รถกระบะตอนเดียว เป็นรถประเภทหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในธุรกิจการขนส่งทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ เพราะไม่ว่าจะหันมองไปทางไหนก็จะพบเห็น รถกระบะ ตอนเดียว ถูกใช้เป็นยานพาหนะหลักในการขนส่งมาโดยตลอด เนื่องจากมีคุณสมบัติโดดเด่นคือสามารถบรรทุกสิ่งของได้จำนวนมาก ช่วงล่างแข็งแกร่ง และมีความทนทานสูง แต่ก็ต้องมาด้วยห้องโดยสารที่มีเพียงแค่สองที่นั่งเท่านั้น สำหรับผู้อ่านที่สนใจรถประเภทนี้หรือผู้ประกอบการที่กำลังตัดสินใจที่จะซื้ออยู่ วันนี้เราได้รวบรวม 5 กระบะ ตอน เดียว ยี่ห้อ ไหน ดี มาฝากผู้อ่านทุกท่านในบทความนี้
เลือกกระบะตอนเดียวค่ายไหนคุ้มที่สุด
“กระบะตอนเดียว” รถยนต์คู่ใจสำหรับคนค้าขาย หรือใช้งานในเชิงพาณิชย์ หากเป็นสมัยก่อนปี 1990 คงนึกถึงค่าย “Isuzu” เป็นอันดับแรก เพราะทนทานและบรรทุกหนักดีเยี่ยม แต่ในปัจจุบันมีกระบะตอนเดียวให้เลือกหลากหลายมากขึ้น โดยมีจุดเด่นแตกต่างกันออกไป มีทั้งเน้นบรรทุกหนัก, อัตราเร่งดี และออปชั่นทันสมัยมาก ทำให้ผู้ซื้อลังเลใจอยู่นานทีเดียวกว่าจะเลือกคันที่ใช่ได้ ซึ่งวันนี้ Khaorot ได้รวบรวมสุดยอดรถตอนเดียว พร้อมรีวิวการใช้งาน เพื่อประกอบการพิจารณาและให้คุณช่วยตัดสินใจได้ง่ายขึ้นครับ
>> สนใจ! รถกระบะมือสอง click ที่นี่
ต่อมาเป็นรถกระบะยอดนิยมจากโตโยต้ากับ Toyota Hilux Revo Standard Cab ที่ถือว่าเป็นรถกระบะตอนเดียวที่ถูกนำมาใช้เป็นยานพาหนะในเชิงพาณิชย์ค่อนข้างมาก โดดเด่นด้วยดีไซน์ที่เรียบง่ายไม่ตกแต่งเยอะเกินจนความจำเป็น แต่เน้นไปที่การออกแบบโครงสร้างที่แข็งแรงทนทาน พร้อมรองรับสัมภาระได้เป็นจำนวนมาก ส่วนกระจังหน้าเป็นพลาสติกสีดำ ไฟหน้าแบบฮาโลเจน กระจกมองข้างสามารถปรับด้วยระบบไฟฟ้า พร้อมด้วยขุมพลังเครื่องยนต์ดีเซลขนาด 2.8 ลิตร เทอร์โบแปรผัน ให้พละกำลังสูงสุด 204 แรงม้า ที่ 3,400 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 420 นิวตัน-เมตร ที่ 1,400-3,400 รอบต่อนาที
1) อัตราเร่งช่วงต้นดี
2) บรรทุกหนักไม่อืด กำลังไม่หาย ขึ้นเขาสบาย
3) อะไหล่หาง่าย และศูนย์บริการเยอะ คลอบคลุมทุกจังหวัด
4) ได้ถุงลมนิรภัย 3 จุด (คู่หน้า และเข่าคนขับ)
5) เข็มขัดนิรภัย ELR 3 จุด 2 ตำแหน่ง (พร้อมระบบดึงกลับ และผ่อนแรงดึงอัตโนมัติ) และเข็มขัดนิรภัย NR 2 จุด 1 ตำแหน่ง
6) มีระบบป้องกันล้อล็อก ABS และระบบกระจายแรงเบรก EBD
7) ห้องโดยสารเก็บเสียงค่อนข้างดี
