ทำความรู้จัก ระบบกันสะเทือนรถมอเตอร์ไซค์ (โช้คอัพ)
ระบบกันสะเทือนรถมอเตอร์ไซค์ หรือ เรียกกันติดปากว่าโช้คอัพมีทั้งหมดกี่แบบ โดยมาทำความรู้จักระบบกันสะเทือนรถมอเตอร์ไซค์ พอคุณสมบัติต่าง ๆ ของโช้คอัพ
ระบบกันสะเทือนรถมอเตอร์ไซค์
องค์ประกอบสำคัญของรถมอเตอร์ไซค์ในปัจจุบันก็ว่าได้ สิ่งนั้นก็คือระบบกันสะเทือนรถมอเตอร์ไซค์ (โช้คอัพ) ไม่มีข้อจำกัดว่าจะเป็นรถมอเตอร์ไซค์ใหญ่หรือเล็ก ล้วนจำเป็นต้องมีระบบกันสะเทือนเพื่อรองรับแรงสั่นสะเทือนหรือแรงกระแทกจากพื้นผิวถนนมาสู่ตัวรถและผู้ขับขี่ก็ว่าได้
ดูเพิ่มเติม: น้ํามันเครื่องมอเตอร์ไซค์
ระบบกันสะเทือนรถมอเตอร์ไซค์ จะช่วยรองรับหรือชะลอแรงสั่นสะเทือนและแรงกระแทกที่เกิดขึ้นกับตัวรถ ซึ่งจะป้องกันอาการดีดสะบัดจากตัวรถได้ นอกจากนี้ยังลดความเมื่อยล้าของผู้ขับขี่อีกด้วย
ทั้งนี้ระบบกันสะเทือนรถมอเตอร์ไซค์สามารถแบ่งออกเป็น ระบบกันสะเทือนหน้าและระบบกันสะเทือนหลัง ซึ่งในส่วนระบบกันสะเทือนหน้าที่นิยมใช้ในปัจจุบันมีเพียงไม่กี่รูปแบบเท่านั้น แต่ส่วนระบบกันสะเทือนหลังจะมีหลายรูปแบบก็ว่าได้ โดยขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของรถรุ่นนั้น ๆ เป็นหลัก
ระบบกันสะเทือนรถมอเตอร์ไซค์ (หน้า)
ระบบกันสะเทือนหน้าแบบ Telescopic (เทเลสโคปิก) จะเรียกได้ว่าเป็นระบบกันสะเทือนมาตรฐานในปัจจุบันก็ว่าได้ ไม่ว่าจะเป็นรถมอเตอร์ไซค์ขนาดเล็กหรือใหญ่ โดยจุดเด่นของโช้คอัพ Telescopic ก็คือความโช้คอัพมีราคาถูก ทนทาน และค่าบำรุงรักษาต่ำ
ระบบกันสะเทือนหน้าแบบ Telescopic
ระบบกันสะเทือนหน้าแบบ Telescopic Upside Down (โช้คอัพหัวกลับ) เมื่อก่อนจะเป็นที่นิยมในรถวิบาก ก่อนที่ปัจจุบันจะพบเห็นได้ในรถมอเตอร์ไซค์ทั่วไปอยู่พอสมควร เนื่องจากให้ความนิ่งที่ดีกว่าโช้คอัพแบบปกติ โดยการทำงานของโช้คอัพจะขยับ ลง – ขึ้น ตามแนวของแกนโช้ค
ระบบกันสะเทือนหน้าแบบ Telescopic Upside Down
ระบบกันสะเทือนรถมอเตอร์ไซค์ (หลัง)
ปฏิเสธไม่ได้ว่าระบบกันสะเทือนหลังถูกมองว่าเป็นออฟชั่นอย่างหนึ่งของรถมอเตอร์ไซค์ในปัจจุบันก็ว่าได้ ถึงแม้จุดประสงค์ของระบบกันสะเทือนรถมอเตอร์ไซค์คือรองรับแรงกระแทกจากพื้นผิวถนนสู่ตัวรถและผู้ขับขี่ก็ตาม ซึ่งระบบกันสะเทือนหลังนั้นมีหลายรูปแบบมาก ๆ เริ่มกันที
ระบบกันสะเทือนหลังแบบโช้คอัพคู่ เรียกได้ว่าเป็นอะไรที่พื้นฐานมาก ๆ ก็ว่าได้ โดยตัวของโช้คอัพจะยึดติดอยู่กับสวิงอาร์มแบบตรง ๆ ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมาก เนื่องจากมีราคาถูกที่สุด พร้อมทั้งรองรับการใช้งานในเรื่องการบรรทุกได้เยอะที่สุดอีกด้วย
ระบบกันสะเทือนหน้าแบบโช้คอัพคู่
