พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ คือประกันภัยภาคบังคับที่ผู้ใช้รถจักรยานยนต์ทุกคนต้องทำ เพื่อเป็นหลักประกันว่าเมื่อเกิดอุบัติเหตุจะได้รับความคุ้มครอง รวมถึงค่ารักษาพยาบาลตามกฎหมาย โดยจะได้รับความคุ้มครอง ดังนี้
พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ คือประกันภัยที่ผู้ใช้รถทุกคนต้องทำ
ความคุ้มครองเบื้องต้นที่จะได้รับ โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด
- หากบาดเจ็บ จะได้รับค่ารักษาพยาบาลสูงสุด 30,000 บาท
- หากสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพถาวร ได้รับเงินชดเชยสูงสุด 35,000 บาท
- หากต้องใช้กะโหลกศีรษะเทียม ได้รับเงินชดเชยสูงสุด 35,000 บาท
- หากเสียชีวิต ได้รับเงินทำศพสูงสุด 35,000 บาท
กรณีที่บาดเจ็บ จะได้รับค่ารักษาพยาบาลสูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท แต่หากมีการทุพพลภาพถาวรหรือเสียชีวิต ก็จะได้เงินค่ารักษา/ทำศพเพิ่มอีกไม่เกิน 65,000 บาท
กรณีที่พิสูจน์แล้วว่าผู้ประสบภัยไม่ผิด จะได้รับค่าเสียหายส่วนเกิน ดังนี้
- เมื่อเข้ารักษาในฐานะผู้ป่วยใน ได้รับเงินชดเชยวันละ 200 บาท (แต่จ่ายให้ไม่เกิน 20 วัน)
- หากบาดเจ็บ ได้รับเงินชดเชย 80,000 บาท
- กรณีที่นิ้วขาด 1 ข้อขึ้นไป ได้รับเงินชดเชย 200,000 บาท
- กรณีพิการ หูหนวก เป็นใบ้ หรือสูญเสียความสามารถในการพูด ได้รับเงินชดเชย 250,000 บาท
- หากทุพพลภาพถาวร ได้รับเงินชดเชย 300,000 บาท
- หากเสียชีวิต, ทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง หรือสูญเสียมือ แขน เท้า ขา ตาบอด ตั้งแต่ 2 ข้างขึ้นไป ได้รับเงินชดเชย 500,000 บาท
หากพ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ ขาด แล้วไม่ต่ออายุ จะไม่ได้รับความคุ้มครอง
พ.ร.บ.ขาดนานเท่าใดจึงต้องต่อ
สำหรับพ.ร.บ.ในความเป็นจริงๆ ควรมีการต่ออย่างสม่ำเสมอ แต่ถ้าหากขาดล่ะก็ต้องดูเป็นรายกรณีไป ซึ่งจะมีความแตกต่างตามนี้
- ขาดไม่เกิน 1 ปี : สามารถต่อภาษีได้โดยไม่เสียค่าปรับด้านพ.ร.บ.เพิ่มเติม แต่อาจโดนปรับในแง่ของภาษีรถ
- ขาดเกิน 2 ปี : ต้องมีการนำรถไปตรวจสภาพและเดินเรื่องด้วยตนเองที่ขนส่ง โดยดำเนินการต่อทะเบียนรถและเสียค่าปรับ
- ขาดเกิน 3 ปี : ในกรณีขาดเกิน 3 ปีรถน่าจะถูกระงับทะเบียนไปแล้ว ต้องทำการจดทะเบียนรถยนต์ใหม่ พร้อมกับเสียค่าปรับ ซึ่งอาจมีการเก็บภาษีรถยนต์ย้อนหลัง โดยต้องเตรียมเอกสารใกล้เคียงกับการต่อทะเบียน ซึ่งก็คือ
ผลเสียของการไม่มีพ.ร.บ. หรือพ.ร.บ.ขาด
ถ้าหากไม่ดำเนินการต่อพ.ร.บ.ล่ะ จะส่งผลเสียอย่างไรบ้าง ลองมาดูผลกระทบที่อาจจะเกิดกัน
- เกิดอุบัติเหตุ (ไม่มีคู่กรณี) : หากเกิดเหตุแบบไม่มีคู่กรณี เช่น เฉี่ยวชนกำแพง ชนต้นไม้ หรือไถลขอบฟุตบาธ แม้ว่าจะได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตแต่ก็จะไม่ได้รับความคุ้มครองตามข้อกำหนดในพ.ร.บ. ทั้งสิ้น
