิดนะจ๊ะ
ควรเช็กเลขตัวถังรถก่อนซื้อรถมือสอง
สำหรับผู้ที่ใช้รถสวมทะเบียนปลอม จะมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265 ที่ระบุไว้ว่า ผู้ใดปลอมเอกสารสิทธิ หรือเอกสารราชการ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 1000 - 10,000 บาท
แต่ถ้า "ตั้งใจ" ซื้อรถสวมทะเบียนมา จะถูกดำเนินคดีในข้อหารับซื้อของโจร ฐานซื้อทรัพย์สินที่ได้มาโดยการกระทำผิด ตามประมวลกฎหมายอาญามาตราที่ 357 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ใช้รถสวมทะเบียนมีความผิด
อ่านเพิ่มเติม >>