เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เมื่อมีรถจักรยานยนต์ สิ่งที่จะต้องมีตามมาคือประกันภัยรถจักรยานยนต์ (ยกเว้นเสียแต่จะไม่จดทะเบียน วิ่งบนถนนอย่างถูกกฎหมายไม่ได้) แต่ประกันภัยรถจักรยานยนต์มีอะไรบ้าง กี่รูปแบบนั้น หลัก ๆ แล้วจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. ประกันภัยรถจักรยานยนต์ภาคบังคับ
อย่างที่เกริ่นไปตอนต้น ถ้าจะมีจักรยานยนต์และจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย ก็จำเป็นต้องทำประกันภัยภาคบังคับ (บังคับคือบังคับ ไม่ทำไม่ได้ผิดกฎหมาย) ซึ่งหลายคนอาจไม่รู้ เพราะมักนิยมเรียกกันว่า “พ.ร.บ.” ถ้าเจ้าของรถไม่ทำประกันภัยรถจักรยานยนต์ภาคบังคับก็จะไม่สามารถจดทะเบียนหรือต่อทะเบียนได้
2. ประกันภัยรถจักรยานยนต์ภาคสมัครใจ
สำหรับในส่วนประกันภัยจักรยานยนต์ภาคสมัครใจก็มีความหมายตามชื่อคือ เป็นประกันรถจักรยานยนต์ที่เจ้าของจะเลือก “ทำ” หรือ “ไม่ทำ” ก็ได้ และโดยทั่วไปที่เลือกทำประกันภัยจักรยานยนต์ภาคสมัครใจเพิ่ม ก็เพราะต้องการลดความยุ่งยากยามเกิดอุบัติเหตุทั้งในแง่ของค่ารักษาพยาบาลและค่าเสียหาย
ซึ่งประกันภัยจักรยานยนต์ภาคสมัครใจจะมีหลายประเภทให้เลือกเหมือนรถยนต์คร่าว ๆ ดังนี้
ประกันภัยรถจักรยานยนต์ ชั้น 1
ประกันภัยรถจักรยานยนต์ ชั้น 2 พลัส
ประกันภัยรถจักยานยนต์ ชั้น 3 พลัส
ประกันภัยรถจักรยานยนต์ ชั้น 3
ทั้งนี้ ประกันภัยรถจักรยานยนต์ถือว่าเป็นเรื่องจำเป็นและหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเฉพาะในส่วนของภาคบังคับหรือ “พ.ร.บ.” ส่วนภาคสมัครใจนั้นเป็นทางเลือกเพื่อความอุ่นใจในการใช้งาน เพราะอุบัติเหตุอาจเกิดขึ้นได้เสมอไม่ว่าจะเป็นฝ่ายถูกหรือผิด
แต่ไม่ว่าจะเลือกประกันภัยรถจักรยานยนต์ภาคสมัครใจประเภทไหนก็ตาม ผู้ซื้อควรศึกษา ตรวจสอบและทำความเข้าใจในรายละเอียดก่อนตัดสินใจทำประกันว่าคุ้มครองมากน้อยเหมาะสมกับความต้องการหรือไม่ เพียงใด อย่ามองเพียงเบี้ยประกันราคาต่ำเพียงอย่างเดียว เพราะแม้จะเป็นประกันภัยประเภทเดียวกัน แต่ละบริษัทก็มีรายละเอียดปลีกย่อยรวมถึงความคุ้มครองแตกต่างกันด้วย
อ่านเพิ่มเติม