ระบบกันสะเทือนหลังแบบเดี่ยว (Mono Shock) จะรองรับแรงกระแทกจากโช้คอัพเพียงตัวเดี่ยวเท่านั้น โดยมีตำแหน่งการวางที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละรุ่นรถนั้น ๆ ซึ่งจุดเด่นก็คือ ให้การทรงตัวที่ยอดเยี่ยม ไม่ว่าจะเป็นในทางโค้งก็ตาม จะไม่เกิดอาการสะบัด ทั้งนี้ตามปกติระบบกันสะเทือนแบบเดี่ยวจะถูกติดตั้งให้กับรถประเภทสปอร์ต เนื่องจากไม่เน้นการบรรทุกหนัก เหมือนกับรถประเภทอื่น ๆ
ระบบกันสะเทือนแบบเดี่ยว (Mono Shock)
ระบบกันสะเทือนหลังแบบแขนเดี่ยว หรือรู้จักกันในชื่อ Pro Arm ถือได้ว่าเป็นการต่อยอดจากระบบกันสะเทือนแบบเดี่ยว ก็ว่าได้ โดยจุดเด่นของระบบกันสะเทือนแบบแขนเดี่ยวก็คือ ให้การเข้าโค้งที่ยอดเยี่ยมกว่าระบบกันสะเทือนอื่น ๆ พร้อมทั้งปรับตั้งโซ่ได้ง่ายกว่าทั่วไป
ระบบกันสะเทือนแบบแขนเดี่ยว
ทั้งนี้ระบบกันสะเทือนหน้าและหลังที่ยกตัวอย่างมา ถือว่าเป็นรูปแบบของระบบกันสะเทือนรถมอเตอร์ไซค์ที่นิยมใช้กันทั่วโลก นอกจากนี้ยังมีระบบกันสะเทือนรถมอเตอร์ไซค์แบบต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากที่กล่าวมาในตอนแรก ยกตัวอย่างเช่น
ระบบกันสะเทือนแบบหลังแข็ง กล่าวอย่างง่าย ๆ เลยว่าตัวรถจักรยานยนต์ไม่มีระบบกันสะเทือนหลังติดตั้งมาให้ แต่มีการออกแบบเบาะนั่งใหม่ให้มีสปริงรองอยู่ใต้เบาะนั่ง ซึ่งจะคล้ายกับรถจักรยานสมัยก่อน ทั้งนี้ไม่ต้องพูดถึงความสบายในการขับขี่แต่อย่างใด เรียกได้ว่าถ้าขับระยะทางไกล ๆ พร้อมสภาพถนนที่ไม่ดีก็เหมือนควบม้าขี่ดี ๆ นั้นหล่ะ
ระบบกันสะเทือน Bimota โดยเป็นชุดกันสะเทือนหน้าแบบสวิงอาร์มอะลูมิเนียม และระบบบังคับเลี้ยวแบบ Hub-Steering สร้างความแตกต่างกับระบบกันสะเทือนรถจักรยานยนต์แบบทั่วไปทั้งหมด
ระบบกันสะเทือนหน้าแบบแขนเดียว เรียกได้ว่ามีรูปแบบการทำงานเหมือนกับระบบกันสะเทือนหลังแบบแขนเดี่ยวก็ว่าได้ ซึ่งไม่ได้รับความนิยมเลยก็ว่าได้ แต่ข้อดีเด่น ๆ คงหนีไม่พ้นในเรื่องความสวยงามกว่าระบบกันสะเทือนรถมอเตอร์ไซค์แบบทั่วไปอย่างแน่นอน
ระบบกันสะเทือนหน้าแบบแขนเดียวของรถรุ่น Gilera cx125
สุดท้ายนี้ไม่ว่าระบบกันสะเทือนรถมอเตอร์ไซค์ของคุณจะเป็นแบบไหนก็ตาม แต่จุดประสงค์อย่างหนึ่งที่เหมือนกันหมดก็คือ เพื่อรองรับแรงสั่นสะเทือนหรือแรงกระแทกจากพื้นผิวถนนมาสู่ตัวรถและผู้ขับขี่ก็ว่าได้ โดยระบบกันสะเทือนรถมอเตอร์ไซค์แต่ละรูปแบบก็จะมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกัน ซึ่งไม่มีระบบกันสะเทือนรถมอเตอร์ไซค์ไหนแย่สุดและดีสุด แต่จะขึ้นอยู่ที่ความพอใจของผู้ขับขี่ล้วน ๆ ก็ว่าได้
อ่านเพิ่มเติม
พารู้จักโซ่รถจักรยานยนต์ พร้อมวิธีดูแลรักษา
Tips Trick พารู้จักน้ำมันเครื่องรถจักรยานยนต์ พร้อมแนะนำน้ำมันเครื่อง