ในยุคที่เศรษฐกิจไม่ค่อยดีแบบนี้ หากใช้จ่ายฟุ่มเฟือยจนเกินตัว อาจทำให้ขาดสภาพคล่องทางการเงิน จนต้องแบกรับภาระหนี้สินจำนวนมากอย่างไม่ทันตั้งตัว หากหาเงินมาใช้หนี้ไม่ทันตามกำหนด ก็จะเกิดปัญหา “ติดเครดิตบูโร ติดแบล็คลิสต์” ตามมา ซึ่งอาจส่งผลต่อการกู้เงินซื้อรถหรือขอสินเชื่ออื่น ๆ
แล้วถ้าอยากออกรถยนต์ ซื้อรถมือสองมาใช้ แต่ติดแบล็คลิส เครดิตบูโรอยู่ สามารถออกรถได้ไหม แก้ปัญหาอย่างไร มาดูคำตอบกัน
ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า เมื่อขอสินเชื่อหรือเครดิตต่าง ๆ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือ เครดิตบูโร (National Credit Bureau) จะเข้ามาดูแลข้อมูลเครดิตของคุณ โดยหน่วยงานดังกล่าว จะทำหน้าที่บันทึกข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับการขอสินเชื่อไว้ในฐานระบบ เก็บรายละเอียดพฤติกรรมการชำระหนี้ของคุณ แต่ไม่ได้มีหน้าที่ “ติดแบล็กลิสต์” ให้ใครแต่อย่างใด เพียงแค่ทำหน้าที่บันทึกและเก็บข้อมูลเท่านั้น
ส่วนการ "ติดแบล็คลิสต์" นั้น จริง ๆ แล้วเป็นการติดแบล็คลิสต์กับสถาบันการเงินที่ยื่นขออนุมัติสินเชื่อ เพราะมีประวัติการชำระหนี้ล่าช้า ผ่อนจ่ายค่างวดไม่ตรงตามกำหนด (โดยทั่วไปจะเป็นผู้ที่ค้างชำระหนี้ประมาณ ประมาณ 60-90 วัน ตามเกณฑ์ของแต่ละสถาบันการเงิน) ไม่ใช่ติดแบล็คลิสต์กับทางเครดิตบูโรอย่างที่เข้าใจผิดกัน ซึ่งการติดแบล็กลิสต์อาจส่งผลต่อการขอสินเชื่อ และการทำธุรกรรมทางการเงินอื่น ๆ รวมถึงการกู้เงินซื้อรถยนต์ด้วยเช่นกัน
หากต้องการขอเช็กข้อมูลเครดิต สามารถไปติดต่อขอดูข้อมูลในฐานระบบบูโรแห่งชาติจากธนาคารต่าง ๆ ได้ อาทิ ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารเกียรติ์นาคินภัทร, ธนาคารธนชาติ เป็นต้น โดยจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 150-200 บาท หรือจะเช็กข้อมูลเครดิตผ่านแอปพลิเคชันธนาคารก็ได้เช่นกัน แต่ต้องไปลงทะเบียนเปิดบัญชีออนไลน์กับทางธนาคารก่อน โดยจะมีค่าใช้จ่ายราว ๆ 200 บาท เช่นเดียวกัน
นอกจากนี้ ยังสามารถเช็กเครดิตบูโรได้ที่ที่ทำการไปรษณีย์ใกล้บ้าน (ค่าบริการ 150 บาท), ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร (ค่าบริการ 100 บาท), เครดิตบูโรคาเฟ่, Bureau Lab (บูโรแล็บ) และตู้ตรวจเครดิตบูโร หรือที่เรียกกันว่าตู้คีออส ที่สามารถดำเนินการขอดูข้อมูลเครดิตได้ด้วยตัวเอง และรอรับรายงานผ่านทางอีเมลได้เลย
หากถามว่าติดแบล็คลิสซื้อรถมือสองได้ไหม ? บอกเลยว่า ได้แน่นอน แต่ต้องซื้อผ่านเต็นท์รถมือสอง ที่มี “สินเชื่อในเครือของเต็นท์รถ” และ “ไฟแนนซ์แบบ non-bank” หรือก็คือผู้ให้บริการสินเชื่อที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน ช่วยให้กลุ่มคนติดแบล็กลิสต์สามารถเป็นเจ้าของรถยนต์มือสองได้ง่ายขึ้น
ข้อดีของสินเชื่อในเครือของเต็นท์รถ และ ไฟแนนซ์แบบ non-bank คือ จะเช็กแค่สถานะในปัจจุบันกับความเป็นไปได้ในการผ่อนชำระหนี้ของผู้เช่าซื้อ แต่ก็มีเงื่อนไขที่มากขึ้นด้วยเช่นกัน เช่น เงินดาวน์สูง, จัดไม่ได้เต็มยอดรถ, ดอกเบี้ยสูงกว่าปกติ, ผู้ค้ำประกันต้องมีฐานเงินเดือนสูง เป็นต้น
แม้จะติดแบล็คลิสต์ออกรถมือสองได้แน่นอน เพราะอย่างที่บอก เต็นท์รถหรือบริษัทจำหน่ายรถมือสองชั้นนำหลาย ๆ แห่ง จะมีไฟแนนซ์แบบ non-bank และสินเชื่อในเครือของเต็นท์รถให้บริการผู้ที่ติดแบล็กลิสต์อยู่ แต่ต้องทำตามเงื่อนไขที่อาจมากขึ้น เช่น
เงื่อนไขอาจเปลี่ยนแปลงไปตามผู้ให้บริการด้านสินเชื่อ อย่างไรก็ตาม ทางที่ดีหากคุณอยากออกรถ แต่ติดแบล็กลิสต์อยู่ ให้พยายามชำระหนี้ที่มีอยู่ให้หมดก่อนจะเริ่มขอสินเชื่อรถยนต์เพิ่ม เพื่อสภาพคล่องทางการเงินของคุณเอง
ขอบคุณข้อมูลจาก carsome, one2car
อ่านเพิ่มเติม >>