รถยนต์กระบะตอนเดียว Revo รูปลักษณ์เรียบง่าย ใช้ได้นาน ไม่ตกยุค
1) ช่วงล่างแข็งถ้าไม่ได้บรรทุกหนัก
2) ไม่ประหยัดเชื้อเพลิง
3) กำลังเครื่องช่วงปลายแผ่วกว่าตอนออกตัว
พาชม 2018 Ford Ranger 2.2 XL Standard Cab 6M/T ภายนอก ภายใน
ดูเพิ่มเติม:
Ford Ranger รถกระบะ “พันธุแกร่ง” โดดเด่นที่สามารถลุยทุกเส้นทางขับขี่ รูปทรงภายนอกทันสมัย บึกบึน มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ภายในตกแต่งแบบคนรุ่นใหม่ ให้ความมีชีวิตชีวา ขับบรรทุกก็ได้ ใช้งานทั่วไปก็ดี ติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซลขนาด 2.2 ลิตร DOHC TDCI พร้อม VG Turbo Intercooler ให้กำลังสูงสุด 160 แรงม้า ที่ 3,200รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 385 นิวตัน-เมตร ที่ 1,600 – 2,600 รอบ/นาที ส่งกำลังด้วยเกียร์ธรรมดา 6 สปีด ซึ่งมีข้อดีและข้อเสียดังนี้
1) รูปทรงทันสมัย แต่งสวย
2) พวงมาลัยพาวเวอร์ผ่อนแรงด้วยไฟฟ้า
3) มีถุงลมนิรภัยคู่หน้า, ระบบป้องกันลล้อล็อก ABS และระบบกระจายแรงเบรก EBD, ระบบกุญแจนิรภัย Immobilizer, กระจกมองหลังตัดแสงได้
4) ตัวถังสูง
5) อัตราเร่งดี
6) เบาะนุ่ม นั่งสบาย
Ford Ranger Standard Cab 2.2L XL 6MT ทรงดุดัน บรรทุกก็ได้ ใช้งานทั่วไปก็ดี
1) บรรทุกหนักช่วงล่างไม่แน่น
2) อัตราสิ้นเปลืองอยู่ที่ 13.2 กม./ลิตร (eco sticker) แต่ใช้งานจริงเปลืองเชื้อเพลิงมากกว่าพอสมควร
3) กระจกเป็นแบบมือหมุน
4) ศูนย์บริการยังมีมาตรฐานไม่เท่ากัน และมีจุดบริการน้อย โดยเฉพาะต่างจังหวัด
5) อะไหล่มือสองน้อย
Nissan Navara Single Cab SL 6MT ราคากระบะตอนเดียว 5.6 แสนบาท
Nissan Navara Single Cab ยังคงมาพร้อมดีไซน์ที่ดุดันตามแบบฉบับนิสสัน เสริมด้วยไฟหน้าแบบฮาโลเจนที่มอบความสว่างได้อย่างชัดเจน เสริมด้วยกันชนหน้า กันชนท้ายที่ช่วยกันกระแทกได้เป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าจะเป็นรถกระบะตอนเดียว 2 ที่นั่ง แต่ยังคงความกว้างขวางของห้องโดยสารได้อย่างพอดี ในส่วนกระบะท้ายรองรับการบรรทุกสัมภาระได้เป็นจำนวนมาก พร้อมรองรับน้ำหนักได้มากถึง 1,090 กิโลกรัม จึงตอบโจทย์การใช้งานในการบรรทุกสัมภาระจำนวนมากได้อย่างแข็งแรง ให้พละกำลังเครื่องยนต์ขนาด 2.5 ลิตร เทอร์โบแปรผัน พละกำลังสูงสุด 163 แรงม้า ที่ 3,600 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 403 นิวตัน-เมตร ที่ 2,000 รอบต่อนาที
TATA Xenon Single Cab