- ชนคนอื่น: ถ้าหากรถที่ไม่มีพ.ร.บ.กระทำความผิดโดยชนผู้อื่น ทางผู้เสียหายสามารถขอรับค่าเสียหายเบื้องต้นได้จากกรมการประกันภัยหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ โดยจะได้ค่ารักษาตามจริงไม่เกิน 15,000 บาท และทางหน่วยงานจะทำการเก็บเบี้ยส่วนนั้นคืนจากเจ้าของรถ พร้อมกับทำการปรับ และชดใช้ค่าเสียหายเพิ่มเติมตามความเหมาะสม
- ถูกคนอื่นชน: สำหรับกรณีที่ประสบเหตุถูกรถคันอื่นชน กรณีที่ฝ่ายผิดมีพ.ร.บ. ผู้ถูกชนก็ยังได้รับความคุ้มครองในฐานะผู้เสียหาย โดยสามารถเรียกร้องค่าเสียหายเบื้องต้นได้ ไม่เกิน 15,000 บาท และหากเสียชีวิตจะได้รับเงินชดเชย 35,000 บาท
- โดนค่าปรับ: นอกเหนือจากความเสียหายจากการเกิดอุบัติเหตุแล้ว การที่พ.ร.บ. ขาดยังอาจส่งผลให้ถูกพี่ๆ ตำรวจจราจรเรียกจนต้องเสียค่าปรับได้ ซึ่งอัตราค่าปรับจะไม่เกิน 10,000 บาท ที่ดูแล้วไม่คุ้มเลย ทางที่ดีทำการต่อพ.ร.บ. ก่อนหน้าจะดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็น ต่อพรบ.รถจักรยานยนต์หรือรถประเภทอื่นๆ ก็ตาม
เอกสารที่ต้องเตรียมสำหรับการต่อพ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์
คุณสามารถต่อพ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ได้ล่วงหน้า ไม่เกิน 90 วัน หรือ 3 เดือน โดยเตรียมเอกสารไปให้ครบ ได้แก่
- บัตรประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- สำเนาทะเบียนรถ
พ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ ขาด ต่อได้ที่ไหนบ้าง ?
โดยสามารถชำระได้หลายช่องทางตามความสะดวก ดังนี้
- กรมการขนส่งทางบก
- ช่องทางออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ e-service
- เซเว่นอีเลเว่น
- ธนาคารเพื่อการเกษตร (ธ.ก.ส.)
- ผ่านตัวแทน
หากพ.ร.บ. ขาด สามารถไปต่อได้หลากหลายช่องทาง
สำหรับค่าธรรมเนียมในการต่อพ.ร.บ. ของรถจักรยานยนต์ส่วนบุคคล แบ่งได้ตามขนาดความจุของรถ ดังนี้
- ขนาดไม่เกิน 75 ซีซี. ชำระ 161.57 บาท
- ขนาดเกิน 75 - 125 ซีซี. ชำระ 323.14 บาท
- ขนาดเกิน 125 - 150 ซีซี. ชำระ 430.14 บาท
- ขนาดเกิน 150 ซีซี. ขึ้นไป ชำระ 645.21 บาท
- มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า ชำระ 323.14 บาท
พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ขาด 1 ปี เสียเท่าไหร่
ตามกฎหมายแล้ว พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ จะมีอายุเพียง 1 ปีเท่านั้น หากพ.ร.บ. มอเตอร์ไซค์ ขาดนอกจากจะไม่ได้รับความคุ้มครองหรือค่ารักษาพยาบาลตามที่ควรจะได้แล้ว ยังถือว่าผิดกฎหมาย ต้องระวางค่าปรับสูงสุด 10,000 บาท และต้องค่าปรับย้อนหลังที่ไม่ได้ต่ออายุเดือนละ 1% อีกต่างหาก
หากถามว่าพ.ร.บ. ขาดได้กี่วัน ? ตอบได้เลยว่า ไม่ควรขาดแม้แต่วันเดียว เพราะเมื่อขาดไปแล้ว หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมาคุณจะไม่ได้รับความคุ้มครอง ค่ารักษาพยาบาล หรือเงินชดเชยที่ควรได้เลยแม้แต่บาทเดียว
ค่าปรับ พ.ร.บ. ขาด มอเตอร์ไซค์ สูงสุด 10,000 บาท
ติดตามข่าวล่าสุดได้ที่: https://khaorot.com/
อ่านเพิ่มเติม: