พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ได้อะไรมากกว่าที่คุณคิด
พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ถือเป็นตัวช่วยสำคัญเวลาเกิดอุบัติเหตุ หรือเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกี่ยวกับรถจักรยานยนต์ ซึ่งปัจจุบันกฎหมายบังคับว่ารถจักรยานยนต์ทุกคันที่ต่อภาษีจำเป็นต้องซื้อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์
พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ประกันภาคบังคับ ได้อะไรมากกว่าที่คิด
ในการต่อภาษีรถจักรยานยนต์ประจำปีนั้น ภาครัฐมีการบังคับให้รถทุกคันที่ต่อภาษีจำเป็นต้องทำประกันภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ. (พระราชบัญญัติ) ด้วยทุกครั้ง จึงจะต่อภาษีประจำปีได้ ทั้งนี้การบังคับซื้อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ก็เพื่อคุ้มครองตัวผู้ขับขี่ ผู้ซ้อน รวมถึงคู่กรณี ส่วนของค่ารักษาพยาบาลเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งหลายคนอาจไม่เคยรู้
ปัจจุบันกรมการขนส่งจะไม่ได้แยกป้ายแสดง พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ไว้ต่างหาก แต่รวมกับป้ายภาษีใบเดียวเลย
ป้าย พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ในอดีต
ป้ายภาษีรถจักรยานยนต์ปัจจุบัน
พ.ร.บ รถจักรยานยนต์คุ้มครองมากกว่าที่คิด
- คุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้น เมื่อเกิดอุบัติเหตุ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์จะคุ้มครองผู้ประสบอุบัติเหตุในส่วนของค่ารักษาพยาบาลได้ ไม่ว่าตัวผู้ขับขี่จะเป็น "ฝ่ายถูก" หรือ "ฝ่ายผิด" ก็ตาม
- ค่ารักษาพยาบาล เบิกได้สูงสุด 30,000 บาท/คน หากค่ารักษาเกินวงเงิน 30,000 บาท ทางผู้ขับขี่จำเป็นต้องจ่ายเพิ่ม สำหรับกรณีเสียชีวิต ทุพพลภาพ หรือสูญเสียอวัยวะ สามารถเบิกเงินได้ 35,000 บาท
- ทั้งนี้ เมื่อร่วมค่ารักษาพยาบาลแล้ว จะไม่เกิน 65,000 บาท/คน
แต่ในกรณีที่ผู้ประสบเหตุเป็นถูก จะได้ค่าสินไหมทดแทนเพิ่ม (ได้รับการพิสูจน์ด้วยว่าเป็นฝ่ายถูกจริง) ดังนี้
- เบิกค่ารักษาพยาบาลได้สูงสุด 80,000 บาท/คน
- เสียชีวิต ทุพพลภาพ(ถาวร) สูงสุด 300,000 บาท/คน
- เมื่อสูญเสียอวัยวะ 2 ส่วนขึ้นไป 300,000 บาท
- สูญเสียอวัยวะ 1 ส่วน 250,000 บาท
- สูญเสียนิ้ว ตั้งแต่ 1 นิ้วขึ้นไป 200,000 บาท
กรณี Admid หรือพักรักษาตัวโรงพยาบาล (ผู้ป่วยใน) จะได้รับเงินชดเชย 200 บาท/วัน สูงสุดไม่เกิน 20 วัน
ในส่วนของค่าใช้จ่ายในการซื้อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ นั้น จะแบ่งตามขนาดเครื่องยนต์ของรถจักรยานยนต์ โดยจะไล่เรียงจากราคาต่ำสุดจะอยู่ในจักรยานยนต์ขนาดเล็ก
- ไม่เกิน 75 ซี.ซี. ราคา 160 บาท / ปี
- เกิน 75-125 ซี.ซี. ราคา 232 บาท / ปี
- เกิน 125-150 ซี.ซี. ราคา 430 บาท / ปี
- เกิน 150 ซี.ซี. ราคา 645 บาท / ปี
- รถจักรยานยนต์ไฟฟ้า ราคา 323 บาท / ปี
พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ประกันภาคบังคับ ที่หลายคนอาจมองข้ามสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ ซึ่งคุ้มครองตัวผู้ขับขี่ ผู้ซ้อน และรวมไปถึงคู่กรณี ไม่ว่าจะถูกหรือผิด ถือว่าเป็นข้อดีต่อตัวผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์อย่างแท้จริง ในปัจจุบันยังสามารถซื้อ พ.ร.บ. รถจักรยานยนต์ ได้ในช่องทางออนไลน์อีกด้วย
ดูเพิ่มเติม