1) มีเทคโนโลยีทันสมัยให้มาก อาทิ กระจกมองข้างปรับไฟฟ้า, กล้องมองหลัง, หน้าจออินโฟเทนเมนต์ขนาด 5 นิ้ว, กระจกมองหลังปรับลดแสงสะท้อน เป็นต้น
2) อุปกรณ์ความปลอดภัยครบครัน ได้แก่
3) ภายในห้องโดยสารเก็บเสียงดีที่สุด
4) มีบันไดข้าง (เป็นประโยชน์สำหรับปีนผูกเชือกตรึงสินค้าด้านหลัง แต่บางท่านก็ไม่ได้ใช้งาน)
Nissan Navara Single Cab 2.5 รถกระบะที่มาพร้อมกับบันไดข้าง
1) รัศมีวงเลี้ยวกว้างหากเทียบกับรุ่นแค็ป และ 4 ประตู แต่ถ้าเปรียบกับกระบะตอนเดียวค่ายอื่นก็ไม่แตกต่างกันมากนัก (Navara รัศมีวงเลี้ยว 6.0, Revo รัศมีวงเลี้ยว 5.9, D-max รัศมีวงเลี้ยว 6.0)
2) เครื่องยนต์อืด ออกตัวช้า ต้องรอรอบเทอร์โบ
3) ศูนย์บริการมีน้อย โดยเฉพาะต่างจังหวัด
4) อะไหล่ส่วนใหญ่แพง และมีอะไหล่มือสองให้เลือกน้อย
5) ช่วงล่างแข็งกระด้าง
6) ตัวรถไม่สูง (ติดตั้งแหนบใต้เพลา) ไม่เหมาะสำหรับเวลาบรรทุกหนักผ่านทางขรุขระต่างจังหวัด
ตารางเปรียบเทียบสมรรถนะ
ตารางเปรียบเทียบระบบความปลอดภัย
ปิดท้ายด้วยรถกระบะตอนเดียวจาก TATA ที่เปิดตัวได้อย่างน่าสนใจและกลายเป็นม้ามืดในวงการรถกระบะที่น่าจับตามอง โดดเด่นด้วยพื้นที่ของกระบะหลังที่กว้างขวางสามารถจุของได้เป็นจำนวนมาก เสริมด้วยระบบเฟืองท้ายที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยในทุกการขับขี่ พร้อมด้วยโครงสร้างตัวถังเหล็กหนาแบบพิเศษเพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้มากยิ่งขึ้น ภายในห้องโดยสารประกอบไปด้วยฟังก์ชันอำนวยความสะดวกมากมายเพื่อตอบโจทย์ในทุกการเดินทาง พร้อมด้วยขุมพลังเครื่องยนต์ดีเซลขนาด 2.2 ลิตร เทอร์โบแปรผัน ให้พละกำลังสูงสุด 150 แรงม้า ที่ 4,000 รอบต่อนาที แรงบิดสูงสุด 320 นิวตัน-เมตร ที่ 1,500-3,000 รอบต่อนาที
TATA Xenon Single Cab
ทั้ง 5 รุ่น ถือว่าเป็นรถกระบะตอนเดียวที่ผู้ใช้ส่วนมากเลือกนิยมเลือก โดยรถที่เหมาะแก่การบรรทุกหนักและออกตัวแรง คงเป็น Toyota Hilux Revo แต่ถ้าต้องการทั้งบรรทุกหนักและประหยัด Isuzu D-MAX Spark จะเหมาะมากกว่า ซึ่งรถตอนเดียวทั้งสองรุ่นที่กล่าวมาสามารถใช้งานได้นาน ทนทาน ส่วนใครที่ไม่เน้นบรรทุกมากนัก (ไม่เกิน 1 ตัน) และชอบรถกระบะทรงวัยรุ่นสมัยใหม่ต้องยกให้ Ford Ranger สำหรับ Nissan Navara จะได้ออปชันความปลอดภัยมากกว่าค่ายอื่น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าผู้ซื้อใช้งานแบบใดเป็นหลัก และชอบสไตล์ไหนมากกว่าครับ สามารถไปทดลองขับก่อนตัดสินใจได้ที่ศูนย์ทั่วประเทศ
ดูเพิ่มเติม: